วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

วันข้าราชการพลเรือน


ทุกวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี

ประวัติความเป็นมา
เนื่องด้วยวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2471 เป็นวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพุทธศักราช 2471 มีผลใช้บังคับ เป็น การจัดระเบียบข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เป็นมาตรฐาน จึงกำหนดเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันข้าราชการพลเรือน การจัดงานในวันข้าราชการพลเรือน

การจัดงานในวันข้าราชการพลเรือน มีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 หัวใจของงานส่วนใหญ่ เป็นการมอบเกียรติบัตรยกย่อง สดุดีข้าราชการดีเด่น ในส่วนกลางนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในส่วนภูมิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

“ข้าราชการไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด ระดับไหน มีหน้าที่อย่างไร ล้วนแต่มีส่วนสำคัญอยู่ในงานของแผ่นดินทั้งสิ้น ทุกคนทุกฝ่ายจึงไม่ควรจะถือตัวแบ่งแยกกัน หากต้องยกย่องนับถือให้เกียรติกัน สมัครสมานร่วมมือร่วมคิดกัน ให้การปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดินดำเนินไปอย่างมีเอกภาพ และได้ผลที่พึงประสงค์ สมบูรณ์พร้อมทุกส่วน”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน ปีพุทธศักราช 2546

พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

วันที่ 30 มีนาคม ปีพุทธศักราช 2546

วันออมสิน

ทุกวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี

วันออมสิน ตรงกับวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี วันออมสินได้ถูกกำหนดขึ้น เพื่อ เป็นการระลึกถึงการก่อกำเนิดขึ้นของธนาคารออมสินโดยจัดกิจกรรมเป็นประจำทุก ปีเพื่อเป็นการรักนิสัยการออมเงินสำหรับเด็ก เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไป โดยธนาคารออมสินทั่วประเทศได้จัดให้มีการรับฝากเงิน โดยผู้ที่ฝากเงินตั้งแต่ 50 บาท ขึ้นไป จะได้รับการแจกของขวัญ เป็นประจำทุกปี

ประวัติและวิวัฒนาการธนาคาร

กิจการการออมสิน ได้เริ่มขึ้น ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2456 ตาม พระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงเห็นคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการประหยัด การเก็บออมมีสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทองของปกโจรผู้ร้าย จึงได้ทรงจัดตั้งคลังออมสินขึ้น โดยสังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ ดำเนินธุรกิจภายใต้พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456

ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 คลังออมสินได้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข กิจการได้เริ่มแพร่หลาย และเป็นที่นิยมของประชาชนมากขึ้น ต่อมาภายหลังเมื่อสงครามครั้งที่ 2 ยุติลงรัฐบาลได้เห็นถึง คุณประโยชน์ของการ ออมทรัพย์และความสำคัญของคลังออมสิน ที่มีต่อการพัฒนาประเทศจึงได้ยกฐานะของคลังออมสินขึ้น เป็นองค์การของรัฐบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคลดำเนินธุรกิจ ภายใต้พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 มีการบริหารงานโดยอิสระ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เริ่มดำเนินธุรกิจในรูปธนาคารออมสินตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2490 เป็นต้นมา

ในปัจุบันธนาคารออมสินมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นรัฐวิสาหกิจ ในรูปของ สถาบันการเงินที่มีรัฐบาลเป็นประกัน อยู่ภายใต้กำกับโดยทั่วไปของ กระทรวงการคลัง มีสาขา 588 สาขาทั่วประเทศ มีอายุครบ 93 ปี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2549 ที่ผ่านมานี้

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

Juan Gris


juan gris

Juan Gris (ยวน กริซ หรือ ฮวน กรี) คือใคร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ? วันนี้กูเกิลได้ขึ้นโลโก้ (doodles) ใหม่อีกแล้ว เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งเรามาทำความรู้จักเขากันดีกว่า

José Victoriano (Carmelo Carlos) González-Pérez หรือที่รู้จักกันดีในฐานะ Juan Gris (ยวน กริซ หรือ ฮวน กรี) เขาเป็นจิตรกรนักเขียนภาพแบบเหลี่ยมทางปัญญาและปฏิมากรจากประเทศสเปน Juan Gris เกิดวันที่ ที่ 23 มีนาคม 1887 เขาเกิดในมาดริดและระหว่างปี 1902-1904 เขาได้ศึกษาการวาดภาพทางกลที่ Escuela de Artes Y Manufacturas ในมาดริด และเขาได้มีส่วนในการวาดภาพประกอบวารสารประจำท้องถิ่นด้วย

ในช่วงปี 1904-1905 เขาศึกษาวิชาการเขียนภาพกับศิลปินชื่อ José Maria Carbonero และในปี 1905 นี่เองเขาได้ใช้นามแผงว่า Juan Gris (ยวน กริซ) ชีวิตส่วนใหญ่ของเขาจะอาศัยและทำงานอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศษ

และในเดือนตุลาคม ปี 1925 เขาได้ล้มป่วยหนักด้วยอาการเลือดเป็นพิษและหัวใจเต้นผิดปกติ และได้เสียชีวิตด้วยภาวะไตวายวันที่ 11 พฤษภาคม 1927 ด้วยวัยเพียง 40 ปีเท่านั้นเอง โดยได้ทิ้งให้ภรรยาดูแลลูกๆแต่เพียงลำพัง

โดยผลงานส่วนมากของ Juan Gris (ยวน กริซ หรือ ฮวน กรี) จะเป็นแนว คิวบิสม์ (Cubism)

คิวบิสม์ (Cubism) คือ กระแสศิลปะแบบสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่าง ปี 1908 ถึง 1918 โดยเริ่มต้นจากกลุ่มศิลปินที่อาศัยอยู่ในกรุงปารีส คิวบิสม์ (Cubism) เป็นการปฏิรูปทัศนศิลป์ให้แตกต่างจากสิ่งที่เคยมีมา ถ้าจะเข้าใจรูปทรงภายนอก ให้มองรูปทรงเหล่านั้นเป็นเหลี่ยมเป็นลูกบาศก์ง่าย ๆ นี่จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดสร้างสรรค์งานเกี่ยวกับรูปทรงใหม่ในกลุ่มนี้ ผู้ที่ริเริ่มนำแนวความคิดนี้มาใช้ในงานจิตรกรรมอย่างจริงจัง คือ ปิคัสโซ (Picasso) และบร๊าค (Braque)




Juan Gris

Juan Gris born in Madrid. Gris studied mechanical drawing at the Escuela de Artes y Manufacturas in Madrid from 1902 to 1904, during which time he contributed drawings to local periodicals. From 1904 to 1905 he studied painting with the academic artist Jose Maria Carbonero.

In 1906 he moved to Paris and became friends with Henri Matisse, Georges Braque, Fernand Leger, and in 1915 was painted by his friend, Amedeo Modigliani. In Paris, Gris followed the lead of another friend and fellow countryman, Pablo Picasso. His Portrait of Picasso in 1912 is a significant early Cubist painting done by a painter other than Picasso or Georges Braque. (Although he regarded Picasso as a teacher, Gertrude Stein acknowledged that Gris "was the one person that Picasso would have willingly wiped off the map.")

Although he submitted darkly humorous illustrations to journals such as Le Rire, L'assiette au beurre, Le Charivari, and Le Cri de Paris, Gris began to paint seriously in 1910. By 1912 he had developed a personal Cubist style.

