วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันสหประชาชาติ


วันสหประชาชาติ
วันสหประชาชาติ 24 ตุลาคม ของทุกปี
               เพื่อระลึกถึงวันที่องค์การสหประชาชาติ (UNITED NATIONS) ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 การก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นเพื่อนำสันติภาพมา สู่โลก อีกทั้งให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ให้กับประเทศสมาชิก ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 184 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ประเทศไทยเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 เป็นสมาชิกลำดับที่ 55
ความเป็นมาวันสหประชาชาติ
                องค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations – UN ก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482 – 2488) โดยความร่วมมือของนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ คือ นายวินสตัน เชอร์ชิล ( Winston Churchill ) และประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คือ นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) เนื่องมาจากเหตุผล 3 ประการ ได้แก่
  • ระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศคู่กรณีด้วยสันติวิธี
  • เป็นแกนกลางในการนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลก
  • เป็นศูนย์กลางความร่วมมือช่วยเหลือ ระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
               องค์การสหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก (New York) ประเทศสหรัฐอเมริกา (The United State of America) การประชุมเพื่อจัดตั้งองค์การสหประชาชาติมีทั้งหมด 5 ครั้ง ได้แก่
  1. เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2484 บนเรือออกุสตา (Augusta) ในมหาสมุทรแอตแลนติก
  2. เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 ณ กรุงมอสโก
  3. เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ณ คฤหาสน์ลัมเบอร์ตันโอคส์ ( Lumberton Laks ) กรุงวอชิงตัน
  4. ?เมื่อวันที่ 4 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ณ เมืองยัลตา (Yalta) แหลมไครเมีย สหภาพโซเวียต
  5. เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ณ นครซานฟรานซิลโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งครั้งนี้มีการลงนามเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 ให้ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ
องค์กรณ์ขององค์การสหประชาชาติ
              องค์การสหประชาชาติ ได้จัดแบ่งการบริการออกเป็นองค์กรต่างๆ 6 องค์กร ดังนี้
สมัชชา(General Assembly)
             คือ สมาชิกขององค์การสหประชาชาติทุกประเทศต้องเป็นสมาชิกสมัชชาด้วย สมัชชาจะจัดให้มีการประชุมสมัยสามัญในวันอังคารที่ 3 ของเดือนกันยายน และอาจมีประชุมสมัยพิเศษขึ้นตามโอกาสที่เหมาะสม ในการประชุมแต่ละครั้งประเทศสมาชิกมีสิทธิส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมได้ แต่ต้องไม่เกิน 5 คน แต่ละประเทศมีสิทธิ์ออกเสียงได้ประเทศละ 1 เสียง สมัชชาจะประกอบไปด้วยประธานสมัชชา 1 คน รองประธานจำนวน 17 คน โดยจะคัดเลือกจากทวีปยุโรป 3 คน อเมริกาใต้ 3 คน เอเชียและแอฟริกา 7 คน และประเทศที่เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงจำนวน 5 คน (ถ้าประธานมาจากพื้นที่ใด รองประธานจากเขตนี้นต้องลดลงจำนวน 1 คน)
คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council)
            หน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคง คือ การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถใช้กำลังทหารในการระงับข้อพิพาทกรณีนั้นได้ รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สอบสวนกรณีพิพาทหรือสาเหตุอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางด้านสันติภาพของโลก คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ มีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน และสมาชิกเลือกตั้งอีก 10 ประเทศ และอยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council)
            มีหน้าที่ประสานงานให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม ระหว่างสมาชิกประเทศ มีสมาชิกจำนวน 54 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้ง ละ 3 ปี
คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council)
            มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและดูแลการบริหารงานดินแดนที่อยู่ในภาวะ ทรัสตี สมาชิกและคณะมนตรีภาวะทรัสตีนี้ได้แก่ ประเทศที่ทำหน้าที่ปกครองดินแดนในภาวะทรัสตี สมาชิกประจำคณะมนตรีความมั่นคงและสมาชิกอื่น ๆ ที่เลือกตั้งโดยสมัชชา คณะมนตรีภาวะทรัสตีได้ดำเนินนโยบายที่จะให้ประเทศที่อยู่ในภาวะทรัสตีสามารถ ประกาศตนเป็นเอกราชได้และสามารถทำสำเร็จมาแล้วหลายประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในทวีปแอฟริกา
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (Intermational Court of Justice)
             มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีพิพาททางกฎหมายระหว่างประเทศ และให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นๆ ในองค์การสหประชาชาติ เช่น ศาลโลก คณะมนตรีความมั่นคง สำนักงานของศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศตั้งอยู่ที่ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี โดยการคัดเลือกจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่ ร่วมกับคณะมนตรีความมั่นคง
สำนักงานเลขาธิการ (The Secretariat)
            มีหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารและธุรการขององค์กรต่างๆ ในองค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีบทบาท สำคัญในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง และปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลก มีเลขาธิการเป็นผู้บริหารงาน อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 5 ปี โดยการแต่งตั้งจากมีประชุมสมัชชาใหญ่
สำนักเลขาธิการประกอบด้วยองค์กรย่อยดังต่อไปนี้
  1. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ United Nations Children’s Fund – UNICEF ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2489 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กกำพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการรณรงค์ให้รัฐบาลและบุคคลทั่วไปตระหนักในสุขภาพความเป็นอยู่ และการเจริญเติบโตของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ รวมถึงสนับสนุนโครงการสำหรับเด็กทั่วโลกองค์การยูนิเซฟเคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2508
  2. สถาบันฝึกอบรบและวิจัยของสหประชาชาติ United Nations Institute for Training and Reserch – UNITAR
  3. โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ United Nations Development Programme – UNDP ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนประเทศที่กำลังพัฒนาให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
  4. ดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ
  5. ดำเนินการในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการลดของเสียและเศษขยะ รวมถึงการสนับสนุนพัฒนาการวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
  6. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการขจัดความยากจนให้หมดไป โดยการส่งเสริมทักษะทางวิชาชีพ
  7. ที่ประชุมว่าด้วยการค้าและพัฒนาการแห่งสหประชาชาติ United Nations Conference on Trade and Development – UNCTAD
  8. องค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ United Nations Industrial Development Organization – UNIDO ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในฐานะหน่วยงานหนึ่งในองค์การสหประชาชาติเพื่อเร่งรัดพัฒนาอุตสาหกรรม และได้ยกฐานะขึ้นเป็นองค์การพัฒนาฯ เมื่อปี พ.ศ. 2529
  9. สำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ United Nations High Commissioner for Refugee – UNHCR ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2494 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ต้องลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่อยู่นอกประเทศ เนื่องจากเกิดความหวาดกลัวอย่างมีเหตุผลเพียงพอว่าจะถูกประหัตประหาร เพราะความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติของสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเพราะความคิดเห็นทางการเมือง เป็นผู้ซึ่งไม่อาจหรือไม่ยินดีรับความคุ้มครองจากประเทศนั้น ๆ ไม่ยินดีกลับไปเพราะกลัวจะถูกประหัตประหาร
  10. ทบวงการบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ใน ตะวันออกใกล้ United Nations Relidf Works Agency for Palestine Refugees in the Near East – UNRWA
กิจกรรมในวันสหประชาชาติ
  • นิทรรศการเผยแพร่ผลงาน และการทำงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ
  • ประดับธงของสหประชาชาติในสถานที่ต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น