วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

New Year's Day

The Romans dedicated this day to Janus, the god of gates, doors, and beginnings. After Julius Caesar reformed the calendar in 46 BC and was subsequently murdered, the Roman Senate voted to deify him on the 1st January 42 BC in honour of his life and his institution of the new rationalised calendar. The month originally owes its name to the deity Janus, who had two faces, one looking forward and the other looking backward. This suggests that New Year's celebrations are founded on pagan traditions. Some have suggested this occurred in 153 BC, when it was stipulated that the two annual consuls (after whose names the years were identified) entered into office on that day, though no consensus exists on the matter. Dates in March, coinciding with the spring equinox, or commemorating the Annunciation of Jesus, along with a variety of Christian feast dates were used throughout the Middle Ages, though calendars often continued to display the months in columns running from January to December.

Among the 7th century pagans of Flanders and the Netherlands, it was the custom to exchange gifts at the New Year. This was a pagan custom deplored by Saint Eligius (died 659 or 660), who warned the Flemings and Dutchmen, "(Do not) make vetulas, [little figures of the Old Woman], little deer or iotticos or set tables [for the house-elf, compare Puck] at night or exchange New Year gifts or supply superfluous drinks [another Yule custom]." The quote is from the vita of Eligius written by his companion, Ouen.

Most countries in Western Europe officially adopted January 1 as New Year's Day somewhat before they adopted the Gregorian calendar. In England, the Feast of the Annunciation on March 25, was the first day of the new year until the adoption of the Gregorian Calendar in 1752. The March 25 date was known as Annunciation Style; the January 1 date was known as Circumcision Style, because this was the date of theFeast of the Circumcision, being the eighth day counting from December 25 when Christ was believed to be born. This day was christened as the beginning of the New Year by Pope Gregory as he designed the Liturgical Calendar.

วันขึ้นปีใหม่

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณ ถือเอาวันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย (เดือนหนึ่ง) เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติทางพระพุทธศาสนา ที่เริ่มฤดูหนาว (เหมันต์) เป็นจุดเริ่มต้นของปีต่อมา จารีตดังกล่าวได้แปรเปลี่ยนไปตามคติของพราหมณ์ ซึ่งใช้วันขึ้นหนึ่งค่ำเดือนห้าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นการนับวัน เดือน ปี แบบจันทรคติ คือการใช้การโคจรของดวงจันทร์เป็นเกณฑ์

ต่อมาเมื่อทางราชการเปลี่ยนมาใช้แบบสุริยคติ คือใช้ดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ จึงได้ถือเอา วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2432

วันขึ้นปีใหม่ของนานาอารยประเทศ ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นการนับตามสุริยคติ เมื่อประเทศไทยซึ่งเดิมใช้วันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย ของไทย เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับว่าเป็นห้วงระยะเวลาใกล้เคียง กับวันที่ 1 มกราคม จึงเห็นว่าการที่ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นการเหมาะสมดังนี้

ตามทางดาราศาสตร์ การกำหนดอาศัยหลัก 2 ประการ คือ ใช้หลักวันที่ดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ซึ่งจะตกประะมาณ วันที่ 22 ธันวาคม อีกประการหนึ่งใช้หลักวันที่ดวงอาทิตย์ อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ซึ่งจะตกประมาณวันที่ 20 มีนาคม ประเทศไทยเคยใช้หลักประการแรกมาก่อน คือใช้เดือนอ้าย แรมหนึ่งค่ำ ซึ่งใกล้เคียงกับวันที่ 22 ธันวาคม

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงอธิบายไว้เป็นใจความว่า ฤดูหนาวเป็นเวลาที่พ้นจากมืดฝน สว่างขึ้นเหมือนเวลาเช้า โบราณจึงถือเป็นต้นปี ฤดูร้อนเป็นเวลาสว่างเต็มที่เหมือนเวลากลางวัน โบราณจึงถือเป็นกลางปี ส่วนฤดูฝนเป็นห้วงเวลาที่มืดครื้ม เหมือนกลางคืน โบราณจึงถือเป็นปลายปี จึงได้เริ่มเดือนหนึ่งที่เดือนอ้าย และไทยโบราณถือการเริ่มข้างแรมเป็นต้นเดือน