At first Gris painted in the analytic style of Cubism, but after 1913 he began his conversion to synthetic Cubism, of which he became a steadfast interpreter, with extensive use of papier colle. Unlike Picasso and Braque, whose Cubist works were monochromatic, Gris painted with bright harmonious colors in daring, novel combinations in the manner of his friend Matisse.

In 1924, he first designed ballet sets and costumes for Sergei Diaghilev and the famous Ballets Russes.

Gris articulated most of his aesthetic theories during 1924 and 1925. He delivered his definitive lecture, Des possibilites de la peinture, at the Sorbonne in 1924. Major Gris exhibitions took place at the Galerie Simon in Paris and the Galerie Flechtheim in Berlin in 1923, and at the Galerie Flechtheim in Dusseldorf in 1925.

He died in Boulogne-sur-Seine (Paris) in the spring of 1927 at the age of forty, leaving a wife,Josette, and a son, Georges.

Before 2005, a Gris painting sold for more than USD69 million.

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญหลายแห่ง บางแห่งอาจจะมีอายุการสร้างมากกว่าเมืองเชียงใหม่เสียอีก โบราณสถานและโบราณวัตถุส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เช่น การสร้างวัด เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป กำแพงเมือง เป็นต้น โดยได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรหริภุญชัยและอาณาจักรสุโขทัย

โบราณสถานที่สำคัญ

วัดเชียงมั่น


วัดเชียงมั่น ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ถนนราชภาคินัย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ แต่เดิมเป็นพระราชวังหรือคุ้มหลวงที่ประทับของพญาเม็งราย ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนาไทย เมื่อปี พ.ศ.1839 ก่อนที่พระองค์จะทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้ยกรี้พลโยธา เข้ามาตั้งเป็นปฐมที่บริเวณวัดนี้มาก่อน เรียกกันในยุคนั้นว่า เวียงเหล็ก(หมายถึงความแข็งแรงมั่นคงประดุจเหล็ก) หลังจากที่พระองค์ได้ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่เสร็จแล้วได้ทรงสร้างคุ้มหลวงเป็น อารามหลวงแห่งแรก และทรงสร้างพระเจดีย์ตรงที่ราชมณเฑียรหอประทับของพระองค์ แล้วทรงขนานนามวัดว่า วัดเชียงมั่น ภายในวัดจะมีวิหาร โบสถ์ ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่หลายองค์ สิ่งสำคัญที่อยู่ในโบสถ์ก็คือ ศิลาจารึกที่ได้จารึกเกี่ยวกับการสร้างเมืองเชียงใหม่ เรียกว่า จารึกวัดเชียงมั่น ซึ่งจารึกในปี พ.ศ.2124

วัดเชียงมั่นมีพระพุทธรูปที่สำคัญ 2 พระองค์ ปัจจุบันทางวัดได้สร้างวิหารประดิษฐานเอาไว้ และนำพระพุทธรูปทั้งสอง 2 ประดิษฐานในมณฑปที่สร้างเลียนแบบมณฑปสมัยพระเมืองแก้วคือ พระแก้วขาว(พระเสตังคมณี ) และพระศิลาปางทรมานช้างนาฬาคีรี

วัดนี้ได้ถูกทิ้งร้างไปในสมัยที่พม่าได้เข้ามาปกครองอยู่ จนกระทั่งถึงสมัยของพระยากาวิละ ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่งและอยู่ในความดูแลของเจ้านายฝ่ายเหนือเรื่อยมา จนถึงสมัยพระเจ้าอินทวโรรส ได้มีศรัทธาเลื่อมใสในธรรมยุติกนิกาย จึงได้เชิญพระภิกษุสงฆ์ธรรมยุติกนิกายจากวัดบรมนิวาสน์มาจำพรรษาที่วัดนี้เป็นแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ ต่อมาก็ขยายไปยังวัดเจดีย์หลวง

วัดเจ็ดยอด (วัดโพธาราม มหาวิหาร)


วัดเจ็ดยอด เป็นวัดที่ชาวเชียงใหม่รู้จักกันดี เป็นเพราะมีเจดีย์เจ็ดยอด ตั้งอยู่นอกเมืองใกล้กับถนนซูปเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่ ลำปาง

วัดเจ็ดยอด มีชื่อในอดีตอีกชื่อหนึ่ง คือ วัดโพธาราม มหาวิหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทนา ปกป้อง กล่าวถึงประวัติวัดนี้ว่า เป็นวัดที่มีปัญหาเกี่ยวกับผู้สร้างอยู่หลายประเด็นด้วยกัน คือ ตาม ทฤษฎีของ Reinald Le May นักปราชย์ทางด้านโบราณคดีได้เสนอข้อคิดเห็นในข้อนี้ว่า พญาเม็งรายเป็นผู้สร้าง เหตุผลก็คือพญาเม็งรายเป็นกษัตริย์เชียงใหม่เพียงพระองค์เดียวที่เคยเสด็จไปเยือนพุกามถึง 2 ครั้ง ซึ่งที่เมืองพุกามนั้น มีเจดีย์ที่ชื่อว่า มหาวิหารโพธิแห่งเมืองพุกาม พระเจ้าติโลมินโล(กษัตริย์พม่าซึ่งขึ้นครองราชย์ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ) เป็นผู้ถ่ายแบบจากเจดีย์พุทธคยาได้สร้างขึ้นไว้ พญาเม็งราย ทรงเห็นแบบอย่างจึงได้ถ่ายแบบมาสร้าง

แต่ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ หรือพงศาวดารโยนก ได้ระบุเอาไว้ว่า พระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.1985 พ.ศ.2030) เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อฉลองพระพุทธศาสนาครบ 2000 ปี ในปี พ.ศ.1998 และพระราชทานนามว่า วัดโพธาราม มหาวิหาร เหตุที่ได้ชื่อนี้เพราะพระองค์ได้ต้นโพธิ์จากลังกามาปลูกไว้ในพระอาราม

นอกจากเจดีย์เจ็ดยอด ดังกล่าวแล้วสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ได้แก่พระวิหารกำแพง ซุ้มประตู(ประตูโขง) รวมทั้งลวดลายปูนปั้น ได้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช หลังสร้างเสร็จ โปรดเกล้าฯ ให้ทำการฉลองพระอารามนั้นเป็นการใหญ่

ประมาณ พ.ศ.2020 ได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และเป็นครั้งที่ 8 ของโลก ในสมัยพระเจ้าติโลกราชโดยมีธรรมทินเถระ วัดป่าตาลเป็นประธานในการทำสังคายนา

ปี พ.ศ.2053 ในสมัยพระเมืองแก้ว มีการสร้างอุโบสถขึ้นด้านทิศตะวันออกมีขนาดเล็ก ด้านหลังอุโบสถเป็นจิตกาธานที่ถวายพระเพลิง พระเจ้าติโลกราช ก่ออิฐถือปูน มีลายปูนปั้นเหลืออยู่ตามเสาซุ้มประตูมีลวดลายสวยงามมาก

จิตกาธานนี้ถือเป็นของแปลก โดยปกติแล้ว การถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์ เขามักจะทำเป็นเมรชั่วคราวที่ประดับประดาเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ รูปช้างเอราวัณบ้าง หรือรูปปราสาท เวลาเผาจะเผาพร้อมไปกับศพด้วย ซึ่งนับได้ว่าจิตกาธานแห่งนี้เป็น เมรุเผาศพที่ถาวรแห่งแรกของภาคเหนือ

ปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้ขุดแต่งบูรณะบริเวณโดยรอบของวัดโพธาราม มหาวิหาร และได้จัดเป็น สวนประวัติศาสตร์ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แด่พระเจ้าติโลกราช และเป็นที่พักผ่อนของประชาชน ทำให้บริเวณนี้น่าดูชมยิ่งขึ้น

วิหารลายคำ วัดพระสิงห์


สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว (พ.ศ.2038 พ.ศ.2068) และมาซ่อมแซมใหม่สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 ในสมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2399 พ.ศ.2413) เป็นวิหารล้านนาที่มีความงามสมบูรณ์แบบที่สุด ภายในวาดภาพที่ฝาผนัง (มีอายุในสมัยรัตนโกสินทร์) เป็นเรื่องสุวรรณหงส์ และเรื่องสังข์ทอง นัยว่ามีการแข่งขันกันวาดภาพระหว่างช่างเมืองเหนือที่วาดภาพสังข์ทอง ส่วนทางด้านทิศใต้วาดเรื่องสุวรรณหงส์ ปัจจุบันนี้ได้มีการศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้โดยละเอียดแล้ว พบว่าเป็นช่างของภาคเหนือทั้งสองด้าน ด้านทิศเหนือเป็นฝีมือของ เจ็กเส็ง ด้านทิศใต้เป็นฝีมือของ หนานโพธา ด้านในมีแท่นประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ที่ชาวเชียงใหม่นับถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ได้มาจากลังกา

ผู้ช่วยศวสตราจารย์นันทนา ปกป้อง ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า จากลักษณะขององค์พระพุทธสิหิงค์แล้ว เป็นพระเชียงแสนรุ่นแรกนี่เอง หมายถึงเป็นสกุลช่างของชาวภาคเหนือ มิใช่เป็นพระพุทธรูปแบบลังกา ตามที่มีกล่าวไว้ในประวัติหรือป้ายที่แจ้งเอาไว้เหนือประตูทางเข้าเลย

หอธัมม์ (หอไตร)


ศาสนสถานที่ก่อสร้างเพื่อเก็บรักษาคัมภีร์ทางพุทธศาสนา พระเจ้ากาวิละ เจ้าหลวงเชียงใหม่ โปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ.2385 และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ พ.ศ.2469 ด้วยพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นหอที่สมส่วนงดงาม มีสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ผนังตกแต่งด้วยปฏิมากรรมปูนปั้น เทวดา 16 องค์ ในอริยาบทการยืนที่แตกต่างกันบริเวณท้องไม้ประดับด้วยปูนปั้น รูปสัตว์หิมพานต์อยู่ในกรอบทรงสี่เหลี่ยม จำนวน 75 ตัว ประกอบด้วยสิงโตจีน มอง สิงห์ เงือก ช้าง กวาง กิเลน ปลา เหมราช คชสีห์ นกยูง เสือ และนรสิงห์

หอไตรชั้นบนสร้างด้วยไม้ ผนังด้สนข้างเป็นฝาไม้ เข้าลิ้นปิดทึบ ประดับกระจกเป็นรูปดอกจันทน์ 8 กลีบ และลายหม้อ ปูรณฆฏะ เหนือประตูมีซุ้มโขง มีลวดลายปูนปั้นประดับ

หอธัมม์ วัดพระสิงห์ เป็นหอไตรที่งดงามแห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ศิลปกรรมและวัฒนธรรม

แจ่งและประตูเมือง

แจ่งศรีภูมิ

ศรีภูมิ แต่เดิมเรียกว่า สะหลีภูมิ หมายถึง ศรีของเมืองในอดีตใกล้มุม(แจ่ง) กำแพงเมืองนี้มีต้น นิโครธ (ไทร) ซึ่งถือเป็นสิริมงคลเป็นที่มาของเดชานุภาพ และความอุดมสมบูรณ์ของเชียงใหม่ มุมกำแพงนี้จึงได้ชื่อว่า แจ่งศรีภูมิ

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ระบุไว้อย่างจัดเจนว่า พญาเม็งรายเริ่มก่อกำแพงเมืองที่มุมเมืองนี้ก่อน จึงนับว่าเป็นมุมเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ภายหลังเชียงใหม่ตกเป็นเมืองของพม่า ระหว่างปี พ.ศ.2101 พ.ศ. 2317 รวมเป็นเวลา 200 กว่าปี และเป็นเมืองร้างต่อมาอีก 20 ปี กำแพงเมืองจึงทรุดโทรมเป็นอันมาก ในสมัยพระเจ้ากาวิละ จึงมีการบูรณะกำแพงเมืองขึ้นใหม่ ส่วนทรากกำแพงที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบันตามมุมเมืองทุกด้านนั้น เป็นป้อมที่หน่วยศิลปากรที่ 4 อนุรักษ์ไว้

แจ่งก๊ะต้ำ

ก๊ะต้ำ คือเครืองดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ในอดีตบริเวณแจ่งกำแพงเมืองด้านในเป็นที่ลุ่มมีคลองส่งน้ำมาจากแจ่งหัวลิน มาสิ้นสุดที่นี่ จึงมีสภาพเป็นหนองน้ำและมีปลาชุกชุม ชาวบ้านใช้ก๊ะต้ำจับปลา มุมกำแพงเมืองนี้จึงเรียกว่า แจ่งก๊ะต้ำ

แจ่งก๊ะต้ำ เป็นมุมเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง เยื้องโรงเรียนพาณิชยการเชียงใหม่ในปัจจุบัน

แจ่งกู่เฮือง

แจ่งกู่เฮือง หรือกู่เรือง หมายถึงที่บรรจุอัฐิของหมื่นเรือง ซึ่งเป็นผู้คุมขุนเครือ โอรสของพญาเม็งรายไว้ในเรือนขังบ้านหมื่นเรือง ระหว่าง พ.ศ.1864 - พ.ศ.1868 ป้อมที่แจ่งนี้บูรณะสมัยพระเจ้ากาวิละ ตั้งอยู่บริเวณทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับสวนสาธารณะหนองบวกหาดในปัจจุบัน

ความเป็นมาของแจ่งนี้ คือ เนื่องจากขุนเครือโอรสของพญาเม็งราย คิดกบฏชิงราชสมบัติจากพญาแสนภู (กษัตริย์ลำดับที่ 3 ในราชวงศ์เม็งราย) พญาแสนภูไม่ต่อสู่แต่หนีไปยังเมืองเชียงราย ซึ่งมีพระราชบิดาพญาไชยสงครามครองเมืองอยู่ พญาไชยสงครามให้ท้าวน้ำท่วมโอรสยกทัพมาปราบปราม และจับขุนเครือไปคุมขังที่มุมเมืองด้านนี้ และเรือนขังอยู่ในบริเวณบ้านหมื่นเรือง ต่อมาหมื่นเรืองได้เสียชีวิต จึงอาจมีการสร้างกู่บรรจุอัฐิของหมื่นเรืองไว้บริเวณนี้

แจ่งหัวลิน

หัวลิน หมายถึง จุดเริ่มต้นของการรับน้ำ ด้วยการผ่านรางน้ำ (ลิน) ในอดีตแจ่งกำแพงนี้เป็นที่รับน้ำจากห้วยแก้ว เพื่อนำมาใช้ในเมือง จึงเรียกมุมกำแพงนี้ว่า แจ่งหัวลิน

