วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ที่มาของสัญลักษณ์ที่น่าสนใจ ^^

ภาพที่แนบมา
Toyota

โลโก้ของโตโยต้าเป็นรูป Ellipse หรือวงรี 2 วง วางซ้อนกันเป็นรูปตัว T และล้อมรอบด้วยรูปวงรีขนาดใหญ่อีก 1 วง หมายความว่า รูปวงรีเป็นรูปทรงทางเรขาคณิตซึ่งมีจุดศูนย์กลางหรือจุดโฟกัส 2 จุด โตโยต้านำรูปนี้มาใช้ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของการผนึกหัวใจ 2 ดวง เข้าด้วยกัน คือ หัวใจของผู้ใช้รถกับหัวใจของตัวสินค้า ส่วนพื้นที่ว่างซึ่งบรรจุอยู่ภายในวงรีวงใหญ่หมายถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งสามารถขยายตัวออกไปโดยไม่มีขอบเขต

ภาพที่แนบมา
Ferrari

เฟอร์รารี่ เจ้าของสมญานาม “ม้าลำพองจากเมืองมาราเนลโล” (The Prancing Horse From Maranello) โลโก้ของเฟอร์รารี่ แยกออกได้เป็นสามส่วนและแต่ละส่วนก็มีที่มาที่แตกต่างกัน กล่าวคือพื้นสีเหลืองเป็นสีประจำเมืองโมเดนา ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งของโรงงานเฟอร์รารี่ รูปม้ากำลังทะยานเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของ ฟรานเชสโค บารัคคา เสืออากาศสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนแถบสีเขียว-ขาว –แดง ที่พาดอยู่ตอนบนก็คือสีธงชาติอิตาลีนั่นเอง

ภาพที่แนบมา
BMW
โลโก้ของบีเอ็มดับบลิว มีลักษณะเป็นวงแหวนสีดำพร้อมตัวอักษร บีเอ็มดับบลิว – สีขาว ล้อมรอบพื้นที่วงกลม ซึ่งแบ่งออกเป็นสี่ส่วนเป็นสีขาวสองส่วนและสีฟ้าสองส่วน โดยมาจากลักษณะการหมุนของใบพัดเครื่องบิน เนื่องจากก่อนที่จะมาเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และจักรยานยนต์บีเอ็มดับบลิวเคยเป็นผู้ผลิตเครื่องบินมาก่อน ส่วนสีฟ้าและสีขาวก็เป็นสีประจำแคว้นบาวาเรียอันเป็นที่ตั้งของบริษัท ดังชื่อเต็มในภาษาเยอรมันว่า Bauerische Motoren Werke หรือ Bavaria Motor Works ในภาษาอังกฤษ ที่มาของชื่อ BMW นั่นเอง

ภาพที่แนบมา
Mercedes – Benz

ดาวสามแฉกที่ส่องประกายอยู่หน้ารถเบนซ์คันหรูทุกวันนี้ มีที่มาจาก นายกอตต์ลีบ เดมเลอร์ ผู้ก่อตั้ง Daimler Motoren Gesellschaft (DMG)ที่ต้องการจะสื่อว่า แฉกทั้งสามของดาว คือสัญลักษณ์ที่แสดงว่าเครื่องยนต์ของเขาสามารถเป็นเจ้ายานยนต์ได้ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โลโก้นี้ได้รับการออกแบบและจดทะเบียนขึ้นในปี 1909 จากนั้นในปี 1926 เมื่อ DMG และ Benz & Cie ได้ร่วมกิจการกัน จึงมีการออกแบบโลโก้ขึ้นใหม่ ดาวสามแฉกอันเลื่องชื่อของ DMG จึงถูกล้อมรอบด้วยชื่อ เมอร์เซเดส – เบนซ์ ซึ่งลือลั่นไม่แพ้กัน โดยมีช่อชัยพฤกษ์เป็นตัวเชื่อม