มีผู้ค้นพบว่า คติที่นับวันใดวันหนึ่งในห้วงระยะเวลาระหว่างวันที่ 21 เดือนธันวาคม ถึงวันที่ 1 เดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่นี้ เป็นคติเก่าแก่ของชนชาติที่อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสุวรรณภูมิ ด้วยเหตุผลที่พออธิบายได้ว่าในระยะเวลาดังกล่าวนี้ เป็นเวลาที่แลเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดโตที่สุด และเป็นเวลาที่อากาศเริ่มเย็นสบาย หลังจากที่หมดฤดูฝนแล้ว ประเทศไทยเราอยู่ในย่านกลางของพื้นที่ดังกล่าว จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ชาติไทยเราได้มีวันขึ้นปีใหม่ตามคติดังกล่าวมาแต่โบราณกาล

จากการตรวจสอบในห้วงระยะเวลา 30 ปี จากปี พ.ศ. 2453 ถึงปี พ.ศ. 2483 พบว่าวันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติแล้วจะอยู่ในเดือนธันวาคม และส่วนใหญ่จะอยู่ห่างจากวันที่ 1 มกราคม ไม่เกิน 10 วัน ห่างกันมากที่สุด 30 วัน และห่างน้อยที่สุดเพียง 2 วัน เท่านั้น

อินเดียในสมัยโบราณก็ได้เคยใช้วันที่ 1 เดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่มาแล้ว เรียกว่ามกรสงกรานต์ การที่อินเดียในยุคต่อมาใช้เดือนจิตรมาส หรือเดือนเมษายน เป็นต้นปีนั้น มีที่มาจากฝ่ายเหนือของอินเดีย เพราะในพื้นที่บริเวณดังกล่าว เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ลมฟ้าอากาศดีที่สุด มติได้แผ่เข้ามายังชนชาวไทย โดยพราหมณ์นำเข้ามาอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ในครั้งนั้น สูงมากพอจนทำให้ไทยเราหันไปใช้ตามแบบ พราหมณ์ในหลาย ๆ เรื่อง รวมทั้งวันขึ้นปีใหม่ด้วย โดยนับเดือนห้าเป็นต้นปี ทำให้เราต้องขึ้นปีใหม่ 2 ครั้ง คือขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนห้า และวันสงกรานต์ ซึ่งจะเลื่อนไปมาในแต่ละปีไม่แน่นอน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงเห็นความลำบากในกรณีดังกล่าว เมื่อไทยต้องมีการติดต่อกับ ต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2432 วันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนห้า ไปตรงกับวันที่ 1 เดือนเมษายน พอดี จึงได้มีประกาศบรมราชโองการ ให้ถือวันที่ 1 เดือนเมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยตั้งแต่นั้นมา

ประเทศไทยได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 เดือนมกราคม เมื่อปี พ.ศ. 2484 ด้วยเหตุผลทั้งมวลที่ได้กล่าวมาแล้ว และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ บรรดานานาประเทศ ได้ใช้วันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ ทำให้สมประโยชน์แก่ประเทศไทยด้วยประการทั้งปวง

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน

ดอก Simpor หรือที่เรารู้จักกันในชื่อดอก Dillenia เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศ บรูไน ดารุสซาลาม


ดอก Rumdul ก็คือดอก ลำดวน เป็นดอกไม้ประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา


ดอก Moon Orchid (กล้วยไม้ราตรี) เป็นกล้วยไม้ในสายพันธุ์ของ Phalaenopsis เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย


ลีลาวดี หรือลั่นทม เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


Hibiscus หรือ ชบา เป็นดอกไม้ประจำชาติของ ประเทศมาเลเซีย


Padauk ประดู่ เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สหภาพพม่า


Sampaguita Jasmine ดอกพุดแก้ว เป็นดอกไม้ประจำชาติของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์


บัว เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


Vanda Miss Joaquim เป็นกล้วยไม้ในกลุ่ม แวนด้า เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสิงคโปร์


ราชพฤกษ์ หรือ ดอกคูน เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย


วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

25 ธันวาคม วันคริสต์มาส


ตำนานวันคริสต์มาส

คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

เทศกาล Christmas หรือ X’Mas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งวันที่ 25 ธันวาคมนั้นเป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ โดยพระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร

ด้านนักประวัติศาสตร์ก็มีความเห็นที่ต่างออกไปโดยได้วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูซึ่งเปรียบเสมือนความสว่างของโลก และเหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืนแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

เทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู และเป็นการฉลองความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์โลก โดยส่งบุตรชาย คือ "พระเยซู" ลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่บาป และช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากการทำชั่วนั่นเอง ดังนั้นในวันนี้ถือเป็นวันที่มีความหมายสำคัญชาวคริสต์ทั่วโลก และมีการส่งบัตรอวยพร ให้ของขวัญ แก่กันและกัน รวมทั้งประดับประดาตกแต่งบ้านเรือนด้วยแสงไฟ และต้นคริสต์มาสอย่างสวยงาม




องค์ประกอบในงานคริสต์มาส

ซานตาครอส

เป็นสิ่งแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในฐานะสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส ซึ่งว่ากันว่าซานตาคลอสคนแรก คือ นักบุญ (เซนต์) นิโคลัส ผู้เป็นสังฆราชแห่งเมืองไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 4 และเหตุที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นซานตาครอสคนแรก มาจากวันหนึ่งที่ท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่ง แล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี

นักบุญนิโคลัส นั้นเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือว่าเป็นนักบุญผู้อุปถัมภ์ของเด็กๆ เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษาประเพณีการฉลองนักบุญ นิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม เอาไว้ ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ประเพณีนี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลัสก็เปลี่ยนเป็น ซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราชก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วนและใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นยานพาหนะที่มีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟของบ้านเพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้นตามความประพฤติของเขา

ถึงแม้ซานตาคลอสจะเป็นเพียงตำนานที่เกิดขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสก็ตาม แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่รวมเอาวิญญาณและความหมายของคริสต์มาสไว้อย่างมากมาย อาทิ ความปิติยินดีชื่นชม ความโอบอ้อมอารี ความรัก และความเป็นกันเอง

ถุงเท้า

จากที่นักบุญนิโคลัสได้ปีนขึ้นไปบนปล่องไฟของบ้านเด็กหญิงยากจน เพื่อที่จะมอบเหรียญเงินให้เป็นของขวัญ แต่เหรียญนั้นกลับตกไปอยู่ในถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้หน้าเตาผิง พอรุ่งเช้าเด็กหญิงตื่นมาเจอเหรียญเงินในถุงเท้าจึงดีใจมาก และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ผู้คนมากมายต่างพากันแขวนถุงเท้าคริสต์มาสไว้ เพื่อหวังจะได้รับของขวัญเช่นเดียวกันบ้าง



ต้นคริสต์มาส

นอกจากนี้อีกอย่างที่ขาดไม่ได้ก็คือ ต้นคริสต์มาส ซึ่งต้นคริสต์มาสก็คือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยลูกแอปเปิ้ลและขนมปังเพื่อระลึกถึงศีลมหาสนิท และก็ได้มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยจนมาถึงการประดับด้วยดวงไฟหลากสีสัน ขนม และของขวัญ อย่างในทุกวันนี้ การตกแต่งแบบนี้ต้องย้อนไปในศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก

โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่ที่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก และอีกเหตุผลที่ใช้ต้นสนก็เพราะว่ามันหาง่าย

ในสมัยโบราณนั้นต้นคริสต์มาส หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า โดยตามพระคัมภีร์นั้นได้เปรียบพระเยซูเจ้าเสมือนเป็นต้นไม้แห่งชีวิต ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เขียวเสมอในทุกฤดูกาล สื่อถึงนิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า อีกทั้งความสว่างของพระองค์ยังเหมือนแสงเทียนที่ส่องสว่างในความมืด และรวมถึงความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูประทานให้ เพราะต้นไม้นั้นเป็นจุดศูนย์รวมของครอบครัวในเทศกาลคริสต์มาส



ต้นฮอลลี่


ต้นฮอลลี่ เป็นต้นไม้พุ่มเตี้ย และเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส เชื่อกันว่า สีเขียวของต้นฮอลลี่มีความหมายถึง การมีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร์ และมีความสัมพันธ์กับพระเยซู โดยผลสีแดงของต้นฮอลลี่นั้นหมายถึงหยดเลือดของพระเยซูที่ไหลลงบนไม้กางเขน ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความรักที่มีต่อพระเจ้า ใบไม้ที่มีหนามของต้นฮอลลี่เป็นสิ่งที่เตือนพวกเราถึงมงกุฏหนามที่พวกชาวทหารโรมันได้นำมาวางไว้บนศีรษะของพระเยซูคริสต์