ที่ตั้งอยู่บริเวณทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง จุดเริ่มต้นของถนนสายห้วยแก้ว

ประตูท่าแพ

ประตูท่าแพ เดิมเรียก ประตูเชียงเรือก เพราะอยู่ใกล้หมู่บ่านเชียงเรือก สร้างในสมัยพญาเม็งรายเมื่อแรกตั้งเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.1839

ในอดีตชื่อประตูท่าแพนั้นเป็นชื่อ ประตูเมืองชั้นนอกประตูหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่แนวกำแพงดินหน้าวัดแสนฝาง สมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ (พ.ศ.2416 พ.ศ.2439) เรียกประตูท่าแพว่า ประตูท่าแพชั้นนอก และเรียกประตูเชียงเรือกว่า ประตูท่าแพชั้นใน ภายหลังรื้อประตูท่าแพชั้นนอก หลือแต่ประตูท่าแพชั้นใน จึงเรียกกันสั้นๆ ทุกวันนี้ว่าประตูท่าแพ

ประตูท่าแพในปัจจุบันนี้จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่และกรมศิลปากรได้บูรณะขึ้นเมื่อ พ.ศ.2528 พ.ศ.2529

ประตูช้างเผือก

ประตูช้างเผือกสร้างในสมัยพญาเม็งรายเมื่อแรกตั้งเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.1839 เดิมเรียก ประตูหัวเวียง เพราะถือกันว่า หัวของตัวเมืองเชียงใหม่อยู่ทางด้านนี้ ในพิธีราชาภิเษกกษัตริย์เชียงใหม่จะเสด็จเข้าเมืองทางประตูหัวเวียง รัชสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ.1928 พ.ศ.1944) มีการสร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือกขึ้นทางทิศเหนือของประตู ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นประตูช้างเผือก ประตูนี้มีการบูรณะขึ้นใหม่ ในสมัยพระเจ้ากาวิละ และครั้งหลังสุด พ.ศ.2509 พ.ศ.2512

เหตุที่ต่อมาเรียก ประตูช้างเผือก เนื่องจากอิทธิพลของรูปปั้นช้างเผือก 2 เชือก ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา (กษัตริย์ลำดับที่ 9 ของราชวงศ์เม็งราย พ.ศ.1928- พ.ศ.1944) โดยมหาดเล็กชื่อ อ้ายออบและอ้ายยีระยา เพื่อเป็นเกียรติประวัติในคราวที่ช่วยเหลือพญาแสนเมืองมาให้รอดพ้นจากอันตรายจากการโจมตีกับกองทัพสุโขทัย ในครั้งนั้นมหาดเล็กทั้งสองได้ผลัดกันแบกพญาแสนเมืองมา เปรียบได้กับหน้าที่ของช้าง จึงได้รับปูนบำเหน็จ เป็นที่ขุนช้างซ้าย ขุนช้างขวา ขุนช้างทั้งสองตั้งบ้านเรือน อยู่ทางใต้เชียงโฉม ด้านตะวันออก

สำหรับรูปปั้นช้างเผือก 2 เชือก ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นรูปปั้นที่สร้างขึ้นใหม่ ในสมัยพระเจ้ากาวิละ และตั้งชื่อว่า ปราบจักรวาล กับปราบเมืองมาร เป็นรูปปั้นที่สร้างไว้ทางหัวเวียงนอกประตูช้างเผือก

ประตูเชียงใหม่

ประตูเชียงใหม่ เป็นประตูด้านใต้ สร้างในรัชสมัยพญาเม็งรายเมื่อแรกตั้งเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.1839 เดิมใช้เป็นเส้นทางไปสู่เมืองลำพูน พระตูนี้บูรณะขึ้นใหม่สมัยพระเจ้ากาวิละประมาณ พ.ศ.2344 และสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งระหว่าง พ.ศ.2509 พ.ศ.2512

ประตูเชียงใหม่ไม่มีหลักฐานทางเอกสารที่กล่าวถึงความเป็นมาของชื่อประตูเมือง พบว่าในปี พ.ศ.2358 เรียกชื่อประตูนี้ว่าประตูเชียงยืน เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่ทราบเหตุผลที่เรียกเช่นนั้น

ศาสตราจารย์มณี พยอมยงค์ ให้ข้อสังเกตว่า อาจจะเป็นการตั้งชื่อเป็นที่ระลึกไว้ประตูหนึ่ง เป็นประตูนาเมือง เพราะทิศที่ตั้งประตูนี้เป็นทิศมนตรีเมือง

อาจารย์จินตนา มัธยมบุรุษ แสดงความคิดเห็นว่าก่อนที่พญาเม็งรายจะตั้งเมืองเชียงใหม่ พระองค์ครองเมืองอยู่ที่เวียงกุมกาม เมื่อย้ายจากเวียงกุมกามมาตั้งที่เมืองเชียงใหม่ ชื่อ เชียงใหม่ นี้แปลว่า เมืองใหม่ ผู้คนของเมืองทั้งสอง ก็จะเข้าเมืองทางประตูนี้จึงเรียกว่าประตูเชียงใหม่ เสมือนว่าพบประตูเชียงใหม่ ก็เท่ากับถึงเมืองเชียงใหม่แล้วนั่นเอง

ประตูแสนปุง

ประตูแสนปุง มีชื่อปรากฏหลักฐานครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2088 สมัยมหาเทวีจิระประภา แต่ไม่ทราบความหมายของชื่อนี้

ในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ (พ.ศ.2416 พ.ศ.2439) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ประตูสวนปุง ชาวเมืองใช้เป็นเส้นทางในการเคลื่อนศพออกจากตัวเมืองไปยังสุสาน ประตูนี้บูรณะขึ้นใหม่สมัยพระเจ้ากาวิละ ประมาณ พ.ศ.2344 และสร้างขึ้นใหม่ระหว่าง พ.ศ.2509 พ.ศ.2512

ประตูสวนดอก

ประตูสวนดอก สร้างขึ้นในรัชสมัยพญาเม็งราย เมื่อแรกตั้งเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.1839 ด้านนอกประตูนี้เดิมเป็นสวนดอกไม้พญากือนา เมื่อ พ.ศ.1914 พระองค์สร้างวัดขึ้นในบริเวณสวนดอกไม้เรียกว่าวัดสวนดอก ประตูนี้จึงชื่อว่าประตูสวนดอก ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ และสร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง พ.ศ.2509 พ.ศ.2512

อาจารย์ถิ่น รัติกนก ได้ให้ความเห็นว่าเป็น อุทียาสวนดอกพยอม ซึ่งปัจจุบันเหลือไม่กี่ต้นเท่านั้น (ปัจจุบันเมื่อมีการขยายถนนสุเทพ ได้มีการตัดออกไปและกลุ่มอนุรักษ์เรียกร้องไม่ให้ตัด ทางเทศบาลจึงย้ายต้นพยอมบางส่วนไปปลูกที่สวนหลวง ร.9 ) ในอดีตช่วงวันวิสาขบูชา ชาวเมืองจะเดินเท้าขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพและจะแวะเก็บดอกพยอมขึ้นไปด้วย