ภาพที่แนบมา
Fleur – de – lis

เฟลอร์เดอลีส์ เป็นสัญลักษณที่แปลงมาจากดอกลิลลี หรือดอกไอริส ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองฟลอเรนซ์ และชลีเร็นในสวิตเซอร์แลนด์ ในสหราชอาณาจักร์สัญลักษณ์ดอกลิลลีจะปรากฎในตราอาร์มอย่างเป็นทางการของนอร์รอยและอัลสเตอร์เป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว มันได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง ทางศิลปะ และทางการสืบเชื้อสาย โดยใช้เป็นตราประจำตระกูล นอกจากนี้ สัญลักษณ์ดอกลิลลีมักจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในทางประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นการใช้สัญลักษณ์นี้ก็ยังปรากฎในตราของพระมหากษัตริย์สเปน และในตราของแกรนด์ดยุคแห่งลักเซ็มเบิร์ก และของสมาชิกในราชวงศ์บูร์บอง ในทวีปอเมริกาเหนือสัญลักษณ์ดอกลิลลีมักจะใช้กับบริเวณที่เดิมเป็นที่ตั้งถิ่นฐานโดยชาวฝรั่งเศสเช่นในรัฐควิเบกในแคนาดา และรัฐลุยเซียนาในสหรัฐอเมริกา และในจังหวัดที่พูดภาษาฝรั่งเศสในแคนาดา แต่ปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นลวดลายสำหรับสินค้าแฟชั่นมากมาย

ภาพที่แนบมา
Swoosh

สัญลักษณ์ทำเงินติดอันดับโลกนี้ มีที่มาจากปีกของเทพีไนกี้ (Nike) เทพีแห่งชัยชนะของกรีก โดยมันมีชื่อว่า Swoosh ที่หมายถึง การทำเสียงหวือผ่านอากาศอย่างรวดเร็ว แต่ที่น่าทึ่งกว่านั้นคือ ต้นกำเนิดของสัญลักษณ์นี้

เมื่อ ฟิล ไนท์ เพิ่งก่อตั้งบริษัทรองเท้ากีฬาเล็กๆ ขึ้นในปี 1971 ด้วยงบอันน้อยนิด เขาได้จ้าง แคโรลีน เดวิดสัน นักเรียนการออกแบบคนนึง ฟิลให้เธอออกแบบโลโก้ที่ต้องการสื่อถึงความเร็วให้เข้ารองเท้ากีฬาของเขา แคโรลีนจึงออกแบบโลโก้มาจำนวนหนึ่ง แต่ฟิลก็ยังไม่ค่อยชอบใจ ใกล้เวลาที่ของต้องเอาโลโก้ไปพิมพ์บนรองเท้าเพื่อจัดจำหน่ายแล้ว เขาจึงต้องเลือกโลโก้ตัวใดตัวหนึ่งเขาบอกว่า I don’t love it, but it will grow on me, ประมาณว่า “อันที่จริงก็ไม่ได้รักอะไรมันมากมายนะ แต่สักวันนึงฉันน่าจะรักมันก็ได้” แล้วเขาก็จ่ายค่าโลโก้นี้ไป 35 เหรียญถ้วน คงไม่ต้องถามว่าปัจจุบันเขารักมันแล้วหรือยัง


ภาพที่แนบมา
Swastika

สวัสติกะเป็นกางเขนหรือกากบาทแบบหนึ่งที่ตอนปลายหักเป็นมุมฉาก อาจจะหันไปทางซ้ายหรือทางขวาก็ได้ การใช้สวัสติกะมีมาตั้งแต่ยุคหินใหม่ในบริเวณที่ปัจจุบันคืออินเดีย บางครั้งก็ใช้เป็นลายตกแต่งเรขาคณิต หรือใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาโดยเฉพาะในศาสนาทางตะวันออก เช่น ฮินดู, พุทธ และเซน (ภาษาสันสกฤ สวัสติกะหมายถึง ศิริมงคล, โชคดี, การดำรงอยู่ หรือ การมีชีวิต) แม้ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปแต่เมื่อนาซีเยอรมนีนำมาใช้ มันก็กลายเป็นสัญลักษณ์ต้องห้ามในโลกตะวันตก โดยสวัสติกะของฝ่ายนาซีจะมีปลายหักเป็นมุมฉากขวา และตัวสวัสติกะทั้งหมดจะเอียงทำมุม 45 องศากับแนวระนาบ หากสังเกตดูจะพบว่าเป็นรูปอักษรโรมันตัว S สองตัวซ้อนกัน ซึ่งย่อมาจากคำในภาษาเยอรมัน โดย S ตัวหนึ่งมาจากคำว่า “Stadt” แปลว่า บ้านเมือง และอีกตัวหนึ่งมาจากคำว่า “Sicherheit” แปลว่า ปลอดภัย