ดอกไม้คริสต์มาส หรือ Poinsettia

ตำนานของดอก Poinsettia ที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของวันคริสต์มาส มาจากเรื่องราวของเด็กหญิงจนๆ คนหนึ่ง ที่ต้องการหาของขวัญไปมอบให้พระแม่มารีในวันคริสต์มาสอีฟ แต่เนื่องจากเธอไม่มีสิ่งของใดๆ ติดตัว จึงเดินทางไปตัวเปล่า และระหว่างทางเธอได้พบกับนางฟ้าที่บอกให้เธอเก็บเมล็ดพืชไว้ ต่อมาเมล็ดพืชนั้นกลับเจริญเติบโตเปลี่ยนเป็นดอกไม้สีเลือดหมูสดใส ซึ่งก็คือดอก Poinsettia ตั้งแต่นั้นดอก Poinsettia ก็ได้รับความนิยมใช้ประดับประดาบ้านในงานคริสต์มาส

ดอกคริสต์มาส Christmas Rose

มีต้นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ ลักษณะเป็นดอกสีขาว และมักออกดอกในช่วงฤดูหนาว ตำนานของดอกคริสต์มาสนี้มีอยู่ว่า ในช่วงที่พระเยซูประสูติ มีผู้รอบรู้ 3 คน กับคนเลี้ยงแกะเดินทางมาพบพระเยซู ระหว่างทางพวกเขาพบกับ มาเดลอน เด็กหญิงที่เลี้ยงแกะคนหนึ่ง เมื่อเธอทราบว่าทั้งหมดเดินทางมาเพื่อมอบของขวัญให้พระเยซู มาเดลอนก็เสียใจที่ไม่มีของขวัญใดไปมอบให้พระเยซูบ้าง ก่อนที่นางฟ้าที่เฝ้ามองเธออยู่จะเกิดความเห็นใจจึงร่ายมนตร์เสกดอกไม้สีขาวน่ารักและมีสีชมพูอยู่ตรงปลายกลีบให้เธอ และดอกไม้นั้นคือ ดอกคริสต์มาสนั่นเอง

เพลงวันคริสต์มาส

เพลงคริสต์มาสเริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 แต่งโดยพระสงฆ์และฆราวาส มีเนื้อร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมาของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีการแต่งในท่วงทำนองที่ร่าเริงสนุกสนานมากขึ้น เริ่มจากประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้สนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่

เพลงคริสตมาสแบบใหม่นี้ เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน เพราะมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดีในโอกาสคริสต์มาส เพลงเหล่านี้มีทั้งที่เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาสที่นิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night

ความเป็นมาของเพลงนี้มาจากวันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ (Joseph Mohr) เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ (Oberndorf) ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวัดเสีย ทำให้วงขับร้องไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ จึงมีการแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ นำไปให้เพื่อนชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ (Franz Gruber) ใส่ทำนองในคืนวันที่ 24 นั่นเอง และเล่นเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยมีการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก

คำอวยพรวันคริสต์มาส

ในวันคริสต์มาสเรามักจะใช้คำอวยพรให้แก่กันและกันว่า Merry X'mas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า "สันติสุขและความสงบทางใจ" คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ และได้จัดให้มีการฉลองเพื่อระลึกถึงการบังเกิดของพระเยซู ที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลก ผู้ทรงเกียรติเลอเลิศ ประเพณีนี้ได้เริ่มมาจากรุงโรมในศตวรรษที่ 4 และค่อยๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป



สีประจำวันคริสต์มาส

สีที่เกี่ยวข้องในวันคริสต์มาสประกอบด้วย

สีแดง : เป็นสีของผลฮอลลี่ หรือซานตาครอส เป็นสีของเดือนธันวาคม ที่แสดงถึงความตื่นเต้น และหากเป็นสัญลักษณ์ตามศาสนา สีแดงจะหมายถึง ไฟ, เลือด และความโอบอ้อมอารี

สีเขียว : เป็นสีของต้นไม้ สัญลักษณ์ของธรรมชาตื หมายถึงความอ่อนเยาว์และความหวังที่จะมีชีวิตเป็นนิรันดร์ เปรียบได้กับว่าเทศกาลคริสต์มาสคือเทศกาลแห่งความหวัง

