เอ่ยถึงโรคภัยไข้เจ็บในยุคปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า มีอยู่ด้วยกันหลายโรคหลายอาการทั้งที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ และโรคเก่าเกิดการกลายพันธุ์ รวมถึงโรคอันตรายที่มีเปอร์เซ็นต์การพบไม่มากนัก เฉกเช่นเดียวกับ วัณโรคกระดูก ซึ่งอาจเป็นโรคที่ใครหลายคนยังไม่รู้จัก? นพ.อาทิตย์ หงส์วานิช ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลบี เอ็น เอช ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ว่า วัณโรคกระดูก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่จะพบ ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสียมากกว่าประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ อีก 10-15 เปอร์เซ็นต์ ถึงจะเป็นวัณโรคกระดูก ซึ่งการติดเชื้อพบได้ทุกอายุ เพศหญิงและชายมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เท่า ๆ กัน
“วัณโรคกระดูกสามารถตรวจพบได้ทางกระแสเลือดและในระบบน้ำเหลือง ซึ่งเชื้อโรคจะเข้าไปเกาะตามกระดูก และข้อต่อต่าง ๆ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณนั้น โดย ร่างกายจะได้รับเชื้อโรคจาก 2 ทางด้วยกัน คือ จากการหายใจ เข้าไป เมื่อเข้าไปอยู่ที่ปอดแล้วไม่ติดอยู่ที่ปอดแต่วิ่งไปในกระแสเลือดแล้ววิ่งมาเกาะที่กระดูก อีกทางหนึ่ง คือ การทานอาหารที่มีเชื้อวัณโรคปนเปื้อน แทนที่เชื้อโรคจะไปติดอยู่ในส่วนของกระเพาะสำไส้กลับไม่ติด แต่เข้าไปในกระแสเลือดแล้วเข้าไปติดที่กระดูกแทน” เมื่อเชื้อโรคเข้าไปเกาะอยู่ตามกระดูก ตามเส้นเอ็นต่าง ๆ แล้วจะปล่อยเอ็นไซม์บางอย่างออกมา ซึ่งเอ็นไซม์เหล่านี้จะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ทำลายกระดูก เส้นเอ็น ข้อต่าง ๆ รวมทั้งยังก่อตัวเป็นหนองด้วย จึงทำให้คนไข้มีอาการปวด โดยอาการปวดนั้น เกิดจาก 3 สาเหตุด้วยกัน สาเหตุแรก เกิดจาก หนอง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกจุดไม่ว่าจะเป็นจุดใดก็ตามที่เชื้อโรคเข้าไปเกาะ ต่อมา เกิดจากการที่เชื้อโรคเข้าไปทำลายกระดูกและข้อ จึงจะทำให้มีอาการปวด สุดท้าย เมื่อเชื้อโรคเข้าไปทำลายข้อจนเกิดความเสียหายทำให้อวัยวะส่วนนั้นใช้งานได้ไม่เป็นปกติ จะมีการขัดกันแทนที่จะเป็นข้อต่อปกติ มีเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนที่ปกติ เมื่อถูกทำลายไปแล้วเวลาขยับก็จะเจ็บ เกิดอาการปวดขึ้นมา อาการแสดงเมื่อได้รับเชื้อไปแล้ว ในช่วง 1-2 อาทิตย์แรกจะไม่ค่อยปวด แต่เมื่อผ่านไปประมาณ 1 เดือน ถึงจะเริ่มมีอาการปวดแบบชัดเจนขึ้น โดยจะค่อย ๆ ปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ
“เวลาที่มีปัญหาปวดแล้วไปพบหมอ ถ้าบอกอาการว่าปวดมาอาทิตย์หนึ่ง หมออาจ จะยังไม่สงสัยโรคที่อันตราย แต่พอรักษาแล้วผ่านไป 2 อาทิตย์ อาการไม่ดีขึ้น ตรงนี้เมื่อกลับมาหาหมออีกครั้ง หมอจะเริ่มสงสัยแล้วว่าอาจจะเป็นอาการของโรคอื่นซ่อนเร้นอยู่ ไม่ใช่อาการปวดของกล้ามเนื้อธรรมดา โรคอื่นที่ซ่อนเร้นนี้ อาจจะเกิดจากเอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาดมากกว่าที่หมอคิด หรือเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อน หรืออาจจะเป็นการติดเชื้อก็ได้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่วัณโรคแต่เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียตัวอื่น” เมื่อหมอสงสัย