วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

ศิลป์ พีระศรี




117 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีมหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกรมศิลปากร สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากรและสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงาน 'วันศิลป์ พีระศรี' ขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้เปรียบเสมือนบิดาของวงการศิลปะร่วมสมัยของไทยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เดิมชื่อ CORRADO FEROCI เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2435 ที่ตำบลซานยิโอวานนี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี บิดาชื่อนายอาร์ทูโด มารดาชื่อนางซันตินา มีอาชีพทำธุรกิจการค้า ท่านได้สมรสกับนาง FANNI VIVIANI มีบุตรด้วยกัน 2 คน บุตรหญิงชื่ออิซาเบลลา ปัจจุบันเป็นนักธุรกิจ บุตรชายชื่อโรมาโน เป็นสถาปนิกศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นชาวฟลอเรนซ์ เมืองที่เต็มไปด้วยศิลปะ เมื่อเยาว์วัยท่านชื่นชมผลงานศิลปกรรมของไมเคิล แองเจโล ประติมากรเอกของโลกชาวฟลอเรนซ์ เมื่อโตขึ้นจึงได้เข้าศึกษาศิลปะที่ราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ จบการศึกษาตั้งแต่อายุยังน้อยเพียง 23 ปีเท่านั้น โดยได้รับประกาศนียบัตรช่างเขียนช่างปั้นและเข้าสอบชิงตำแหน่งศาสตราจารย์ ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งผลงานในวัยหนุ่มที่ได้รับยกย่องและมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะของศิลปิน คือ ได้รับรางวัลชนะการประกวดออกแบบอนุสาวรีย์หลายครั้งชีวิต ในวัยหนุ่มศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นวัยที่มีพลัง ท่านจึงไม่พอใจในสภาพชีวิตที่เป็นอยู่ในสังคมที่เจริญแต่เพียงด้านวัตถุใน ประเทศอิตาลีสมัยนั้น เมื่อท่านได้ทราบข่าวว่ารัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ต้องการช่างปั้นชาวอิตาเลี่ยน เพื่อเข้ามารับราชการงานอนุสาวรีย์ในประเทศไทย ท่านจึงยื่นความจำนงพร้อมผลงานเข้าแข่งขันกับศิลปินอีกจำนวนมาก ในที่สุดรัฐบาลไทยได้ท่านเข้ามารับราชการในประเทศไทยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ได้ออกเดินทางโดยทางเรือจากประเทศอิตาลีถึงกรุงสยามในราวต้นเดือนมกราคมพ .ศ.2466 ขณะอายุได้ 31 ปี เข้ารับราชการในตำแหน่งช่างปั้นของกรมศิลปากร กระทรวงวังเมื่อวันที่ 14 มกราคม ปีเดียวกัน โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ศิลปินเอกแห่งกรุงสยามเป็นองค์อุปถัมภ์ในระยะแรกเป็นช่วงเวลา ที่ท่านต้องปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมแวดล้อมและการเมือง อีกทั้งยังต้องสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับของผู้มีอำนาจในสมัยนั้น ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างผลงาน รัฐบาลไทยจึงได้ยอมรับท่านเรื่อยมา เช่น มอบหมายให้ปั้นพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 เท่าพระองค์จริง ปัจจุบันประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดร และปั้นพระรูปสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ฯลฯ จากการเริ่มใช้ชีวิตในเมือง ไทยในตำแหน่งช่างปั้น สังกัดกรมศิลปากร ท่านเป็นผู้นำศิลปะแบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยจนเป็นที่รู้จักกัน แพร่หลายจนกระทั่งปัจจุบันนี้ จากความมุ่งมั่นของท่านที่ได้สร้างผลงานจนเป็นที่ยอมรับในวงการศึกษา ทำให้ท่านสามารถพัฒนาโรงเรียนศิลปากร ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนศิลปะให้แก่นักเรียนเท่านั้น จนสามารถยกฐานะมาเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนศิลปะแห่งแรกใน ประเทศไทยนั่นก็คือ 'มหาวิทยาลัยศิลปากร'นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ สร้างสรรค์งานศิลปะชิ้นสำคัญๆ ในประเทศไทยซึ่งเป็นมรดกให้ประชาชนชาวไทยได้ชื่นชมจนกระทั่งทุกวันนี้มากมาย