สีขาว : เป็นสีของหิมะ และเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา คือแสงสว่าง ความบริสุทธิ์ ความสุข และความรุ่งเรือง สีขาวนี้จะปรากฎบนเสื้อคลุมนางฟ้า, เคราและชายเสื้อของซานตาครอส

สีทอง : เป็นสีของเทียนและดวงดาว เป็นสัญลักษณ์ของแสงอาทิตย์และความสว่างไสว


การทำมิสซาเที่ยงคืน

การถวายมิสซานี้เกิดขึ้นหลังจากพระสันตะปาปาจูลีอัสที่ 1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส) ในปีนั้นเองพระองค์และสัตบุรุษ ได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม และไปยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ เมื่อไปถึงตรงกับเวลาเที่ยงคืนพอดี พระสันตะปาปาทรงถวายบูชามิซซา ณ ที่นั้น เมื่อเดินทางกลับมาที่พักได้เวลาตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และ สัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ยังมีสัตบุรุษหลายคนไม่ได้ร่วมขบวนไปด้วยในตอนแรก พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อสัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติของพระองค์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ในโอกาสวันคริสต์มาส

เทียนและพวงมาลัย

พวงมาลัยนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่คนสมัยก่อนใช้หมายถึงชัยชนะ แต่สำหรับการแขวนพวงมาลัยในวันคริสต์มาสนั้น หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างครบบริบูรณ์ตามแผนการณ์ของพระเป็นเจ้า ซึ่งธรรมเนียมนี้ เกิดจากกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในประเทศเยอรมันได้เอากิ่งไม้มาประกอบเป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้น ในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเพื่อเตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะจุดเทียนหนึ่งเล่ม สวดภาวนา และร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกันเป็นเวลา 4 อาทิตย์ก่อนถึงวันคริสต์มาส ประเพณีเป็นที่นิยมอยางมากในประเทศอเมริกา ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยนำเทียน 1 เล่มนั้นมาจุดไว้ตรงกลางพวงมาลัยสีเขียว และนำไปแขวนไว้ที่หน้าต่าง เพื่อเป็นการเตือนให้คนที่เดินผ่านไปมาได้รู้ว่าใกล้ถึงวันคริสต์มาสแล้ว ส่วนเหตุผลที่พวงมาลัยมีสีเขียวนั้น เป็นเพราะมีการเชื่อกันว่าสีเขียวจะช่วยป้องกันบ้านเรือนจากพวกพลังอันชั่ว ร้ายได้

ระฆังวันคริสต์มาส

เสียงระฆังในวันคริสต์มาสคือการเฉลิมฉลองให้กับการประสูติของพระพุทธเจ้า โดยมีตำนานเล่าว่า มีการตีระฆังช่วงก่อนเวลาเที่ยงคืนของวันคริสต์มาสเพื่อลดพลังความมืด และบ่งบอกถึงความตายของปีศาจ ก่อนที่พระเยซูผู้ที่จะมาช่วยไถ่บาปให้กับมวลมนุษย์จะถือกำเนิดขึ้น และระฆังนี้มีเสียงดังกังวาลนานนับชั่วโมง ก่อนที่ในเวลาเที่ยงคืนเสียงระฆังนี้จะกลับกลายมาเป็นเสียงแห่งความสุข



ดาว

ดาว ในความหมายของชาวคริสต์เตียน หมายถึงการแสดงออกที่ดีของพระเยซูคริสต์ ที่บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลว่า "The bright and morning star" มีความหมายพิเศษเหมือนกับว่า ดวงดาวเหล่านั้นได้แบ่งที่อยู่กับสรวงสวรรค์ ไม่ว่าจะมีกำแพงอะไรขวางกั้นระหว่างพื้นผิวโลกด้วยก็ตาม

เครื่องประดับและแอปเปิ้ล

ในบางแห่งเชื่อว่า ลำต้นของแอปเปิ้ล มองดูคล้ายกับต้นไม้ในสรวงสวรรค์ จึงมีการนำเอาแอปเปิ้ลมาประดับตามต้นไม้ในวันคริสต์มาส ส่วนเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ ที่ตกแต่งต้นคริสต์มาสนั้นเป็นงานศิลปะที่จำลองจากผลไม้ และที่มีสีสันสดใสนั้นเพื่อให้เกิดความรื่นเริงในบ้าน อีกทั้งแสงระยิบระยับที่สะท้อนไปมา ยังดูสวยงามคล้ายแสงเทียนและแสงไฟ