สิ่งที่หมอจะทำ คือ การหาสาเหตุ อาจ จะตรวจเอกซเรย์ธรรมดาไว้ก่อน ถ้าดูฟิล์มเอกซเรย์แล้วปกติ ไม่สามารถอธิบายอาการปวดได้ หมอจะตรวจเพิ่ม เช่น ส่งไปสแกนด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า หรือตรวจเลือด จะช่วยให้ทราบสาเหตุได้ง่ายขึ้น เพราะผลเลือดจะบอกทันทีว่า คนไข้มีการติดเชื้อในร่างกายหรือไม่ จะได้ตรวจหาต่อไปว่าเป็นเชื้อชนิดใดเพื่อจะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง วัณโรคกระดูกส่วนใหญ่จะเป็นที่กระดูกสันหลังส่วนเอวประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือ 2 ใน 3 จะกระจายไปในส่วนต่าง ๆ ของกระดูก ซึ่งจะเป็นจุดใดก็ได้ โดย คนไข้ที่เป็นวัณโรคปอดจะไม่มีวัณโรคกระดูกซ่อนอยู่ ทำให้หมอมุ่งรักษาที่ปอดอย่างเดียว แต่สำหรับคนไข้ที่เป็นวัณโรคกระดูก ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดก็ตาม หมอจะต้องส่งไปตรวจปอดด้วย เพราะมีโอกาสเป็นวัณโรคปอดร่วมด้วยประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจะได้ทำการรักษาทั้ง 2 จุด ไปพร้อม ๆ กัน ที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ เมื่อมีคนในบ้านเป็นวัณโรคไม่ว่าจะเป็นที่ปอดหรือกระดูก นอกจากรักษาคนไข้แล้ว ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย ควรพบแพทย์เป็นระยะเพื่อตรวจสุขภาพ ป้องกันการติดเชื้อจากผู้ป่วยด้วย “เนื่องจากวัณโรคกระดูกเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ ฉะนั้น คนที่มีโอกาสติดเชื้อนี้ได้ คือ คนที่มีร่างกายอ่อนแอ ไม่ว่าจะเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีลงไป กลุ่มผู้สูงอายุ 60-65 ปีขึ้นไป เพราะร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำสามารถติดเชื้อได้ง่ายขึ้น บุคคลทั่วไปก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน จากสิ่งแวดล้อม การหายใจ การอยู่ในที่ชุมชนที่มีคนแออัดมาก ๆ หรือว่าสกปรก รวมทั้ง การทานอาหารที่ไม่สะอาด” วัณโรคกระดูกสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยผู้ป่วยต้องทานยาติดต่อกันอย่างน้อย 6-12 เดือน ใน บางรายอาจจะต้องทำการ ผ่าตัดร่วมด้วย เช่น มีหนองจำนวนมาก หรือเชื้อโรคกินกระดูกไปมาก การผ่าตัดก็จะเข้าไปเอาหนองออก รวมทั้งขูดเอาเนื้อที่ตายแล้วออกด้วยขึ้นอยู่กับว่าเป็นที่ตำแหน่งใด ถ้าเป็นข้อต่ออาจจะเชื่อมข้อให้ ถ้าเป็นในส่วนของกระดูกสันหลัง อาจจะต้องใส่เหล็กเข้าไปเพื่อไปดามกระดูกควบคู่ไปด้วย นพ.อาทิตย์ กล่าวว่า คนทั่วไปไม่มีทางรู้ว่าตนเองเป็นวัณโรคกระดูกอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ทุกคนรู้ได้ก็คือ ความผิดปกติ เมื่อเกิดอาการปวดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะต้องสังเกตอาการปวดของตัวเองว่า เป็นอาการปวดแบบใด ถ้าเป็นการปวดไม่มีอย่างอื่นแทรกซ้อน คือ ไม่มีไข้ ไม่เพลีย มีแต่อาการปวดอย่างเดียว ถ้ากินยาแก้ปวด ได้พักผ่อน ขยับตัวน้อยลง เมื่อผ่านไป 2-3 วัน อาการจะต้องดีขึ้น หรืออย่างมากสุด เมื่อมาหาหมอ ได้รับการรักษา เช่น กินยาลดการอักเสบ ลดอาการปวด ผ่านไป 1-2 อาทิตย์ จะต้องหายปวดกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้ายังปวดเรื้อรังอยู่ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไปอย่าปล่อยทิ้งไว้นาน มิฉะนั้นอาจสายเกินแก้.
