วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มีอะไรในน้ำแร่

อาหารการกินของเราก็ได้มีการเปลี่ยนไป กินของที่ดูแปลกแตกต่าง อาหารที่จะกล่าวถึงนี้คือ น้ำแร่

อันว่าน้ำแร่นั้นโปรดอย่าเข้าใจผิดว่าหมายถึงที่ชาวเหมืองแร่นิยมดื่มกัน ชาวเมืองนั้นนิยมกินน้ำมังสวิรัติมากกว่า นัยว่าเพื่อใช้เป็นยาฆ่าเชื้อในกระเพาะอาหาร ในคำนิยามของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้กำหนดคำนิยามของน้ำแร่ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่ ที่ออกตามพระราชบัญญัติอาหารว่า หมายความถึงน้ำแร่ตามธรรมชาติ ที่ได้จากแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และมีแร่ธาตุผสมอยู่เป็นคุณสมบัติสำหรับแหล่งน้ำนั้นๆ ฟังดูยังงงกันอยู่ แต่ไม่เป็นไรค่ะอ่านไปเดี๋ยวก็ตาสว่างเอง

ถ้าคุณเคยสังเกตเวลาดูว่าชาวต่างประเทศผ่านดาวเทียมจะพบว่า ในการประชุมระหว่างผู้นำคนสำคัญของโลกนั้นบนโต๊ะการประชุมมักมีขวดสีเขียว ซึ่งไม่ใช่สไปรท์วางอยู่คู่กับแก้วน้ำน้ำในขวดนั้นมักจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติ ซึ่งไม่ต่างกับเวลาเข้ารับหังการบรรยายตามโรงแรมในกรุงเทพฯ มักจะมีน้ำแร่ของการประปานครหลวงมาเสิร์ฟ ที่เรียกว่าน้ำแร่การประปาก็เพราะปัจจุบันมีน้ำประปาของ กทม. นั้นมีคุณภาพเข้าขั้นของน้ำแร่ธรรมชาติแล้ว เพราะสังเกตได้ว่าเมื่อรินใส่แก้วทิ้งไว้สักหลายๆ วันให้น้ำระเหยแห้งไป คุณจะพบคราบที่แก้วน้ำซึ่งไม่ใช่อื่นใดนั้นคือแร่ธาตุที่มีในธรรมชาติของน้ำในบ้านเรา (บวกกับสารเคมีที่โรงงานต่างๆ พร้อมใจกันเติมลงในน้ำดื่มที่ใช้น้ำประปา)

คนต่างชาติเช่นชาวยุโรปนั้นเชื้อว่าน้ำแร่นั้นดื่มแล้วดี ทำให้แข็งแรง แถมมีรสชาติดีด้วย น้ำแร่ที่เขานิยมดื่มมักจะมาจากแหล่งน้ำแร่ที่อยู่บนเชิงเขาเชิงดอยซึ่งห่างไกลจากเมืองที่มีมลพิษ

ความจริงในบ้านเราก็มีแหล่งน้ำแร่อยู่หลายแห่ง ที่ขึ้นชื่อลือชาก็คงเป็นที่ จ.ระนอง ซึ่งมีการต่อน้ำแร่ซึ่งเกิดจากน้ำพุร้อนเข้าไปให้อาบกันที่โรงแรมเลย น้ำแร่ประเภทนี้ต่างจากประเภทอื่นที่บรรจุขวดดื่ม เพราะมันมีกำมะถันสูง เหมาะกับการอาบเพื่อรักษาโรคผิวหนังมากกว่า

ในทางการปฏิบัติเพื่อนำเข้าหรือผลิตน้ำแร่ในทางการค้านั้น อย.ได้กำหนดประกาศขึ้นมาควบคุมเฉพาะ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก ประกาศฉบับนี้อาศัยหลักการและเนื้อหาจากที่มีการประกาศนานาชาติเลยทีเดียว เพื่อแสดงว่าไทยเราก็ศิวิไลซ์เหมือนกัน นอกจากแร่ธาตุแล้วก็ยังมีการกำหนดปริมาณสารปนเปื้อนต่างๆ ซึ่งเกิดจากปุ๋ย การชะล้างทำความสะอาดโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนสารกัมมันตภาพรังสี อีกทั้งต้องไม่มีเชื้อโรคในระดับที่ก่อให้เกิดอันตรายอีกด้วย
ในการผลิตน้ำแร่ตามหลักสากลนั้นก็ได้พยายามให้เป็นธรรมชาติที่สุด กล่าวคือตักมาจากบ่ออย่างไรก็กรอกใส่ขวดอย่างนั้น อาจเติมก็าซคาร์บอนไดออกไซต์ลงไปใปให้เกิดความซ่าส์ สำหรับคนชอบซ่าส์หรือเติมก๊าซโอโซนลงไปเพื่อฆ่าเชื้อโรค นอกจากนั้นห้ามทำแม้แต่กระทั่งการกรอง