โบราณวัตถุที่สำคัญ

พระเสตังคมณี


มีชื่อเรียกสามัญว่า พระแก้วขาว เป็นพระพุทธรูปทำด้วนแก้วสีขาวขุ่น หินควอตไซท์ (หินเขี้ยวหนุมาน) ตามประวัติกล่าวว่า พระนางจามเทวีเป็นผู้นำมาจากเมืองละโว้ ตอนที่เสด็จมาครองเมืองลำพูน เมื่อคราวที่เมืองลำพูนได้เสียเมืองให้แก่พญาเม็งรายได้ทรงเห็นปาฏิหารย์ความศักดิ์สิทธิ์ ของพระพุทธรูปนี้ จึงได้ทรงศรัทธาเลื่อมใส นำมาเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ตลอดมา จนกระทั่งได้ทรงสร้างวัดเชียงมั่นขึ้นมาเป็นปฐมอารามของเมืองเชียงใหม่ จึงได้โปรดให้นำพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานไว้ที่วัดนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้

แต่มีระยะหนึ่งประมาณปีรัชกาลของพระไชยเชษฐาหรือเจ้าเชษฐวงศ์ (พ.ศ.2089 พ.ศ.2091) ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์เชียงใหม่ที่อยู่เมืองศรีสัตนาคุนหุต ได้นำเอาพระพุทธรูปที่สำคัญของเชียงใหม่หลายองค์ เช่นพระแก้วมรกต พระแก้วขาว พระพุทธสิหิงค์ ฯลฯ ไปบูชายังเมืองศรีสัตนาคุนหุต และย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เวียงจันทน์ ต่อมาเมื่อพม่าตีได้เมืองเชียงใหม่และเวียงจันทน์ จึงนำเอาพระแก้วขาวกลับมาไว้ที่วัดเชียงมั่นเหมือนเดิม เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเสด็จประพาสเมืองเชียงใหม่ ได้โปรดพระราชทานทองกาไหล่(เงินชุบทอง) หุ้มพระเศียรและฐานของพระแก้วขาวให้สูงขึ้นอีก พระแก้วขาวจัดเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นหลัง (ศิลปล้านนา)

พระศิลาปางทรมานช้างนาฬาคีรี


เป็นพระพุทธรูปที่ทำด้วยหินชนวนสีดำ ฝีมือสกุลช่างปาละของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ 13 18) แกะสลักตามคติเดิมของอินเดีย เป็นพระพุทธรูปปางหนึ่งแสดงตอนที่ทรงแผ่เมตตาให้กับช้างนาฬาคีรีที่กำลังเมามันจะเข้ามาทำร้ายพระองค์ มีผู้สันนิษฐานว่า พระภิกษุชาวลังกาเป็นผู้นำเข้ามาถวายพญาเม็งราย พญาเม็งรายจึงโปรดให้ประดิษฐานไว้ที่วัดเชียงมั่น

พระพุทธสิหิงค์


มีตำนานตามพระราชพงศาวดาร กล่าวความว่ามีการสร้างในลังกา ต่อมาได้มาอยู่ในสุโขทัย สมัยพ่อขุนรามคำแหง เมื่อขุนหลวงพะงั่วแห่งกรุงศรีอยธยาตีเมืองสุโขทัยได้ จึงอัญเชิญมาไว้ ณ กรุงศรีอยุธยา ต่อมาท้าวมหาพรหมได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ขึ้นไปถวายพญาแสนเมืองมาเจ้านครเชียงใหม่ ราว พ.ศ.1950 พระพุทธสิหิงค์ อยู่ที่เชียงใหม่ประมาณ 255 ปี ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้ โปรดให้เชิญมาไว้ที่กรุงศรีอยุธยาประดิษฐานในวัดพระศรีสรรเพชร จนเสียกรุงศรีอยุธยา

ถึงสมัยรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ เชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นของไทย แล้ว พม่าล้อมเมืองเชียงใหม่ กองทัพหลวงไปช่วยรบตีทัพพม่าแตก จึงเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับมากรุงเทพ ประดิษฐานพระราชมณเฑียร 1 พระราชทานนามว่า พระที่นั่งพุทไธสวรรค์

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่เป็นที่นับถือของคนไทยทั้งกรุงเทพ เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช ในปัจจุบันจึงปรากฏว่า มีถึง 3 องค์ด้วยกัน องค์หนึ่งอยู่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร องค์หนึ่งอยู่ที่หอพระพุทธสิหิงค์นครศรีธรรมราช อีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์เชียงใหม่

ลักษณะประจำพระอง๕ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ เป็นแบบสุโขทัย ส่วนที่นครศรีธรรมราช เป็นศิลปอยุธยา องค์ที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์เป็นศิลปแบบเชียงแสน รุ่นแรก จึงไม่มีลักษณะตามประวัติที่กล่าวว่าสร้างในลังกา สันนิษฐานว่าคงเป็นคนไทยคิดแต่งกันขึ้นมา

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

วันกองทัพอากาศ

วันกองทัพอากาศ
ทุกวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี

ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาเห็นว่าประเทศไทย จำเป็นจะต้องมีเครื่องบินไว้เพื่อป้องกันภัยการคุกคามที่จะเกิดขึ้นดังนั้น กระทรวงกลาโหมจึงตั้ง “แผนการบิน” การบินของไทยช่วงระยะเริ่มแรกนั้นมีนักบินเพียง 3 คน ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส ได้แก่ พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิก และร้อยโทหลวงทิพย์เกตุทัด ทั้งสามท่านได้สำเร็จการศึกษาแล้ว ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ตามลำดับคือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสานศิลปสิทธ์ และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต และทั้ง 3 ท่าน นี้ได้รับการยกย่องจากกองทัพอากาศให้เป็น “บุพการีของกองทัพอากาศ”

การบินไทยช่วงระยะเริ่มแรกนั้นมีเพียงนักบิน 3 คน และเครื่องบิน 8 ลำ โดยใช้สนามม้าสระปสร) เป็นสนามบินต่อมา ได้ย้ายมาที่ตำบลดอนเมือง เป็นที่ตั้งสนามบินแห่งใหม่ เนื่องจากมีความเหมาะสม และความสะดวกมากกว่า ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2457 กระทรวงกลาโหมได้ยกแผนกการบินขึ้นเป็น “กองบินทหารบก” ดังนั้นกองทัพอากาศจึงกำหนดให้วันที่ 27 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันที่ระลึกกองทัพอากาศ” กระทรวงกลาโหม ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อจากกรมอากาศยานทหาร เป็น “กรมทหารอากาศ” ในปี พ.ศ.2464 และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “กรมทหารอากาศ” นอกจากนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบจากสีเขียวเป็นสีเทา และมีการกำหนดยศทหาร

ต่อมาการทหารอากาศได้ยกฐานะเป็น “กองทัพอากาศ” โดยมีผุ้บัญชาการทหารคนแรกแห่งกองทัพอากาศคือ นาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ กองกำลังทางอากาศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติ ในการเข้าร่วมรบในสงครามต่างๆ และการเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2460 ทำให้ประเทศชาติ ได้รับเกียรติยกย่องเป็นอันมาก ดังนั้นราชการจึงได้ยกฐานะ “กองบินทหารบก” เป็นกรมอากาศยานทหารบก นอกจากการพัฒนากองกำลังในด้านการสงครามแล้วนั้น กองกำลังทางอากาศได้มีการพัฒนาประเทศชาติในกิจการหลายๆ ด้าน เช่น การบิน ส่งไปรษณีย์ทางอากาศ การส่งแพทย์และเวชภัณฑ์ทางอากาศ เป็นต้น