สรรหามาบอก
- โรงพยาบาลกรุงเทพ ร่วมกับศูนย์เยาวชนลุมพินี สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร เชิญชวนผู้รักสุขภาพร่วมงาน “รวมพลคนกรุงสุขภาพดี” ฟังบรรยายจากแพทย์ในหัวข้อ “อยู่อย่างไร…ให้ห่างไกลเบาหวาน” บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น (โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) ในวัน อาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2553 เวลา 06.00-09.00 น. ณ อาคารพลเมืองอาวุโส กรุงเทพมหานคร สวนลุมพินี และ ใน วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน 2553 โรงพยาบาลวัฒโนสถ ขอเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม “Knock Out Lung Cancer” รับฟังเสวนาความรู้สุขภาพเรื่อง “หยุดมะเร็งปอด ให้อยู่หมัด” เวลา 09.00-14.00 น. ณ ชั้น G โรงพยาบาล วัฒโนสถ สอบถามโทร. 1719 - โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงาน “Brain Explorer” รับฟังบรรยายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง ในวันที่ 11-14 พฤศจิกายน 2553 เวลา 11.00- 20.00 น. ณ แฟชั่น ฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม ภายในงานมีกิจกรรมเสริมความรู้และให้คำปรึกษาทุกเรื่อง เกี่ยวกับสมอง รวมถึงบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สนใจโทร. 0-2667-2000 - โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา “Golden Hours in Pediatrics” ครั้งที่ 25 เรื่อง “เมื่อลูกเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย” พร้อมแนวทางการดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ในวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2553 เวลา 11.30-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 7 สมิติเวช ศรีนครินทร์ สนใจสำรองที่นั่ง โทร. 0-2378-9000 - มูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทยร่วมกับชมรมถุงลมโป่งพอง จัดงาน “วันถุงลมโป่งพองโลก” ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2553 เวลา 12.00-16.00 น. ณ ห้องศรีสุริยวงศ์ ชั้น 11 โรงแรมตะวันนา ถนนสุรวงศ์ ภายในงานมีนิทรรศการความรู้ บริการตรวจสมรรถภาพทางปอด ความดันโลหิต ฯลฯ สนใจสำรองที่นั่งและร่วมงานฟรี! โทร. 0-2617-0649 และ 08-6535-0872.