ประเด็นสำคัญที่ผู้บริโภคน้ำแร่ต้องคำนึงไว้ก็คือ เรื่องการแสดงฉลาก ซึ่งตามประกาศที่กระทรวงสาธารณสุขออกไว้แต่เดิม และจากการแก้ไขใหม่นั้นจะช่วยคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภคให้มากขึ้น เช่น กรณีคำเตือนที่ไม่แนะนำให้เด็กและหญิงมีครรภ์บริโภค เนื่องจากแนวความคิดว่าไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องไปเสี่ยงกับการรับแร่ธาตุซึ่งบางอย่างอาจไม่ปลอดภัยได้

นอกจากนี้ยังมีการบังคับให้ผู้จำหน่ายจัดประเภทน้ำแร่ของตนว่าอยู่ในประเภทต่อไปนี้หรือไม่ เช่น ต้องแสดงฉลาว่ามีฤทธิ์ถ่ายท้อง ถ้ามีเกลือซัลเฟตเกิน 600 มิลิกรัม/ลิตร ยกเว้นเกลือแคลเซียมซัลเฟต มีเกลือสูงถ้ามีโซเดียมคลอไรต์มากกว่า 1,000 มืลลืกรัม/ลิตร ทีธาตุเหล็กสูงถ้ามีแร่เหล็กมากกว่า 5 มิลลิกรัม/ลัตร ฯลฯ

ข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ได้มาจากการที่อนุกรรมการพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 6 ในการพิจารณากำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหารเป็นเวลาหลายสิบชั่วโมง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะไม่ให้มีการหลอกลวงผู้บริโภค โดยการนำเอาน้ำอะไรไม่รู้มากรอกใส่ขวดแล้วบอกว่าเป็นน้ำแร่ ทั้งนี้ถ้าปล่อยให้น้ำแร่มีการผลิตและจำหน่ายได้ง่ายเช่นเดียวกับน้ำดื่มบรรจุขวดซึ่งขาดการดูแลที่เหมาะสม ในกรณีที่ผลิตในลักษณะอุตสาหกรรมห้องแถวแล้ว น้ำขวดเหล่านั้นอาจติดฉลากว่าเป็นน้ำแร่ในวันใดวันหนึ่ง เพราะอย่างที่ทราบกันเป็นการภายในว่าการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดตามห้องแถวหรือหมู่บ้านจัดสรรนั้น ทำโดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับอาหารเพียงขอฉลากเท่านั้น จากนั้นไปซื้อเครื่องกรองน้ำมาชุดหนึ่ง แล้วก็ต่อน้ำประปาหรือน้ำบาดาลเข้าไป แรกๆ ก็ดูเป็นน้ำสะอาดดี แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพักโดยการขาดการดูแลเอาจใส่เปลี่ยนใส้กรอง ทำให้น้ำก่อนเข้าเครื่องกรองน้ำที่ออกมาบรรจุขวด ก็อาจมีระดับความสะอาดแทบไม่ต่างกัน และโดยที่ทราบกันดีว่าน้ำบาดาล และน้ำประปาบ้านเรานั้นมีความกระด้างสูง ดูจากการต้มน้ำกินจะพบตะกรันตกตะกอนลงก้นมามากมาย ดังนั้นน้ำดื่มบรรจุขวดที่ขายกันราคาถูกจึงอาจเข้าอยู่ในลักษณะของสิ่งปนเปื้อนได้ ทางราชการจึงจำเป็นต้องออกกฎและระเบียบมาควบคุมไว้บ้าง

