"ใครไม่เคยทาน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยกมือขึ้น?" ถ้าจะมีคนยกมือตอบว่า ไม่เค้ย ไม่เคย ก็สงสัยว่าจะเป็นเด็กเล็กที่ยังทานอาหารเส้นไม่เป็นซะล่ะมากกว่า โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจตกสะเก็ดแบบทุกวันนี้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาจจะกำลังกลายเป็น อาหารประจำวันของใครหลาย ๆ คน เชื่อหรือไม่ คนไทยกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปีละกว่า 2 พันล้านซอง เฉลี่ยวันละ 8 ล้านซอง (ตุลาคม 2550) ปัญหาไม่ได้จบลงแค่นั้น ที่สำคัญก็คือคนไทยชอบกินเปล่า ๆ แบบว่า ฉีกซองเครื่องปรุง กดน้ำร้อน ปิดฝาสองนาที ซวบ ซวบ จบ นานวันเข้าก็เกิดอาการ ขาดสารอาหาร อ้วน ความดันสูง ไตเสื่อม (อ้วน.. แต่ขาดสารอาหาร??? มันยังไงกัน)
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปส่วนใหญ่ประกอบด้วยแป้งสาลี 60-70% ไขมันในเครื่องปรุง 15-20% ที่เหลือเป็นเกลือ และผงชูรส ถ้าเรารับประทาน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากกว่า 1 ซองหรือ 1 ถ้วยต่อวัน เราก็จะได้โซเดียม (ก็เกลือนั้นแหละ) เกินความต้องการของร่างกายต่อวัน ไปถึง 50-100 % ซึ่งจะทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้น และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ประกอบกับส่วนประกอบหลักเป็นแป้ง ถ้าคุณทานแต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ร่างกายก็จะได้รับแต่แป้ง ๆ ๆ สุดท้ายก็อ้วนนะสิ (ข้อมูลจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล)
เอาข้อมูลมาจาระไนให้ฟังกันขนาดนี้ ไม่ใช่ว่าจะมาชวนก่อม๊อบรณรงค์ ให้เลิกกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ประเด็นอยู่ตรงที่ไหน ๆ ก็หนีไม่พ้น ก็หันมาใส่ใจ เลือกซื้อให้คุ้มค่าที่สุด ก่อนซื้ออ่านฉลากสักนิด ว่าเติมสารไอโอดีน ธาตุเหล็ก และวิตามินเอ รึเปล่า แต่ถ้าจะให้ดีควรเติมไข่ หรือเนื้อสัตว์ และผักทุกครั้งที่ทาน
วิธีปรุงก็สำคัญไม่แพ้กัน หลาย ๆ คนยอมที่จะต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกิน ด้วยความที่จะได้เส้นที่เหนียวนุ่มน่ากินกว่า แต่ชอบที่จะใช้น้ำในการต้มน้อย ๆ (รสชาติจะได้เข้มข้น) ใส่เครื่องปรุงลงไปตั้งแต่ตอนต้มด้วย เครื่องปรุงจะได้เข้าเนื้อ (ว่าไปนั่น) แต่หารู้ไม่ว่า การต้มแบบนั้นเป็นวิธีการที่ผิดมหันต์ คุณจะได้รับโซเดียม ไปเต็ม ๆ ซึ่งขอเสียได้บอกไปแล้วตั้นแต่ตอนต้น และผงเครื่องปรุง ที่ใส่ลงไปเมื่อโดนความร้อนสูง จะแปรสภาพเป็นสารพิษ ซึ่งส่งผลเสีย ต่อการทำงานของร่างกายอีกต่างหาก