เคล็ดลับสุขภาพดี : โภชนาการที่ดี ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้
น้ำนมแม่ ถือเป็นอาหารที่ดีที่สุดของทารกในการป้องกันโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ แต่ปัจจุบันนี้มีหลากหลายสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกน้อยได้ครบกำหนด จึงต้องหันไปพึ่งนมผงแทน ซึ่งนมผงนั้นก็มีหลากหลายรูปแบบให้คุณแม่เลือก วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีมีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการเลือกนมผงให้ลูกน้อยมาฝากกันค่ะ เมื่อไม่นานมานี้บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ได้จัดสัมมนาให้ความรู้ในหัวข้อ “ลูกน้อยห่างไกลภูมิแพ้ เริ่มที่คุณแม่และโภชนาการ” เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับทารกเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ โดย รศ.นพ.ปีเตอร์ เคนเนธ สมิธ จากมหาวิทยาลัยบอนด์และมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ประเทศออสเตรเลีย ให้ความรู้ว่า การแพ้อาหารเป็นอาการภูมิแพ้ที่พบบ่อยมากขึ้น โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีอุบัติการณ์การแพ้อาหารเพิ่มขึ้นถึง 500 เปอร์เซ็นต์ในทารกทั่วโลก โดยพบว่ามีการแพ้นมวัวมากที่สุดในอาการภูมิแพ้ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ดังนั้นการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตของทารกถือเป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกอาหารที่ย่อยง่ายและละลายได้ดี โดยสังเกตได้ว่า “เคซีน” ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในนมวัว จะไม่ละลายน้ำและเป็นสาเหตุหลัก อย่างหนึ่งของการแพ้อาหารในทารก แพทย์ทั่วโลกจึงอยากให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เพราะเป็นอาหารที่ดีสำหรับทารก ซึ่งกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของ นมมารดาประกอบด้วย โปรตีนเวย์ที่ละลายน้ำ ทั้งยังมีจุลินทรีย์สุขภาพที่มีประโยชน์ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกอีกด้วย แต่ในกรณีที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างต่อเนื่อง ควร เลือกนมสูตรพิเศษไฮโปรอัลเลอเจนิก (H.A.) ที่มีผลวิจัยรับรองแทน โดยนมผงสูตร H.A. ได้จากการย่อยโปรตีนจากนมโดยใช้ความร้อน เอ็นไซม์และความดัน ซึ่งจากการศึกษางานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การให้นมที่มีส่วนประกอบของโปรตีนเวย์ 100 เปอร์เซ็นต์และผ่านการย่อยด้วยเอ็นไซม์และความร้อนเพื่อให้โมเลกุลเล็กลง จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ในทารกที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เมื่อเทียบกับทารกที่เลี้ยงด้วยนมวัวซึ่งมีโปรตีนที่ไม่ผ่านกระบวนการย่อย โดยมีผลการวิจัย GINI ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในเยอรมนีทดลองทารก 2,252 คน พบว่านมสูตรพิเศษนี้สามารถป้องกันโรคภูมิแพ้ประเภทผื่นแพ้ผิวหนังในกลุ่มทารกที่ศึกษาจนถึงอายุ 6 ปี อย่างไรก็ตามคุณหมอแนะนำ เพิ่มเติมว่า เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ ควรให้ทารกดื่มนมมารดาเพียงอย่างเดียวต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และตัวคุณแม่เองควรรับประทานอาหารอย่างสมดุล ไม่รับประทานอาหารบางประเภทมากเกินไปและควรรับประทานอาหารเสริมที่มีจุลินทรีย์สุขภาพทั้งก่อนและหลังคลอด เพื่อลูกน้อยจะได้แข็งแรงเติบโตอย่างมีคุณภาพ.
