ขอขอบคุณภาพประกอบจาก rid.go.th , mahidol.ac.th
วันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันทิวงคต(เสียชีวิต)ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย"
ด้วยพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทยมาตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้น ได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ อีกทั้งได้ทรงพัฒนาการเรียนการสอน ตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศในกาลต่อมา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงได้ขนานนามวันสำคัญนี้ว่า "วันมหิดล" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และน้อมรำลึกต่อพระองค์ท่าน
และในปี พ.ศ. 2493 หรือ 21 ปี หลังจากที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้ทิวงคต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บรรดาศิษย์เก่าศิริราช ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ร่วมใจกันสร้างพระราชาอนุสาวรีย์ขึ้น ณ ใจกลางโรงพยาบาลศิริราช เพื่อน้อมเกล้าถวายความกตัญญูกตเวที และเฉลิมฉลองพระเกียรติคุณให้ไพศาล เป็นแบบฉบับให้อนุชนรุ่นหลังได้เจริญตามรอยพระยุคลบาทสืบไป โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง มีศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นผู้ควบคุมงาน
ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493 และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา ทุกวันที่ 24 กันยายน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้จัดงาน "วันมหิดล" โดยมีพิธีวางพวงมาลาถวายบังคมพระรูป พร้อมทั้งอ่านคำสดุดีพระเกียรติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เป็นประจำทุกปี
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันมหิดล
วันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันทิวงคต(เสียชีวิต)ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย"
ด้วยพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทยมาตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้น ได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ อีกทั้งได้ทรงพัฒนาการเรียนการสอน ตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศในกาลต่อมา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงได้ขนานนามวันสำคัญนี้ว่า "วันมหิดล" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และน้อมรำลึกต่อพระองค์ท่าน
และในปี พ.ศ. 2493 หรือ 21 ปี หลังจากที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้ทิวงคต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บรรดาศิษย์เก่าศิริราช ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ร่วมใจกันสร้างพระราชาอนุสาวรีย์ขึ้น ณ ใจกลางโรงพยาบาลศิริราช เพื่อน้อมเกล้าถวายความกตัญญูกตเวที และเฉลิมฉลองพระเกียรติคุณให้ไพศาล เป็นแบบฉบับให้อนุชนรุ่นหลังได้เจริญตามรอยพระยุคลบาทสืบไป โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง มีศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นผู้ควบคุมงาน
ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493 และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา ทุกวันที่ 24 กันยายน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้จัดงาน "วันมหิดล" โดยมีพิธีวางพวงมาลาถวายบังคมพระรูป พร้อมทั้งอ่านคำสดุดีพระเกียรติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เป็นประจำทุกปี
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันมหิดล
1. เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ให้ปรากฏแก่ มวลสมาชิกทั่วโลก
2. เพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง ร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่อมเชิดชูเกียรติ
ในการนี้รัฐบาลไทย โดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมเพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติแ ละได้ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535
ประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2434 และสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2472 รวมพระชนมายุ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน
ในเบื้องต้นได้ทรงศึกษาวิชาทหารเรือ ณ ประเทศเยอรมัน จากนั้นเสด็จกลับเข้ามารับราชการในกองทัพเรือ ต่อมา ทรงมีอาการประชวรเรื้อรังไม่ทรงสามารถรับราชการหนักเช่นการทหารเรือได้ ประกอบกับทรงสนพระทัยในกิจการทางด้านการแพทย์ จึงทรงพระอุตสาหะ เสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุขและวิชาแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุข และปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ภายหลังทรงสำเร็จการศึกษา พระองค์ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขไว้อย่างมากมาย อาทิ
1. ทรงเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์
2. ทรงช่วยเหลือในการขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช
3. ประทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ และจัดสร้างตึกคนไข้ และจัดหาที่พักสำหรับพยาบาลให้ได้อยู่อาศัย
4. ทรงบริจาคทรัพย์เป็นทุนสำหรับส่งนักศึกษาแพทย์ และนักเรียนพยาบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศ
5. ประทานเงินเพื่อใช้ในการจัดหาเครื่องมือ สำหรับปฏิบัติการให้แก่โรงพยาบาล
6. ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลติดต่อกับมูลนิธิรอคกีเฟลเลอร์ สาขาเอเซียบูรพา ในการปรับปรุง และวางมาตรฐานการศึกษา
7. ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยพระองค์เอง
ธงวันมหิดล
2. เพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง ร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่อมเชิดชูเกียรติ
ในการนี้รัฐบาลไทย โดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมเพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติแ ละได้ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535
ประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2434 และสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2472 รวมพระชนมายุ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน
ในเบื้องต้นได้ทรงศึกษาวิชาทหารเรือ ณ ประเทศเยอรมัน จากนั้นเสด็จกลับเข้ามารับราชการในกองทัพเรือ ต่อมา ทรงมีอาการประชวรเรื้อรังไม่ทรงสามารถรับราชการหนักเช่นการทหารเรือได้ ประกอบกับทรงสนพระทัยในกิจการทางด้านการแพทย์ จึงทรงพระอุตสาหะ เสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุขและวิชาแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุข และปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ภายหลังทรงสำเร็จการศึกษา พระองค์ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขไว้อย่างมากมาย อาทิ
1. ทรงเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์
2. ทรงช่วยเหลือในการขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช
3. ประทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ และจัดสร้างตึกคนไข้ และจัดหาที่พักสำหรับพยาบาลให้ได้อยู่อาศัย
4. ทรงบริจาคทรัพย์เป็นทุนสำหรับส่งนักศึกษาแพทย์ และนักเรียนพยาบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศ
5. ประทานเงินเพื่อใช้ในการจัดหาเครื่องมือ สำหรับปฏิบัติการให้แก่โรงพยาบาล
6. ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลติดต่อกับมูลนิธิรอคกีเฟลเลอร์ สาขาเอเซียบูรพา ในการปรับปรุง และวางมาตรฐานการศึกษา
7. ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยพระองค์เอง
ธงวันมหิดล
การจัดกิจกรรมในวันมหิดล
หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น อาทิ
1. กิจกรรมรับบริจาคสมทบทุนศิริราชมูลนิธิ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2503 เป็นต้นมา คณะนักศึกษาแพทย์และพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมออกรับบริจาคสมทบทุนศิริราชมูลนิธิเนื่องในวันมหิดล ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน ของทุกปี
โดยกิจกรรมหนึ่งในการขอรับบริจาค คือ การจำหน่าย "ธงวันมหิดล" กิจกรรมดังกล่าว เริ่มมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ศ.นพ.กษาณ จาติกวนิช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ได้เสนอให้ศิริราชมีการจำหน่าย "ธงวันมหิดล" เพื่อให้ประชาชนทุกฐานะมีส่วนเกื้อกูลผู้ป่วยยากไร้ของโรงพยาบาลศิริราช
ในปีแรกมีการจำหน่ายธงขนาดกลางราคา 10 บาท และธงเล็กทำด้วยริบบิ้น ราคา 1 บาท นักศึกษาทุกหมู่เหล่าในวิทยาเขตศิริราช ได้ช่วยกันออกไปจำหน่าย ซึ่งรายได้ทั้งหมดนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ การรักษาพยาบาล และเครื่องอำนวยความสุขแก่ผู้ป่วยยากไร้