วันน้ำของโลก

วันน้ำของโลก
ทุกวันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี

วันน้ำของโลก (World Day for Water หรือชื่อที่ไม่เป็นทางการคือ World Water Day) ตรงกับวันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี เนื่องจากองค์การสหประชาชาติ ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้น ในปี ค.ศ.1992 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันน้ำของโลก” หรือ “World Day for Water” เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก

อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวล มนุษยชาติ ในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ และการพัฒนาแหล่งน้ำ ตลอดจนดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมสหประชาชาติปี 1992 ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า Agenda 21 จัดโดยองค์การน้ำแห่งสหประชาชาติ (UN Water) ซึ่งในแต่ละปีจะมีหน่วยงาน ในสังกัดองค์การสหประชาชาติรับผิดชอบในการร่วมจัดงาน
สารบัญ

ความเป็นมา

จากการที่น้ำจืดของโลกขาดแคลนมากขึ้น ในปี พ.ศ.2535 สมัชชาสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันน้ำของโลก” หรือ “World Day for Water” โดยเริ่มต้นในปี 2536 เป็นปีแรก และชักชวนให้ประเทศต่างรับเป็นวันสิ่งแวดล้อมของชาติ เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ ช่วยกันดูแล บำรุงรักษา การพัฒนาแหล่งน้ำ และจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืนสำหรับอนาคต ตลอดจนดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมสหประชาชาติปี 2535 ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า Agenda 21

การจัดกิจกรรมการประชุมระหว่างประเทศ

มีการจัดกิจกรรมการประชุมระหว่างประเทศ ว่าด้วยเรื่องน้ำของโลกขึ้นที่ประเทศ ต่างๆ ดังนี้

ครั้งที่ 1: ปี 2540 ณ ประเทศโมร็อกโก
ครั้งที่ 2: ปี 2543 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ครั้งที่ 3: ปี 2546 ณ ประเทศญี่ปุ่น

ในการประชุมหนแรกนั้น ผู้เข้าประชุมได้ร่วมกำหนด “หลักจริยธรรมในการใช้น้ำครั้งใหม่”เพื่อต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนน้ำโลกดัง นั้น การประชุมน้ำโลกในครั้งที่สองจึงเป็นการสานต่องานที่ทำค้างไว้ โดยจะมีการผลักดัน “แผนปฏิบัติการ” สำหรับน้ำในอีก 25 ปีข้างหน้า เพื่อทำให้ชาวโลกมีน้ำสะอาดไว้ดื่มกิน ชำระร่างกาย และทำการเกษตรอย่างทั่วถึงในปี 2568 ผู้รับหน้าที่ทำงาน คือ “คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยน้ำสำหรับศตวรรษที่ 21″ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงปารีส ฝรั่งเศส คณะกรรมาธิการชุดนี้ตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มการลงทุนในการจัดหาน้ำทั่วโลกขึ้นเป็นปีละ 180,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติได้มีสารเนื่องในวันน้ำโลก

โดยย้ำว่า “น้ำสะอาดเป็นสิ่งพิเศษ ในศตวรรษใหม่นี้ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถผลิตน้ำได้ น้ำจึงไม่มีสิ่งใดมาแทนที่ หรือทดแทนได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเห็นคุณค่าของน้ำและรักษาทรัพยากรนี้ไว้ “ เลขาธิการยูเอนยังได้เรียกร้องให้ประชาคมโลกใช้น้ำอย่างรับผิดชอบ เพื่อให้คนจนและคนรวยได้รับน้ำอย่างเท่าเทียมกัน ในราคาที่หาซื้อได้ และว่าสิ่งท้าทายของมนุษยชาติก็คือ การจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์น้ำ คุณภาพของน้ำ และปริมาณน้ำ ซึ่ง “สตรีเพศ” ในฐานะผู้จัดการครอบครัวจะต้องมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้

นอกจากนี้จะต้องมีการสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นทั่วโลกว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญ และมีบทบาทในการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นชาวโลกต้องยกระดับความรู้ในเรื่องการหมุนเวียนนำน้ำมาใช้ใหม่ และการเพิ่มสมรรถวิสัยต่อการจัดการทรัพยากรน้ำที่หายากนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะบรรลุผลได้ด้วยการดึงสติปัญญาของมนุษย์ออกมมาใช้ และส่งเสริมวัฒนธรรมการอนุรักษ์น้ำ ตลอดจนการ “ปฏิวัติสีน้ำเงิน”

หน่วยงานของสหประชาชาติ

หน่วยงานของสหประชาชาติมี 2 แห่ง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องน้ำโดยตรง คือ
1. องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนับเอเชียและแปซิฟิก (เอสเคป)

ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำทั่วโลก ซึ่งน่าสนใจและมีหลายเรื่องที่คนทั่วยังไม่รู้และนึกไม่ถึง กล่าวคือ ยูเนสโกและ เอสเคประบุว่า พื้นผิวโลก2ใน3ปกคลุมด้วยน้ำแต่เป็น “น้ำเค็ม” จากทะเลและมหาสมุทรทั้งหมด ส่วน “น้ำจืด” ซึ่งจำเป็นต่อการยังชีพของมนุษย์นั้น ครอบคลุมเพียงร้อยละ 1 ของผิวโลกเท่านั้น แต่ “แหล่งน้ำจืด” ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณขั้วโลกเหนือ,ใต้และธารน้ำแข็ง หรือซึมอยู่ใต้ผิวดินลึก จนมนุษย์ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ส่วนแหล่งน้ำจืดที่ใช้ได้จริงๆมีเพียงร้อยละ 0.25 เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่หาได้จากแม่น้ำ ทะเลสาบ และแหล่งน้ำใต้ดิน

แหล่งน้ำจืดเพียงน้อยนิดนี้เองที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงชีวิต พลโลกกว่า 6,000ล้านคน ซึ่งแน่นนอนว่าย่อมไม่เพียงพอ ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำของมนุษย์กลับมีมากขึ้นทุกวัน และมีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่บันยะบันยัง ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของน้ำจืด จนตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายอย่างยิ่ง ยูเอนได้ยกตัวอย่างพฤติกรรมการใช้น้ของมนุษย์ว่า ในแต่ละวันมนุษย์ต้อง

  • ดื่มน้ำอย่างน้อย 2-5 ลิตร
  • ใช้ชักโครกโถส้วม 5-15 ลิตร
  • ใช้อาบน้ำ 50-200 ลิตร
  • ใช้น้ำเพื่อการชลประทานและการเกษตร ราวร้อยละ 70 ของน้ำทั้งหมด แต่ครึ่งหนึ่งต้องสูญเปล่าเพราะซึมลงไปในดินหรือไม่ก็ระเหยขึ้นสู่อากาศหมด

กรุงเทพมหานครของไทย ได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่เมืองที่ผลาญทรัพยากรน้ำมากที่สุดในโลก เฉลี่ยแล้วใช้น้ำราว 265 ลิตรต่อคนต่อวัน ขณะที่ชาวฮ่องกงใช้น้ำเปลืองน้อยที่สุดในโลก เพียง 112 ลิตร ต่อคนต่อวัน

การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่รับผิดชอบทำให้การไหลเวียนของ แม่น้ำหยุดชะงักลง ระดับน้ำในแม่น้ำและน้ำใต้ดินลดลงอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มดินเปียกหายไป สภาพปนเปื้อนพิษจากมลพิษต่างๆทำให้คุณภาพน้ำลดลง จำนวนน้ำสะอาดก็ลดลงเช่นกัน นอกจากนี้การขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากรโลกก็มีส่วนทำให้จำนวนน้ำจืด สำหรับใช้ในรายบุคคลลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ที่น่าเป็นห่วงคือ น้ำที่ปนเปื้อนมลพิษและขาดสุขลักษณะ เป็นสาเหตุทำให้เด็กทารก ในเอเชียและแปซิฟิกเสียชีวิตกว่าปีละ 5 แสนคน นอกจากนี้สถิติของสหประชาชาติเมื่อสิ้นปี2542 พบว่ามีประชากรโลกราว 2,400ล้านคน ไม่ได้รับความสะดวกสบายจากระบบสุขอนามัยเกี่ยวกับน้ำที่ทันสมัย หน่วยงานของสหประชาชาติได้เสนอแนะทางออกในปัญหานี้หลายข้อ อาทิ การอนุรักษ์น้ำ, การบำบัดน้ำเสีย, การปรับเปลี่ยนหมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ใหม่, การจัดการเรื่องน้ำและดินให้เหมาะสม , การทำวิจัยแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่, ออกกฎหมายการใช้น้ำที่ทันสมัย, การจัดสรรน้ำอย่างเสมอภาค และการปลุกจิตสำนึกในหมู่ประชาชนให้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของน้ำ ยิ่งกว่านั้น การแก้ปัญหาเรื่องน้ำยังต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ตัวบุคคล, องค์กร, อาสาสมัคร, ภาคอุตสาหกรรม, รัฐบาลท้องถิ่น, รัฐบาลกลาง ตลอดจน องค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

และในการประชุมครั้งที่ 3 ณ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยได้เป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวร่วมกับประเทศ อื่นๆ อีกประมาณ 200 ประเทศ

การประชุมครั้งนี้ รัฐบาลไทยจะมีส่วนร่วมที่สำคัญในการประชุม 3 ประการได้แก่

* 1. การเสนอรายงานโครงการประเมินสถานการณ์น้ำของโลกในส่วนของประเทศไทยกรณี ศึกษาการพัฒนาและบริหารลุ่มน้ำเจ้าพระยา
* 2. การเสนอแผนปฏิบัติการทรัพยากรน้ำ ของประเทศไทย
* 3. การประชุมและจัดทำแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรี

ในการประชุมระดับโลกทุกครั้งที่ผ่านมา สถาบันการจัดการน้ำระหว่างประเทศหรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่มีบทบาท เป็นผู้สนับสนุนการประชุมดังกล่าว อาทิเช่น World Water Council (WWC), Clobal Water Partnership (GWP) และธนาคารโลก ต่างใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอทิศทางหรือการจัดทรัพยากรน้ำและการแบ่งปันผล ประโยชน์ (Water Resources Management and Benefit Sharing) โดยมีประเด็นใจกลาง 4 ประเด็น ได้แก่

  1. หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ เอกชน (Public Private Partnership)
  2. เขื่อนกับการ Development Partnership)
  3. ค่าคืนทุน (Cost Recovery)
  4. การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (Integrated Water Resources Management)

ซึ่งสรุปในแต่ละประเด็นได้ดังนี้

การแปรรูปกิจการประปาหรือระบบชลประทานของรัฐ (Privatization) ภายใต้แนวทาง ที่เรียกว่า Public Private Partnership (PPP) ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกผลักดันจากการประชุมระดับนานาชาติมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น การประชุมเรื่องน้ำจืดโลกที่กรุงบอน เดือนธันวาคม 2544 หรือ การประชุมที่โจฮันเนสเบิร์ก แนวทางเช่นนี้ถูกใช้เพื่อรองรับความชอบธรรมให้บริษัทข้ามชาติด้านกิจการน้ำ ประปาเข้ามา ลงทุนหรือรับสัมปทานในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ซึ่งในหลายประเทศได้เกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมสูงมาก เช่น ประเทศโบลิเวีย

แนวความคิดในเรื่องการคิดค่าคืนทุนระบบชลประทานหรือระบบ การลงทุนด้านการจัดหาน้ำเพื่อเป็นหลักประกันให้กับบริษัทที่มาลงทุนในแต่ละ ประเทศ และการส่งเสริมระบบการค้าเสรีของโลก การส่งเสริมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในรูปแบบของเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และเพื่อการบรรเทาน้ำท่วม ซึ่งผลักดันโดย UNDP ได้จัดทำโครงการ Dam and Development Partnership และ World Commission on Dam (WCD) การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ หรือ Integrated Water Resources Management (IWMI) โดยมีแนวทางให้เกิดองค์กรระดับลุ่มน้ำ เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด (โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ)

วันอาสาสมัครสาธารณสุข

ความเป็นมางานสาธรณสุขมูลฐานเกิดขึ้นหลังจากมีคำประกาศปฎิญญาสากลเมื่อ ปี2521 ว่าประชาชนมีสิทธิและหน้าที่ที่จะให้ความร่วมมือทั้งรายบุคคลและเป็นคณะ เพื่อห้บรรลุสภาวะสุขภาพดีถ้วนหน้าภายในปี2543 องค์การอนามัยโลกได้จัดสรร ทรัพยากร เพื่อสนับสนุนงานสาธรณสุขซึ่งดำเนินโดยชุมชนหรือที่เรียกว่าสาธรณสุขมูลฐาน สมัครสาธรณสุขประจำหมู่บ้านนั้นมาดัดแปรงมาจากความคิดนี้มีโครงการทดลองที่ จังหวัด พิษณุโลก ซึ่งนายแพทย์ สมบูรร์ วัชโรทัย ได้ทำไว้โดยคัดเลือกชาวบ้านบางคนมาทำการฝึกอบรม ให้ทำการรักษาพยาบาลอย่างง่ายๆ ในระยะแรกๆพบอุปสรรคทางสถาบันการศึกษากล่าวว่าเป็นการสร้างหมอเถื่อนจึงรวบ รวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่คล้ายๆ กันนำเสนอความคิดเรื่องอาสาสมัครเข้าสู่การวางแผนระดับชาติ โดยมีการประชุมปรึกษากันหลายครั้ง ในที่สุดก็ได้รับความเข้าใจทุกฝ่าย
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2522 คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้เปลี่ยนคำ ว่า การสาธารณสุขเบื้องต้น เป็นสาธารณสุขมูลฐาน ดังนั้นอาสาสมัคร(อสม)จึงถือว่า

วันที่ 20 มีนาคม 2522 เป็นวันอาสาสมัครสาธารณสุขด้วย

กิจกรรม
จัดให้มีการประกวดเพื่อคัดเลือก อสม ดีเด่น และจัดนิทรรศการเกี่ยวกับงานสาธารณสุขมูลฐาน