“วัณโรคกระดูกสามารถตรวจพบได้ทางกระแสเลือดและในระบบน้ำเหลือง ซึ่งเชื้อโรคจะเข้าไปเกาะตามกระดูก และข้อต่อต่าง ๆ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณนั้น โดย ร่างกายจะได้รับเชื้อโรคจาก 2 ทางด้วยกัน คือ จากการหายใจ เข้าไป เมื่อเข้าไปอยู่ที่ปอดแล้วไม่ติดอยู่ที่ปอดแต่วิ่งไปในกระแสเลือดแล้ววิ่งมาเกาะที่กระดูก อีกทางหนึ่ง คือ การทานอาหารที่มีเชื้อวัณโรคปนเปื้อน แทนที่เชื้อโรคจะไปติดอยู่ในส่วนของกระเพาะสำไส้กลับไม่ติด แต่เข้าไปในกระแสเลือดแล้วเข้าไปติดที่กระดูกแทน” เมื่อเชื้อโรคเข้าไปเกาะอยู่ตามกระดูก ตามเส้นเอ็นต่าง ๆ แล้วจะปล่อยเอ็นไซม์บางอย่างออกมา ซึ่งเอ็นไซม์เหล่านี้จะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ทำลายกระดูก เส้นเอ็น ข้อต่าง ๆ รวมทั้งยังก่อตัวเป็นหนองด้วย จึงทำให้คนไข้มีอาการปวด โดยอาการปวดนั้น เกิดจาก 3 สาเหตุด้วยกัน สาเหตุแรก เกิดจาก หนอง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกจุดไม่ว่าจะเป็นจุดใดก็ตามที่เชื้อโรคเข้าไปเกาะ ต่อมา เกิดจากการที่เชื้อโรคเข้าไปทำลายกระดูกและข้อ จึงจะทำให้มีอาการปวด สุดท้าย เมื่อเชื้อโรคเข้าไปทำลายข้อจนเกิดความเสียหายทำให้อวัยวะส่วนนั้นใช้งานได้ไม่เป็นปกติ จะมีการขัดกันแทนที่จะเป็นข้อต่อปกติ มีเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนที่ปกติ เมื่อถูกทำลายไปแล้วเวลาขยับก็จะเจ็บ เกิดอาการปวดขึ้นมา อาการแสดงเมื่อได้รับเชื้อไปแล้ว ในช่วง 1-2 อาทิตย์แรกจะไม่ค่อยปวด แต่เมื่อผ่านไปประมาณ 1 เดือน ถึงจะเริ่มมีอาการปวดแบบชัดเจนขึ้น โดยจะค่อย ๆ ปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ
“เวลาที่มีปัญหาปวดแล้วไปพบหมอ ถ้าบอกอาการว่าปวดมาอาทิตย์หนึ่ง หมออาจ จะยังไม่สงสัยโรคที่อันตราย แต่พอรักษาแล้วผ่านไป 2 อาทิตย์ อาการไม่ดีขึ้น ตรงนี้เมื่อกลับมาหาหมออีกครั้ง หมอจะเริ่มสงสัยแล้วว่าอาจจะเป็นอาการของโรคอื่นซ่อนเร้นอยู่ ไม่ใช่อาการปวดของกล้ามเนื้อธรรมดา โรคอื่นที่ซ่อนเร้นนี้ อาจจะเกิดจากเอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาดมากกว่าที่หมอคิด หรือเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อน หรืออาจจะเป็นการติดเชื้อก็ได้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่วัณโรคแต่เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียตัวอื่น” เมื่อหมอสงสัย สิ่งที่หมอจะทำ คือ การหาสาเหตุ อาจ จะตรวจเอกซเรย์ธรรมดาไว้ก่อน ถ้าดูฟิล์มเอกซเรย์แล้วปกติ ไม่สามารถอธิบายอาการปวดได้ หมอจะตรวจเพิ่ม เช่น ส่งไปสแกนด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า หรือตรวจเลือด จะช่วยให้ทราบสาเหตุได้ง่ายขึ้น เพราะผลเลือดจะบอกทันทีว่า คนไข้มีการติดเชื้อในร่างกายหรือไม่ จะได้ตรวจหาต่อไปว่าเป็นเชื้อชนิดใดเพื่อจะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง วัณโรคกระดูกส่วนใหญ่จะเป็นที่กระดูกสันหลังส่วนเอวประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือ 2 ใน 3 จะกระจายไปในส่วนต่าง ๆ ของกระดูก ซึ่งจะเป็นจุดใดก็ได้ โดย คนไข้ที่เป็นวัณโรคปอดจะไม่มีวัณโรคกระดูกซ่อนอยู่ ทำให้หมอมุ่งรักษาที่ปอดอย่างเดียว แต่สำหรับคนไข้ที่เป็นวัณโรคกระดูก ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดก็ตาม หมอจะต้องส่งไปตรวจปอดด้วย เพราะมีโอกาสเป็นวัณโรคปอดร่วมด้วยประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจะได้ทำการรักษาทั้ง 2 จุด ไปพร้อม ๆ กัน ที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ เมื่อมีคนในบ้านเป็นวัณโรคไม่ว่าจะเป็นที่ปอดหรือกระดูก นอกจากรักษาคนไข้แล้ว ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย ควรพบแพทย์เป็นระยะเพื่อตรวจสุขภาพ ป้องกันการติดเชื้อจากผู้ป่วยด้วย “เนื่องจากวัณโรคกระดูกเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ ฉะนั้น คนที่มีโอกาสติดเชื้อนี้ได้ คือ คนที่มีร่างกายอ่อนแอ ไม่ว่าจะเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีลงไป กลุ่มผู้สูงอายุ 60-65 ปีขึ้นไป เพราะร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำสามารถติดเชื้อได้ง่ายขึ้น