ของขวัญวันคริสต์มาส


การแลกเปลี่ยนของขวัญในวันคริสต์มาสนั้น เริ่มต้นจากเมือง Saturnalia ในช่วงยุคโรมัน ต่อมาชาวคริสต์รับประเพณีนี้เข้ามา ด้วยความเชื่อว่า การให้ของขวัญนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับของขวัญประเภททอง, ยางสนที่มีกลิ่นหอม และ ยางไม้หอม ซึ่งพวกนักเวทย์จากตะวันออกที่เดินทางมาคารวะพระเยซูคริสต์ นำมาให้ตอนที่ท่านประสูติ

ทั้งหมดนั้นก็คือการเฉลิมฉลองให้กับพระเยซู ที่เกิดมาเพื่อชำระบาปให้แก่ชาวคริสต์ทั้งหลาย และเป็นเทศกาลที่นำความสุข สนุกสนาน มาสู่หมู่มวลมนุษย์

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ROBERT NOYCE

nventor:Robert Norton Noyce
Robert Noyce photo courtesy Intel Corporation
Criteria:Co-inventor. Entrepreneur.
Birth:December 12, 1927 in Burlington, Iowa
Death:June 3, 1990 in Austin, Texas
Nationality:American
Robert Norton Noyce was born December 12, 1927 in Burlington, Iowa. A noted visionary and natural leader, Robert Noyce helped to create a new industry when he developed the technology that would eventually become the microchip. Noted as one of the original computer entrepreneurs, he founded two companies that would largely shape today’s computer industry—Fairchild Semiconductor and Intel.

Bob Noyce's nickname was the "Mayor of Silicon Valley." He was one of the very first scientists to work in the area -- long before the stretch of California had earned the Silicon name -- and he ran two of the companies that had the greatest impact on the silicon industry: Fairchild Semiconductor and Intel. He also invented the integrated chip, one of the stepping stones along the way to the microprocessors in today's computers.

Noyce, the son of a preacher, grew up in Grinnell, Iowa. He was a physics major at Grinnell College, and exhibited while there an almost baffling amount of confidence. He was always the leader of the crowd. This could turn against him occasionally -- the local farmers didn't approve of him and weren't likely to forgive quickly when he did something like steal a pig for a college luau. The prank nearly got Noyce expelled, even though the only reason the farmer knew about it was because Noyce had confessed and offered to pay for it.

While in college, Noyce's physics professor Grant Gale got hold of two of the very first transistors ever to come out of Bell Labs. Gale showed them off to his class and Noyce was hooked. The field was young, though, so when Noyce went to MIT in 1948 for his Ph.D., he found he knew more about transistors than many of his professors.

After a brief stint making transistors for the electronics firm Philco, Noyce decided he wanted to work at Shockley Semiconductor. In a single day, he flew with his wife and two kids to California, bought a house, and went to visit Shockley to ask for a job -- in that order.

As it was, Shockley and Noyce's scientific vision -- and egos -- clashed. When seven of the young researchers at Shockley semiconductor got together to consider leaving the company, they realized they needed a leader. All seven thought Noyce, aged 29 but full of confidence, was the natural choice. So Noyce became the eighth in the group that left Shockley in 1957 and founded Fairchild Semiconductor.

Noyce was the general manager of the company and while there invented the integrated chip -- a chip of silicon with many transistors all etched into it at once. Fairchild Semiconductor filed a patent for a semiconductor integrated circuit based on the planar process on July 30, 1959. That was the first time he revolutionized the semiconductor industry. He stayed with Fairchild until 1968, when he left with Gordon Moore to found Intel. At Intel he oversaw Ted Hoff's invention of the microprocessor -- that was his second revolution.

At both companies, Noyce introduced a very casual working atmosphere, the kind of atmosphere that has become a cultural stereotype of how California companies work. But along with that open atmosphere came responsibility. Noyce learned from Shockley's mistakes and he gave his young, bright employees phenomenal room to accomplish what they wished, in many ways defining the Silicon Valley working style was his third revolution.

Noyce was working to prevent the acquisition of a Silicon Valley materials supplier by a Japanese concern when he died unexpectedly of a heart attack in July 1990 at his home in Austin, Texas. He was 62 years old.