วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

พระยาอนุมานราชธน




พระยาอนุมานราชธนหรือที่รู้จักกันดีในนามของ เสฐียรโกเศศ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์คนหนึ่งของเมืองไทย เป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ วรรณคดี ภาษาศาสตร์หรือแม้แต่ขนบเนียมประเพณีต่างๆของไทยและได้รับการยกย่องจากองค์ การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกทางวรรณศิลป์ อีกด้วยชีวประวัติ พระยาอนุมานราชธนเกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ที่อ.ยานนาวา กรุงเทพ เดิมชื่อหลีกวางหยง ต่อมาเปลี่ยน เป็นยงและได้รับพระราชทานนามสกุลว่า เสฐียรโกเศศ บิดาชื่อหลี มารดาชื่อ เฮียร ทั้งคู่เป็นคนไทยเชื่อสายจีน ท่านสมรสกับคุณ หญิงละไม มีบุตรธิดา 9 คนเด็กชายยงเริ่มหัดอ่านเขียนหนังสือกับบิดาตั้งแต่ 5-6ขวบเมื่ออายุ 10 ขวบได้เข้าเรียนที่ ร.ร บ้านยานนาวาพออายุ 12 ปี ก็ย้ายไปเรียนที่ ร.ร.อัสสัมชัญ และเริ่มเรียนภาษาอังกฤษที่ นี่ด้วย พอสอบได้ชั้น ม. 4 ทางบ้านก็ต้องให้ออกไปทำงานเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว ด้วยบิดามารดามี ฐานะไม่ดีนักและมีลูกหลานหลายคน ท่านเริ่มเข้าฝึกงานที่โอสถศาลา กลางวันทำงานกลางคืนไปเรียนภาษา อังกฤษต่อ ต่อจากนั้นได้ลาออกได้ไปงานที่โรงแรมโอเรียนเต็ลเมื่ออายุประมาณ 17 ปี ทำหน้าที่เสมียนและ พนักงานทั่วไป ได้เงินเดือนละ 60 บาทส่งให้ทางบ้าน 50 บาทเก็บไว้ใช้เอง 10 บาท นายยงทำงานที่ โรงแรมได้ 1 ปีได้ไปสมัครเข้าทำงานที่กรมศุลกากรในตำแหน่งเสมียนและด้วยความที่เป็นผู้มี ความสามารถและเอาใจใส่ในการงานจึงเจริญก้าวหน้าในการรับราชการมาตลอด ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนอนุมานราชธน เมื่ออายุ 23 ปีแล้วเป็นหลวงเป็นพระตามลำดับจนกระทั้งเมื่อ พ.ศ. 2467 เมื่ออายุ 36 ปี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอนุมานราชธน เมื่อ พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองและความผันผวนทางการเมืองขึ้นทำให้พระยาอนุมาน ราชธนต้องออกจากราชการในปี พ.ศ. 2476 ขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดีพระยาอนุมานราชธนเข้ารับราช การอีกครั้งหนึ่งในปีพ.ศ.2478 ในตำแหน่งหัวหน้ากองศิลปวิทยาการ กรมศิลปากร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2485 ได้ รับตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร และรับราชการจนครบเกษียณอายุเมื่อพ.ศ.2491 จึงออกรับบำนาญหลังจากออก ราชการแล้ว ท่านก็มิได้อยู่เฉยๆยังคงศึกษาค้นคว้าอยู่เสมอ และยังเขียนหนังสือมากมายนอกจากนี้ท่านได้ทำ การสอนในมหาลัยหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์ ธรรมศาสตร์ ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2512ผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ ผลงานนิพนธ์ของพระยาอนุมานราชธนมีมากกว่า ๒๐๐ เล่ม สุดที่จะนำมารวบรวมได้หมดในที่นี้ ได้แต่นำมาผลงานมาเรียงลำดับตามตัวอักษรอย่างหยาบ ผู้สนใจสามารถสืบค้นได้จาก บรรณานุกรมงานนิพนธ์ ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน และพระสารประเสริฐ เพิ่มเติมกถาสริตสาคร (สาครเป็นที่รวมกระแสนิยาย) กถาบิฐและกถามุข