บุคคลทั่วไปก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน จากสิ่งแวดล้อม การหายใจ การอยู่ในที่ชุมชนที่มีคนแออัดมาก ๆ หรือว่าสกปรก รวมทั้ง การทานอาหารที่ไม่สะอาด” วัณโรคกระดูกสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยผู้ป่วยต้องทานยาติดต่อกันอย่างน้อย 6-12 เดือน ใน บางรายอาจจะต้องทำการ ผ่าตัดร่วมด้วย เช่น มีหนองจำนวนมาก หรือเชื้อโรคกินกระดูกไปมาก การผ่าตัดก็จะเข้าไปเอาหนองออก รวมทั้งขูดเอาเนื้อที่ตายแล้วออกด้วยขึ้นอยู่กับว่าเป็นที่ตำแหน่งใด ถ้าเป็นข้อต่ออาจจะเชื่อมข้อให้ ถ้าเป็นในส่วนของกระดูกสันหลัง อาจจะต้องใส่เหล็กเข้าไปเพื่อไปดามกระดูกควบคู่ไปด้วย นพ.อาทิตย์ กล่าวว่า คนทั่วไปไม่มีทางรู้ว่าตนเองเป็นวัณโรคกระดูกอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ทุกคนรู้ได้ก็คือ ความผิดปกติ เมื่อเกิดอาการปวดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะต้องสังเกตอาการปวดของตัวเองว่า เป็นอาการปวดแบบใด ถ้าเป็นการปวดไม่มีอย่างอื่นแทรกซ้อน คือ ไม่มีไข้ ไม่เพลีย มีแต่อาการปวดอย่างเดียว ถ้ากินยาแก้ปวด ได้พักผ่อน ขยับตัวน้อยลง เมื่อผ่านไป 2-3 วัน อาการจะต้องดีขึ้น หรืออย่างมากสุด เมื่อมาหาหมอ ได้รับการรักษา เช่น กินยาลดการอักเสบ ลดอาการปวด ผ่านไป 1-2 อาทิตย์ จะต้องหายปวดกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้ายังปวดเรื้อรังอยู่ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไปอย่าปล่อยทิ้งไว้นาน มิฉะนั้นอาจสายเกินแก้.
สรรหามาบอก
- โรงพยาบาลกรุงเทพ ร่วมกับศูนย์เยาวชนลุมพินี สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร เชิญชวนผู้รักสุขภาพร่วมงาน “รวมพลคนกรุงสุขภาพดี” ฟังบรรยายจากแพทย์ในหัวข้อ “อยู่อย่างไร…ให้ห่างไกลเบาหวาน” บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น (โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) ในวัน อาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2553 เวลา 06.00-09.00 น. ณ อาคารพลเมืองอาวุโส กรุงเทพมหานคร สวนลุมพินี และ ใน วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน 2553 โรงพยาบาลวัฒโนสถ ขอเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม “Knock Out Lung Cancer” รับฟังเสวนาความรู้สุขภาพเรื่อง “หยุดมะเร็งปอด ให้อยู่หมัด” เวลา 09.00-14.00 น. ณ ชั้น G โรงพยาบาล วัฒโนสถ สอบถามโทร. 1719 - โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงาน “Brain Explorer” รับฟังบรรยายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง ในวันที่ 11-14 พฤศจิกายน 2553 เวลา 11.00- 20.00 น. ณ แฟชั่น ฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม ภายในงานมีกิจกรรมเสริมความรู้และให้คำปรึกษาทุกเรื่อง เกี่ยวกับสมอง รวมถึงบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สนใจโทร. 0-2667-2000 - โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา “Golden Hours in Pediatrics” ครั้งที่ 25 เรื่อง “เมื่อลูกเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย” พร้อมแนวทางการดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ในวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2553 เวลา 11.30-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 7 สมิติเวช ศรีนครินทร์ สนใจสำรองที่นั่ง โทร. 0-2378-9000 - มูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทยร่วมกับชมรมถุงลมโป่งพอง จัดงาน “วันถุงลมโป่งพองโลก” ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2553 เวลา 12.00-16.00 น. ณ ห้องศรีสุริยวงศ์ ชั้น 11 โรงแรมตะวันนา ถนนสุรวงศ์ ภายในงานมีนิทรรศการความรู้ บริการตรวจสมรรถภาพทางปอด ความดันโลหิต ฯลฯ สนใจสำรองที่นั่งและร่วมงานฟรี! โทร. 0-2617-0649 และ 08-6535-0872.