โดยในครั้งแรกแบบธงวันมหิดลเป็นรูปสามเหลี่ยม มีรูปพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก พิมพ์อยู่ตรงกลางผืนเช่นเดียวกับในปัจจุบัน แต่พิมพ์เป็นรูปสีเขียวบนผ้าขาว ภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ใช้ผ้าสีที่ตรงกับวันมหิดลในปีนั้น และทำสติ๊กเกอร์ขึ้นแทนธงริบบิ้น ต่อมา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ก่อตั้งศิริราชมูลนิธิขึ้นเพื่อบริหารจัดการด้านการเงินให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น คณะฯ จึงมอบให้ศิริราชมูลนิธิ รับผิดชอบการจำหน่ายธงวันมหิดล
ใน พ.ศ.2502 การจำหน่ายธงได้ผลดีเกินคาด ธงไม่พอสำหรับวันขายใหญ่ "กลุ่มอาสามหาวิทยาลัยมหิดล" ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาจากทุกคณะ และทุกวิทยาเขตจึงอาสาทำธงให้ โดยระดมทำอยู่ 2 วัน 2 คืน จนมีธงพอจำหน่ายในวันที่ 23 กันยายน ในปีนั้น
1. กิจกรรมรับบริจาคสมทบทุนศิริราชมูลนิธิ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2503 เป็นต้นมา คณะนักศึกษาแพทย์และพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมออกรับบริจาคสมทบทุนศิริราชมูลนิธิเนื่องในวันมหิดล ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน ของทุกปี
โดยกิจกรรมหนึ่งในการขอรับบริจาค คือ การจำหน่าย "ธงวันมหิดล" กิจกรรมดังกล่าว เริ่มมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ศ.นพ.กษาณ จาติกวนิช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ได้เสนอให้ศิริราชมีการจำหน่าย "ธงวันมหิดล" เพื่อให้ประชาชนทุกฐานะมีส่วนเกื้อกูลผู้ป่วยยากไร้ของโรงพยาบาลศิริราช
ในปีแรกมีการจำหน่ายธงขนาดกลางราคา 10 บาท และธงเล็กทำด้วยริบบิ้น ราคา 1 บาท นักศึกษาทุกหมู่เหล่าในวิทยาเขตศิริราช ได้ช่วยกันออกไปจำหน่าย ซึ่งรายได้ทั้งหมดนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ การรักษาพยาบาล และเครื่องอำนวยความสุขแก่ผู้ป่วยยากไร้
โดยในครั้งแรกแบบธงวันมหิดลเป็นรูปสามเหลี่ยม มีรูปพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก พิมพ์อยู่ตรงกลางผืนเช่นเดียวกับในปัจจุบัน แต่พิมพ์เป็นรูปสีเขียวบนผ้าขาว ภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ใช้ผ้าสีที่ตรงกับวันมหิดลในปีนั้น และทำสติ๊กเกอร์ขึ้นแทนธงริบบิ้น ต่อมา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ก่อตั้งศิริราชมูลนิธิขึ้นเพื่อบริหารจัดการด้านการเงินให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น คณะฯ จึงมอบให้ศิริราชมูลนิธิ รับผิดชอบการจำหน่ายธงวันมหิดล
ใน พ.ศ.2502 การจำหน่ายธงได้ผลดีเกินคาด ธงไม่พอสำหรับวันขายใหญ่ "กลุ่มอาสามหาวิทยาลัยมหิดล" ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาจากทุกคณะ และทุกวิทยาเขตจึงอาสาทำธงให้ โดยระดมทำอยู่ 2 วัน 2 คืน จนมีธงพอจำหน่ายในวันที่ 23 กันยายน ในปีนั้น
ปีต่อมาคณะกรรมการจำหน่ายธงวันมหิดล จึงมีมติให้จ้างกลุ่มอาสาฯ ทำธงแทนจ้างบริษัทเอกชน เพราะเล็งเห็นว่านักศึกษาทำได้ดีเทียบเท่ามืออาชีพ และยังเป็นการสนับสนุนการทำกิจกรรมของนักศึกษา นอกจากนี้ผลกำไรทางกลุ่มอาสาฯ ยังนำไปสร้าง โรงเรียนในชนบททุกปี เรียกว่าได้บุญ 1 ต่อ
สำหรับสีของธงในแต่ละปีจะตรงกับวันมหิดลในปีนั้นๆ เช่น ปีนี้วันมหิดลตรงกับวันพุธ ธงจึงเป็นสีเขียว และเมื่อบริจาคเงินสมทบทุนศิริราชมูลนิธิ จะมีสติกเกอร์วันมหิดล มอบเป็นของที่ระลึก
2. การจัดนิทรรศการ เช่น พระราชประวัติ และผลงานของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
3. การจัดสัมมนาทางวิชาการ เช่น การแพทย์ใหม่ในประเทศไทย
4. การอภิปรายตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับการแพทย์ไทย
5. การประกวด หรือการแข่งขันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การประกวดโรงพยาบาลดีเด่น
6. อื่น ๆ เช่น การมอบรางวัลให้กับแพทย์ พยาบาล ดีเด่น และผู้เสียสละเพื่อชาวชนบท เพื่อสังคม
3. การจัดสัมมนาทางวิชาการ เช่น การแพทย์ใหม่ในประเทศไทย
4. การอภิปรายตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับการแพทย์ไทย
5. การประกวด หรือการแข่งขันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การประกวดโรงพยาบาลดีเด่น
6. อื่น ๆ เช่น การมอบรางวัลให้กับแพทย์ พยาบาล ดีเด่น และผู้เสียสละเพื่อชาวชนบท เพื่อสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น