หลายชิ้น อาทิ งานด้านพระบรมรูป พระบรมราชานุสาวรีย์ อนุสาวรีย์ที่สำคัญๆ ในประเทศไทยหลายแห่ง นอกจากนี้ท่านได้สร้างผลงานทางวิชาการอีกมากมายโดยท่านได้แต่งตำราเรียน บทความทางวิชาการไว้มากมายหลายเรื่อง ท่านได้อุทิศตนเพื่อสอน ศิลปะทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติให้แก่ศิษย์ จนกระทั่งผลงานของท่านตลอดจนศิษย์ของท่านแพร่หลายอย่างกว้างขวางทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ งานอนุสาวรีย์ในเมืองไทยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ประสงค์ที่จะใช้บุคลากรที่เป็นคนไทยในการทำงานศิลปะ เมื่อท่านได้มีโอกาสจัดสร้างอนุสาวรีย์ ท่านได้ฝึกฝนกุลบุตรกุลธิดาของไทยให้ได้ศึกษาเรียนรู้วิชาการปั้น และการหล่อโลหะขนาดใหญ่ การจัดสร้างอนุสาวรีย์ในยุคสมัยของท่านดังกล่าว นับเป็นยุคแรกที่ได้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญขึ้นในประเทศไทยผลงานที่สำคัญซึ่งปรากฏเห็นในปัจจุบันมีดังนี้- พระบรมราชานุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีขนาด 3 เท่าคนจริง ประดิษฐานที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ท่านเป็นช่างปั้น และเดินทางไปควบคุมการหล่อที่ประเทศอิตาลี สร้างเมื่อ พ.ศ.2472- อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2477- รูปปั้นหล่อประกอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2485- พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484- พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2493- พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดสุพรรณบุรี สร้างเมื่อ พ.ศ.2497 - รูปปั้นประดับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน- พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล 25 พุทธศตวรรษที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ.2498นอก จากนั้นยังมีโครงการที่ทำยังไม่แล้วเสร็จคือ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดลพบุรี เป็นต้นผลงานด้านการศึกษาด้วย เหตุที่ท่านได้ฝึกฝนเยาวชนไทยให้เข้าช่วยงานปั้นอนุสาวรีย์ จึงเป็นแรงบันดาลใจท่านจัดตั้งโรงเรียนของทางราชการขึ้นในปี พ.ศ.2469 โดยสอนเฉพาะวิชาประติมากรรม ต่อมาในปีพ.ศ.2481 ทางกระทรวงธรรมการได้เห็นความสำคัญในสิ่งที่ท่านทำ จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนศิลปากร จัดทำหลักสูตรศิลปกรรมชั้นสูง 4 ปี ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ.2486 ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาสังกัดทบวง มหาวิทยาลัยผลงานด้านเอกสารทางวิชาการศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีผลงานทางด้านเอกสารทางวิชาการ ตำรา และบทความมากมาย ซึ่งล้วนแต่ให้ความรู้ทางศิลปะ พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าของศิลปะ เช่น ทฤษฎีของสี ทฤษฎีแห่งองค์ประกอบศิลป์ คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะและราคะจริต อะไรคือศิลปะ ภาพจิตรกรรมไทย พรุ่งนี้ก็ช้าเสียแล้ว ฯลฯ ตลอดเวลาที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เดินทางเข้ามารับราชการและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ท่านได้ทุ่มเทความรัก ความรับผิดชอบให้แก่งานราชการอย่างมหาศาลแม้ว่าท่านอยู่ในฐานะของชาวต่าง ชาติก็ตาม ในปีพ.ศ.2485 ท่านได้โอนสัญชาติเป็นไทยและเปลี่ยนชื่อเป็นไทย พ.ศ.2502 สมรสกับคุณมาลินี เคนนี และใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยตลอดอายุของท่านศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจและโรคเนื้องอกในลำไส้ที่โรงพยาบาลศิริรราช เมื่อคืนวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2505 รวมอายุได้ 69 ปี 7 เดือน 29 วัน ท่านได้อุทิศตนให้กับราชการไทยเป็นเวลาทั้งสิ้น 38 ปี 4 เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น