วิธีการต้มที่ถูกต้องคือ ต้มครั้งแรกด้วยปริมาณน้ำพอสมควร จากนั้นเทน้ำจากการต้มรอบแรกทิ้งไป ใส่น้ำลงไปใหม่ ตั้งไฟให้เดือดอีกครั้ง ใส่ไข่ เนื้อสัตว์และผัก เทใส่ชามจากนั้นจึงค่อย เทเครื่องปรุงใส่ในชาม ซึ่งถ้าจะให้ดี คุณอาจใช้เครื่องปรุงเพียงครึ่งซอง หรือน้อยกว่านั้นก็ได้ อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรรับประทานแต่ บะหมี่สำเร็จรูปอย่างเดียว ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพิ่มเงินอีกนิด สลับไปทานอาหารจานเดียวอย่างอื่นบ้าง อาจจะเป็น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน อาหารไทยมีให้เลือกกินตั้งมากมาย เพื่อสุขภาพในระยะยาว
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปส่วนใหญ่ประกอบด้วยแป้งสาลี 60-70% ไขมันในเครื่องปรุง 15-20% ที่เหลือเป็นเกลือ และผงชูรส ถ้าเรารับประทาน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากกว่า 1 ซองหรือ 1 ถ้วยต่อวัน เราก็จะได้โซเดียม (ก็เกลือนั้นแหละ) เกินความต้องการของร่างกายต่อวัน ไปถึง 50-100 % ซึ่งจะทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้น และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ประกอบกับส่วนประกอบหลักเป็นแป้ง ถ้าคุณทานแต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ร่างกายก็จะได้รับแต่แป้ง ๆ ๆ สุดท้ายก็อ้วนนะสิ (ข้อมูลจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล)
เอาข้อมูลมาจาระไนให้ฟังกันขนาดนี้ ไม่ใช่ว่าจะมาชวนก่อม๊อบรณรงค์ ให้เลิกกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ประเด็นอยู่ตรงที่ไหน ๆ ก็หนีไม่พ้น ก็หันมาใส่ใจ เลือกซื้อให้คุ้มค่าที่สุด ก่อนซื้ออ่านฉลากสักนิด ว่าเติมสารไอโอดีน ธาตุเหล็ก และวิตามินเอ รึเปล่า แต่ถ้าจะให้ดีควรเติมไข่ หรือเนื้อสัตว์ และผักทุกครั้งที่ทาน
วิธีปรุงก็สำคัญไม่แพ้กัน หลาย ๆ คนยอมที่จะต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกิน ด้วยความที่จะได้เส้นที่เหนียวนุ่มน่ากินกว่า แต่ชอบที่จะใช้น้ำในการต้มน้อย ๆ (รสชาติจะได้เข้มข้น) ใส่เครื่องปรุงลงไปตั้งแต่ตอนต้มด้วย เครื่องปรุงจะได้เข้าเนื้อ (ว่าไปนั่น) แต่หารู้ไม่ว่า การต้มแบบนั้นเป็นวิธีการที่ผิดมหันต์ คุณจะได้รับโซเดียม ไปเต็ม ๆ ซึ่งขอเสียได้บอกไปแล้วตั้นแต่ตอนต้น และผงเครื่องปรุง ที่ใส่ลงไปเมื่อโดนความร้อนสูง จะแปรสภาพเป็นสารพิษ ซึ่งส่งผลเสีย ต่อการทำงานของร่างกายอีกต่างหาก
วิธีการต้มที่ถูกต้องคือ ต้มครั้งแรกด้วยปริมาณน้ำพอสมควร จากนั้นเทน้ำจากการต้มรอบแรกทิ้งไป ใส่น้ำลงไปใหม่ ตั้งไฟให้เดือดอีกครั้ง ใส่ไข่ เนื้อสัตว์และผัก เทใส่ชามจากนั้นจึงค่อย เทเครื่องปรุงใส่ในชาม ซึ่งถ้าจะให้ดี คุณอาจใช้เครื่องปรุงเพียงครึ่งซอง หรือน้อยกว่านั้นก็ได้ อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรรับประทานแต่ บะหมี่สำเร็จรูปอย่างเดียว ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพิ่มเงินอีกนิด สลับไปทานอาหารจานเดียวอย่างอื่นบ้าง อาจจะเป็น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน อาหารไทยมีให้เลือกกินตั้งมากมาย เพื่อสุขภาพในระยะยาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น