NT>สำนักงานสาธารณสุขมูลฐานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มโครงการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในปี พ.ศ.2520 ในระยะแรกเป็นไปในลักษณะโครงการทดลองใน 20 จังหวัด โดยดำเนินการทดลองในทุกอำเภอ อำเภอละ 1 ตำบลซึ่งตำบลที่เข้าไปดำเนินการต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. เคยดำเนินการอบรมผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข (ผสส.) หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)มาแล้ว
  2. สะดวกต่อการเข้าไปนิเทศงานและประเมินผล
  3. มีสถานีอนามัยและมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ

วัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่

  1. เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพกันเองด้วยวิธีที่ง่ายประหยัด และทั่วถึง
  2. เพื่อช่วยบรรเทาภาวะขาดแคลนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในชนบท
  3. เพื่อแก้ไขปัญหารักษาพยาบาลหรือดูแลรักษาสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน

ผู้ที่จะเข้ามาเป็นอาสาสมัครในการดูแลสุขภาพอนามัยของเพื่อนบ้านโดยมิหวังผล ตอบแทนใดๆ เรียกว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. มีความสมัครใจที่จะทำงานเพื่อส่วนรวมด้วยความเสียสละ และมีเวลาพอที่จะช่วยเหลือชุมชน
  2. มีความรู้อ่านออกเขียนได้
  3. เป็นผู้ที่ชาวบ้านไว้วางใจ
  4. มีที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพในหมู่บ้านนั้น ๆ
  5. มีอาชีพแน่นอนและมีรายได้เลี้ยงตนเอง
  6. ตั้งบ้านเรือนอยู่ในสถานที่ที่ประชาชนไปติดต่อได้ง่าย
  7. ไม่จำกัดเพศ และไม่จำกัดอายุ
  8. ไม่ควรเป็นข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

มะลิ

มะลิเป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางบางชนิดก็มีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดียวแตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือตามง่ามใบดอกเล็กสีขาวมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่1เมล็ดนอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธ์

พันธ์ดอกมะลิ

มะลิลา เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย

มะลิลาซ้อน เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี

มะลิถอด ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.

มะลิซ้อน เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี

มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอกดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม

มะลิทะเล เป็นไม้รอเลื้อย ดอกเป็นกระจุก ๆ หนึ่ง มี 5-6 ดอก กลิ่นหอมฉุน

มะลุลี มะลุลีเป็นพันธุ์ไม้สกุลเดียวกับมะลิอีกชนิดหนึ่งที่มีดอกหอม มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น มะลิพวง มะลิเลื้อย มะลิซ่อม เป็นไม้รอเลื้อยกระจายพันธุ์อยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขนเห็นเด่นชัดเช่นกัน ใบและรูปแบบตลอดจนการจัดเรียง คล้ายมะลิอื่น ๆ แต่ใบมีขนเห็นเด่นชัด เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม ใบดกมาก จะออกดอกมากเป็นพิเศษประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ จึงปลูกคลุมซุ้มไม้ได้ดี ดอกเป็นช่อ แน่นตามปลายกิ่งและซอกใบ มีสีขาว แต่ละช่อมีมากกว่า 10 ดอกขึ้นไป จึงเห็นเป็นช่อใหญ่สวยงาม มีขนนุ่มๆ โดยเฉพาะที่กลีบเลี้ยงซึ่งเป็นแฉกแหลมๆ ลักษณะของดอกคล้ายมะลิลา แต่กลีบแคบยาวและปลายแหลมกว่า ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2.5-3 ซม. ใช้ทั้งช่อเป็นดอกไม้บูชาพระ กลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน คล้ายกลิ่นมะลิวัลย์

มะลิเลื้อย ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินยาวประมาณ 1 ฟุต ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่นมาก

มะลิวัลย์หรือมะลิป่า เป็นไม้เลื้อย ลำเถาเล็กเกลี้ยง ใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ดอกเป็นช่อเล็กเพียง 1-2 ดอก ตรงซอกใบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-3 ซม. กลีบแคบและเรียวแหลม ดอกมีกลิ่นหอมแต่ร่วงเร็ว ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง ปลูกตามซุ้ม หรือพันรั้วก็ได้ มะลิวัลย์ชนิดนี้มีลำเถายาวและเลื้อยพันได้เป็นระยะทางไกลๆ แต่ดอกไม่ดก จึงไม่เป็นที่สะดุดตาเหมือนมะลิป่าชนิดอื่นๆ

พุทธิชาติ เป็นไม้รอเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวแต่ใบด้านล่างลดขนาดลงมากจนมีลักษณะคล้ายหูใบ ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่งและข้างกิ่ง ดอกสีขาว ปลายกลีบมน ก้านดอกยาว

ปันหยี ต้นเป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับมะลิวัลย์ ใบเดี่ยว การออกของใบเช่นเดียวกันแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ใบเป็นมันสีเขียวเข้มหนาและแข็ง ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวกลีบดอกใหย่กว่ามะลิวัลย์ กลีบดอกกว้างและมน ดอกชั้นเดียว ขนาดดอก 4-4.5 ซม. กลิ่นไม่หอม

เครือไส้ไก่ ไม้เถา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือกลม ดอกช่อแบบช่อแยกแขนง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาว มีกลิ่นหอม ผลสด รูปทรงกลมหรือรี ผลสุกสีดำ

อ้อยแสนสวย เป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนสีม่วงแดง ไม่มีขน กิ่งแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ก้านใบสีม่วง ดอกออกเป็นช่อมี 8 ดอก ดอกกลางบานก่อน ก้านดอกยาว กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบมน

มะลิเขี้ยวงูเป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งก้านมาก ไม่มีขน ใบออกเป็นช่อคล้ายใบแก้ว แต่บางกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอก ก้านดอกเป็นหลอดสีแดงอมม่วง กลีบดอกขาว กลิ่นหอมจัด

ประโยชน์

มะลินอกจากจะเก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง และในดอกมะลิมีส่วนที่เป็นน้ำมันอยู่ 0.2-0.3% ดอกมีรสเผ็ด หวาน ฤทธิ์อุ่น ส่วนรากมีรสขม ฤทธิ์อุ่น มีพิษ
ดอก มีสรรพคุณแก้อาการท้องร่วง ตาแดง
ราก เป็นยาแก้ปวด ทำให้ชา ฟันผุ ฟกช้ำ นอนไม่หลั

สรรพคุณ

เยื่อตาขาวอักเสบ หรือตาแดง : ดอกมะลิสดล้างให้สะอาด ต้มจนเดือด สักครู่ นำน้ำที่ได้ใช้ล้างตา

ปวดกระดูก ปวดกล้ามเอ็น : รากมะลิสดทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจนร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด

ปวดฟันผุ : รากมะลิตากแห้งบดเป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุกแล้วจนได้ยาเหนียวข้น ใส่ในรูฟันผุ

ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ รากมะลิมีพิษ ไม่ควรใช้รับประทานหรืออาจใช้แต่น้อย เช่น ใช้รากมะลิสดไม่เกิน 1.5 กรัม ฝนกับน้ำใช้ดื่มแก้อาการนอนไม่หลับ

มะลิซ้อน ดอกสด ใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัด
ดอกแห้ง ใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น
ใบสด นำมาตำให้ละเอียดจะช่วยรักษาแผลพุพองและแผลฝีดาษ
ต้น ใช้รักษาโรคคุดทะราด ขับเสมหะและนำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้องหิต
ราก นำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้อง
มะลิวัลย์ ราก ใช้เป็นยาถอนพิษต่าง ๆ ได้