ภาพที่แนบมา
Heart


รูปโค้งนูนสองข้างด้านบน กับมีปลายแหลมตรงกลางด้านล้างนั้น คนทั่วโลกใช้เป็นสัญลักษณ์แทน “หัวใจ” เพื่อสื่อถึงความรัก สัญลักษณ์นี้พบว่ามีใช้กันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 แม้ เกล ก๊อด เจ้าของหนังสือ Heart : A Personal Journey Through Its Myths and Meanings กล่าวว่า มีการค้นพบสัญลักษณ์นี้ใบผนังถ้ำเก่าแก่ที่ประเทศสเปน อายุราว 10,000 ปีก่อนคริสตกาล และสันนิษฐานว่าคนที่สร้างสัญลักษณ์นี้ขึ้นมาเป็นกลุ่มแรกร่าจะเป็นพวกนายพรานยุโรป หลายคนเคยสงสัยว่ารูปทรงเช่นนี้เหมือนหัวใจตรงไหน ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนให้ความเห็นว่า รูปหัวใจนั้น ดูๆ ไปก็คล้ายกับสะโพกของคน บ้างก็ว่าคล้าย โยนี (Yoni) ซึ่งทั้ง 2 ความเห็นถือว่ามีความหมาย เพราะสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการสูง เช่น ลิง หรือ คน (primates) สะโพก รวมถึง ช่องคลอด เป็นส่วนที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ จึงเป็นไปได้ว่าสิ่งนี้อาจเป็นจุดกำเนิดหรือที่มาของรูปหัวใจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ส่วนการใช้สีแดงก็หมายถึงเลือดนั่นเอง

ภาพที่แนบมา
Peace

สัญลักษณ์สันติภาพ หรือที่เรียกว่า สัญลักษณ์ Nuclear Disarmament เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1958 จากการประท้วงต่อต้านสงครามและการเคลื่อนไหวเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ในประเทศอังกฤษ ทำให้สัญลักษณ์วงกลมล้อมรอบตัวอักษร N (uclear) และ D (isarmament) กลายเป็นเครื่องหมายแห่งสันติภาพที่แพร่หลายไปทั่วโลก เจอรัลด์ โฮลทัม ผู้ออกแบบเครื่องหมายเป็นหนึ่งในศิลปินที่เคลื่อนไหวต่อต้านสงครามมาโดยตลอด ให้เหตุผลว่าสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์จะถูกจดจำได้ง่ายกว่าข้อความ และวงกลมที่อยู่รอบนอกเป็นตัวแทนของ “โลก”


ภาพที่แนบมา
Red Cross

กากบาทแดง เป็นตราที่ได้รับอนุมัติให้ใช้อย่างเป็นทางการในเจนีวาเมื่อปี ค.ศ.1863 ที่มาของกากบาทนี้ก็คือ กางเขนเยซู นั่นเอง เพียงแต่ขาแต่ละข้างยาวเท่ากัน เพราะพระเยซูก็คือพระผู้ไถ่ คอยช่วยเหลือ รักษา ทุกคนด้วยความรัก ธงของกาชาดเป็นคนละธงกับกางเขนนักบุญจอร์จซึ่งเป็นธงชาติอังกฤษ, บาร์เซโลนา, ไฟรบวร์ก และสถานที่อื่นๆ เพื่อป้องกันการสับสนบางครั้ง กากบาทแดงจึงเรียกว่า “กางเขนกรีกแดง” (Greek Red Cross) ซึ่งเป็นคำที่ใช้ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกาในการบรรยายขององค์การกาชาด (กางเขนนักบุญจอร์จเป็นกางเขนที่ปลายกางเขนจรดขอบธงแต่กากบาทแดงของกาชาดเป็นกากบาท หรือ กางเขนลอยที่ปลายไม่จรดขอบธง) สภากาชาดให้กางเขนกาชาดเป็นสัญลักษณ์ของการรักษาพยาบาลเกือบทั่วโลก ยกเว้นประเทศในกลุ่มอิสลามที่ใช้พระจันทร์เสี้ยวสีแดง (Red Crescent) และดาราแห่งเดวิด (Star of David) สีแดงในอิสราเอล


ภาพที่แนบมา
Male – Female
สัญลักษณ์แทนเพศชายและเพศหญิงที่ใช้กันสากลทั่วโลกนี้ มีที่มาจากเทพเจ้ากรีกที่เป็นตัวแทนแห่งดวงดาวในระบบสุริยจักรวาลของเรา โดยเพศหญิงเปรียบเสมือนดาวศุกร์ ซึ่งดาวศุกร์ก็คือ เทพีวีนัส (Venus) เทพแห่งความรัก สัญลักษณ์เพศหญิงจึงได้มาจากลักษณะของ “กระจกมือถือ” ของวีนัส ส่วนเพศชายที่เปรียบเสมือนดาวอังคาร ก็คือ เทพมาร์ส (Mars) เทพแห่งสงคราม สัญลักษณ์เพศชายจึงได้มาจาก”โล่และหอก” ของเทพมาร์ส แม้จะไม่มีบันทึกถึงการเริ่มใช้สัญลักษณ์ทั้ง 2 นี้ แต่คาดว่ามันเริ่มเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น