แปลจากกาพย์ภาษาสันสกฤต 2499กวนอิม 2505กามนิต โดย คาร์ล อดอล์ฟ เจเลอรูป แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย จอห์น อี โลกี แปลร่วมกับ นาคะประทีป 2503การเกิด 2531การตายการศึกษาเรื่องประเพณีไทย 2514การศึกษาเรื่องประเพณีไทยและชีวิตไทยสมัยก่อน 2515การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์ 2507การศึกษาศิลปและประเพณี 2517กำเนิดคน 2532กินโต๊ะจีน 2501ขวัญและประเพณีการทำขวัญขุมทรัพย์ของเด็กเรื่องคนมีประโยชน์ 2515ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีและเทพนิยายสงเคราะห์ 2531ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพราหมณ์ พุทธ และชิน ในแง่ประวัติศาสตร์ 2511คำแก้ว 2516คำสอนของพระพุทธเจ้า งานแปล 2475เครื่องราชูปโภคและเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ 25??ค่าของวรรณคดี 2503จดหมายจากพ่อถึงลูกจดหมายโต้ตอบระหว่างเสฐียรโกเศศ กับ ส. ศิวรักษ์ พร้อมด้วยประวัติและข้อเกี่ยวกับพระยาอนุมานราชธน 2514ชาติ-ศาสนา-วัฒนธรรม 2513ชีวิตของชาวนาชีวิตชาวไทยสมัยก่อน 2510ชีวิตพระสารประเสิรฐที่ข้าพเจ้ารู้จัก 2532เชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม 2498โซไรดา นางพญาแห่งทะเลทรายตำนานศุลกากร 2482แต่งงาน 2531ทศมนตรีเทศกาลลอยกระทง เล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ 2500เทศกาลสงกรานต์ 2525ไทย-จีนท้าววิศวามิตร 2512นานานีติ 2513นิยายเบงคลี 2515นิยายเอกของปาชานิรุกติศาสตร์ 2493บันทึกความรู้ 2502ประชุมเรื่องพระรามและแง่คิดจากวรรณคดี 2516ประติมากรรมไทย โดยศิลป พีระศรี งานแปล 2490ประเพณีเรื่องแต่งงานบ่าวสาวของไทย 2501ประเพณีการทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ 2500ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของชาวไทยเทศกาลสงกรานต์ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตแต่งงานประเพณีเก่าของไทย ๕ ประเพณีเนื่องในการตาย 2501ประเพณีเก่าของไทย ว่าด้วยการเกิด การปลูกบ้านสร้างเรือน ว่าด้วยการตาย 2500ประเพณีต่าง ๆ ของไทย 2529ประเพณีต่าง ๆ บางเรื่อง 2516ประเพณีไทยเกี่ยวกับเทศกาล 2502ประเพณีไทยเกี่ยวกับเทศกาลเข้าพรรษา สารท ออกพรรษา 2500ประเพณีไทยเกี่ยวกับเทศกาลลอยกระทงประเพณีไทยเก่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ประเพณีเนื่องในการเกิดประเพณีเนื่องในการเกิดกับประเพณีเนื่องในการตาย 2510ประเพณีเนื่องในการตายประเพณีเนื่องในการแต่งงานและประเพณีในการปลูกเรือน 2507ประเพณีในการสร้างบ้านปลูกเรือนประเพณีเนื่องในเทศกาล 2506ประเพณีเบ็ดเตล็ด 2510ประเพณีปลูกเรือน-แต่งงาน 2512ประเพณีและความรู้ทั่วไป 2498ประวัตินานาประเทศ 2515ประวัติศาสตร์โลกสมัยโบราณปลูกเรือนปลูกเรือน-แต่งงานโปแลนด์ราชย์ 2512เผชิญหน้ากับพระเจ้านโปเลียน 2514พงศาวดารธรรมชาติของสัตว์พระคเณศเทพนิยายสงเคราะห์ ภาค ๔พระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง 2493พันหนึ่งทิวา 2512ฟอลคอนฟื้นความหลัง 2510เมืองสวรรค์และผีสาง เทวดา 2515รสวรรณคดี 2504รู้ไว้ 2509เรื่องของชาติไทย 2483เรื่องคนมีประโยชน์ 2465เรื่องเจดีย์ 2503เรื่องไทย-จีน 2478เรื่องผีสางเทวดา 2495เรื่องพระโพธิสัตว์เรื่องพระโมหมัด