เคล็ดลับสุขภาพดี : โภชนาการที่ดี ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้
น้ำนมแม่ ถือเป็นอาหารที่ดีที่สุดของทารกในการป้องกันโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ แต่ปัจจุบันนี้มีหลากหลายสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกน้อยได้ครบกำหนด จึงต้องหันไปพึ่งนมผงแทน ซึ่งนมผงนั้นก็มีหลากหลายรูปแบบให้คุณแม่เลือก วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีมีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการเลือกนมผงให้ลูกน้อยมาฝากกันค่ะ เมื่อไม่นานมานี้บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ได้จัดสัมมนาให้ความรู้ในหัวข้อ “ลูกน้อยห่างไกลภูมิแพ้ เริ่มที่คุณแม่และโภชนาการ” เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับทารกเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ โดย รศ.นพ.ปีเตอร์ เคนเนธ สมิธ จากมหาวิทยาลัยบอนด์และมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ประเทศออสเตรเลีย ให้ความรู้ว่า การแพ้อาหารเป็นอาการภูมิแพ้ที่พบบ่อยมากขึ้น โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีอุบัติการณ์การแพ้อาหารเพิ่มขึ้นถึง 500 เปอร์เซ็นต์ในทารกทั่วโลก โดยพบว่ามีการแพ้นมวัวมากที่สุดในอาการภูมิแพ้ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ดังนั้นการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตของทารกถือเป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกอาหารที่ย่อยง่ายและละลายได้ดี โดยสังเกตได้ว่า “เคซีน” ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในนมวัว จะไม่ละลายน้ำและเป็นสาเหตุหลัก อย่างหนึ่งของการแพ้อาหารในทารก แพทย์ทั่วโลกจึงอยากให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เพราะเป็นอาหารที่ดีสำหรับทารก ซึ่งกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของ นมมารดาประกอบด้วย โปรตีนเวย์ที่ละลายน้ำ ทั้งยังมีจุลินทรีย์สุขภาพที่มีประโยชน์ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกอีกด้วย แต่ในกรณีที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างต่อเนื่อง ควร เลือกนมสูตรพิเศษไฮโปรอัลเลอเจนิก (H.A.) ที่มีผลวิจัยรับรองแทน โดยนมผงสูตร H.A. ได้จากการย่อยโปรตีนจากนมโดยใช้ความร้อน เอ็นไซม์และความดัน ซึ่งจากการศึกษางานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การให้นมที่มีส่วนประกอบของโปรตีนเวย์ 100 เปอร์เซ็นต์และผ่านการย่อยด้วยเอ็นไซม์และความร้อนเพื่อให้โมเลกุลเล็กลง จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ในทารกที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เมื่อเทียบกับทารกที่เลี้ยงด้วยนมวัวซึ่งมีโปรตีนที่ไม่ผ่านกระบวนการย่อย โดยมีผลการวิจัย GINI ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในเยอรมนีทดลองทารก 2,252 คน พบว่านมสูตรพิเศษนี้สามารถป้องกันโรคภูมิแพ้ประเภทผื่นแพ้ผิวหนังในกลุ่มทารกที่ศึกษาจนถึงอายุ 6 ปี อย่างไรก็ตามคุณหมอแนะนำ เพิ่มเติมว่า เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ ควรให้ทารกดื่มนมมารดาเพียงอย่างเดียวต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และตัวคุณแม่เองควรรับประทานอาหารอย่างสมดุล ไม่รับประทานอาหารบางประเภทมากเกินไปและควรรับประทานอาหารเสริมที่มีจุลินทรีย์สุขภาพทั้งก่อนและหลังคลอด เพื่อลูกน้อยจะได้แข็งแรงเติบโตอย่างมีคุณภาพ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น