คุณภาพมาตรฐานของน้ำแร่ธรรมชาติ

ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ให้ความหมายของ “น้ำแร่ธรรมชาติ” ไว้ว่า “น้ำแร่ธรรมชาติที่ได้มาจากแหล่งน้ำใต้ดินที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และมีแร่ธาตุต่างๆ อยู่ตามคุณสมบัติสำหรับแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติแล่งนั้นๆ”

ซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุขก็บัญญัติให้น้ำแร่ธรรมชาติเป็นอาหารที่กำหนดคุณภาพมาตรฐาน โดยการผลิตน้ำแร่ธรรมชาติ จะต้องกระต้องกระทำภายในบริเวณแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติแหล่งนั้นๆ เท่านั้น โดยอาจจะนำไปผ่านกรรมวิธีการผลิตก่อนการบรรจุก็ได้ ซึ่งจะต้องกระทำตามกรรมวิธีการผลิตดังต่อไปนี้
การปรับปริมาณก็าซที่มีอยู่ในน้ำแร่ธรรมชาติ

การกำจัดสารประกอบที่ไม่ลงตัว เช่น สารประกอบหลัก แมงกานีส กำมะถัน สารหนู เป็นต้น ให้กำจัดโดยวิธีทำให้ตกตะกอน (decantation) และหรือโดยวิธีการกรอง (filtration) เท่านั้น แต่อาจมีการเติมอากาศ (aeration) เพื่อเร่งการตกตะกอนและหรือการกรองตาความจำเป็นก่อนการกำจัดก็ได้ โดยต้องไม่ทำให้สารประกอบสำคัญในน้ำแร่ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป
คุณภาพมาตรฐานองน้ำแร่


ใส ไม่มีตะกอน

แร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำแร่ธรรมชาติต้องมีปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ได้แก่
- ทองแดง ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม /น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- แมงกานีส ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- บอเรต ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- สารหนู ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- แบเรียม ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- แคดเมียม ไม่เกิน 0.003 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- โครเมียม ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- ตะกั่ว ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- ปรอท ไม่เกิน 0.001 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- ซิลีเนียม ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- ไบเดรต ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- พลวง ไม่เกิน 0.005 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- นิเกิล ไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร

สารปนเปื้อน
- ไซนาไมต์ ไม่เกิน 0.07 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- ไบไดรต์ ไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม/น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร
- ไม่พบสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์
- ไม่พบโพลีคลอริเนตเดตไนพีนีล
- ไม่พบสารลดความตึงผิว
- ไมพบน้ำมันแร่
- ไม่พบโพลีนิวเคลียร์อะโรแมติกไฮโดรคาร์บอน

ต้องไม่พบจุลินทรีย์
- แบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์มน้อยกว่า 2.2 ต่อน้ำแร่ธรรมชาติ 100 มม.
- ไม่พบแบคทีเรียชนิดอี.โคไล (Escherichia coll)
- ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
ฉลากของน้ำแร่ต้องแสดงข้อมูลต่างๆ เหล่านี้
ชื่อของน้ำแร่ธรรมชาติ โดยต้องแสดงแหล่งที่มาของน้ำแร่ธรรมชาตินั้น โดยอาจมีชื่อทางการค้าประกอบด้วยหรือไม่ก็ได้ และกำกับด้วยชื่อที่แสดงการปรับปริมาณก๊าซของน้ำแร่ธรรมชาติตามมาตรฐาน Joint FAO/WHO, Codex

แสดงชื่อของแร่ธาตุที่สำคัญ

การผ่านกรรมวิธี แสดงคำเตือนซึ่งมีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 2 มม. เห็นชัดในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงพื้นขาว ดังต่อไปนี้ มีฟลูออไรด์ สำหรับน้ำกแร่ธรรมชาติที่มีปริมาณฟลูออไรด์มากกว่า 1 มิลลิกรัมต่อน้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร และต้องเพิ่มคำเตือน ผลิตภัณฑ์นี้ไม่เหมาะสำหรับทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี สำหรับน้ำแร่ที่มีฟลูออไรด์มากกว่า 2 มิลลิกรัมต่อน้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร

ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทย มีลักษณะการปรากฏให้เห็นชัดเจนที่ภาชนะบรรจุ

มีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือการใช้ฉลากอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 146 (พ.ศ.2535) เรื่องน้ำแร่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2535

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น