นะปีของอิสามิกชนเรื่องพระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่งเรื่องเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง และประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระเรื่องวัฒนธรรม 2496เรื่องสั้นเกี่ยวกับประเพณีต่าง ๆ เทศกาลลอยกระทง ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระเรื่องแหลมอินโดจีนสมัยโบราณ 2497เรื่องอัศจรรย์ของโลก 2504ลัทธิ-ศาสนา 2516ลัทธิของเพื่อน 2496ลัทธิธรรมเนียมและประเพณีของไทยเลิกทาสในรัชกาลที่ ๕ 2499เล่าเรื่องในไตรภูมิโลกนิติ ไตรพากย์ 2504โลกยุคดึกดำบรรพ์วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ 2515วรรณกรรมเลือกสรรสำหรับเด็ก 2532วรรณคดีที่น่ารู้ 2508วัฒนธรรมวัฒนธรรมเบื้องต้น 2501วัตนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ของไทยวิจารณ์เรื่องประเพณีทำศพ 2482วิวัฒนาการแห่งวัฒนธรรม 2507ศาสนาเปรียบเทียบ 2515ศิลปสงเคราะห์ โดยศิลป์ พีระศรี งานแปล 2500สดุดีเด็ก ๆสมญาภิธานรามเกียรติ์สารานุกรมของเสฐียรโกเศศ 2516หิโตปเทศ การผูกมิตร การแตกมิตร สงคราม ความสงบ 2507อสูรและยักษ์ต่างกันอย่างไร เทพนิยายสงเคราะห์ ภาค ๒อธิบายนาฏศิลป์ไทย พร้อมด้วยคำนำเรื่องคีตศิลป์ 2494อัตชีวประวัติของพระยาอนุมานราชธน 2512อารยธรรมยุคดึกดำบรรพ์ 2512อาหรับราตรี 2509อำนาจแห่งความพยายามอุปกรณ์รามเกียรติ์ 2475แบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต เนื่องจากพระยาอนุมานราชธนหรือนามปากกาเสฐียรโกเศศและท่านนาคะประทีปเป็น บุคคลที่น่ายกย่องนับถือเป็นแบบอย่างของปราชญ์ที่ศึกษา เสาะแสวงความรู้ด้วยตัวเอง โดยการค้นคว้าหาความรู้ ถามไถ่ท่านผู้มีปัญญา หรือกระทั่งซักไซ้ไล่เลียงจากเด็กๆ เพื่อให้ได้รู้ในสิ่งที่อยากรู้แต่ยังไม่รู้ ท่านเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน การศึกษาในเรื่องใดๆ ของท่านจะตั้งต้นจากง่ายไปหายากเสมอ นั่นคือ จากพื้นฐานไปสู่ความสุขุมลุ่มลึกลงโดย ลำดับ การศึกษาด้วยตนเองของท่าน เช่น ด้านมานุษยวิทยาทางไทยนั้น นับเป็นการวางรากฐานที่สำคัญ สำหรับให้นักวิชาการชั้นต่อมาพัฒนาจนเป็นไทยวิทยา หรือไทยคดีศึกษา เป็นต้น จากแบบอย่างที่ดีดังกล่าวของท่านทำให้ท่านมีศิษยานุศิษย์มากมายมาฝากตัวเป็น ศิษย์ตามแนวทางการแสวงหาความรู้อย่างของไทย โดยฟังคำแนะนำตักเตือนของท่านตลอดเวลางานเขียนที่ทำร่วมกับนาคะประทีป นาคะประทีป มีชื่อจริงว่า "พระสารประเสริฐ" เกิด เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๒ พระสารประเสริฐเป็นผู้ที่มีความแตกฉานทางด้านอักษรศาสตร์ ทั้งบาลี สันสกฤต ท่านแต่งหนังสือ เกี่ยวกับวรรณคดีและภาษาศาสตร์ไว้มาก นามปากกาที่ใช ้คือ " ตรีนาคะประทีป" พระสารประเสริฐเคยเป็นอาจารย์วิชาภาษาบาลี ในคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นกรรมการชำระปทานุกรม ของราชบัณฑิตยสถาน พระสารประเสริฐ มีพระกัลยานมิตรอย่างพระยาอนุมานราชธน ซึ่งเป็นทั้งมิตร และผู้ร่วมงาน ได้ ร่วมกันสร้างสรรค์บทประพันธ์ ที่ถือได้ว่ามีความงดงามประดับไว้ ในวง วรรณกรรมมากมาย ดังเช่น กามนิต หิโตปเทศ ลัทธิของเพื่อน เป็นต้น นามปากกา เสฐียรโกเศศนาคะประทีป ถือว่าเป็นนามปากกาคู่แฝดทีโด่งดังเป็นอย่างยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น