พระสุพรรณกัลยา ทรงเป็นพระธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชา และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ เป็นพระพี่นางของ สมเด็จพระนเรศวร มหาราช และสมเด็จ พระเอกาทศรถ สมภพเมื่อวันเสาร์ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๐๙๕ ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก (บริเวณ ที่ตั้ง โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ในปัจจุบัน) พระองค์เป็น วีรสตรี ผู้กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ ยอม พลัดพรากจากแผ่นดินไทย ไปเป็นองค์ประกัน ณ กรุงหงสาวดี เพื่อแลกกับ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระ เอกาทศรถ ต่อมาได้ทรงสิ้นพระชนม์ชีพในแผ่นดินพม่าอย่างไร้พิธีอัน
สมระยศ ความ เสียสละอัน ใหญ่หลวง ของพระองค์ในครั้งนั้น เป็นผลทำให้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกลับมากอบกู้ เอกราชของชาติไทยได้สำเร็จ วีรกรรมดังกล่าวของ พระสุพรรณกัลยา จึงสมควรได้รับการเทิดพระเกียรติให้แพร่หลาย ยิ่งขึ้นสืบไปตลอดกาลนานสถานที่สักการะบูชา :
"พระอนุสาวรีย์ พระสุพรรณกัลยาณี" ณ ค่ายสมเด็จพระนเรศวร มหาราช (กองทัพภาคที่ ๓) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
หลังสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก เมื่อปี พุทธศักราช ๒๑๑๒ พระนาง และพระอนุชา ทั้งสอง พระองค์ ได้ถูกพระเจ้าบุเรงนอง กวาดต้อนไปเป็น เชลยยังเมืองหงสาวดี พร้อมด้วย พระมหินทราธิราช เจ้าเหนือหัว แต่พระมหินทราธิราช เสด็จสวรรคตที่เมืองอังวะเสียก่อน พม่าจึงแต่งตั้งให้ พระมหา ธรรมราชา ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่โอรสและธิดายังเป็นเชลยอยู่ เพื่อเป็นองค์ประกัน ป้องกัน การคิดทรยศของฝ่ายไทยทั้งสามพี่น้อง อยู่ที่หงสาวดีถึง ๖ ปี จึงได้กลับมากรุงศรีอยุธยาครั้งหนึ่ง เมื่อพระนางมีพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา ด้วยเหตุที่ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เกิดความพึงใจใน พระสิริโฉม ของพระสุพรรณกัลยา จึงมาสู่ขอจากพระมหาธรรมราชา และนำกลับไปอภิเษก เป็น พระชายา ณ เมืองหงสาวดี ต่อมาพระนางได้ออกอุบาย ทูลขอให้พระอนุชาทั้งสองพระองค์ กลับสู่ กรุงศรีอยุธยา โดยอ้างว่า เพื่อไปช่วยพระบิดารับศึก พระยาละแวกแห่งเขมร พระสุพรรณกัลยา มีสภาพเหมือนถูกทอดทิ้ง ให้ผจญกรรมเพียงลำพัง กับไพร่พลเล็กน้อย ในท่ามกลางหมู่อริราช ศัตรู ทั้งสิ้น แต่กระนั้นพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ก็ทรงมีพระเมตตารักใคร่สิเนหา แก่พระสุพรรณกัลยา อยู่ไม่น้อย และด้วยบารมีแห่งพระสุพรรณกัลยา ได้ปกแผ่คุ้มครองแก่คนไทย ที่ตกเป็นเชลย อยู่ใน เมืองพม่า มิให้ได้รับความลำบาก ต่อมามังไชยสิงหราช(นันทบุเรง)โอรสของพระเจ้าบุเรงนอง เป็น ผู้มักมากในกามคุณ และต้องการเป็นใหญ่ จึงร่วมมือกับชายาชาวไทยใหญ่ นามว่า "สุวนันทา" วางแผนชิงราชสมบัติ และแย่งอำนาจ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองตรอมพระทัย และสวรรคต อย่างกระทัน หัน เมื่อพระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์ เกิดความวุ่นวาย เนื่องด้วยการไม่ยอมรับ ของพระญาติวงศ์ หลายฝ่าย ทำให้พระเจ้านันทบุเรง เกิดความหวาดระแวง กอปรด้วยรู้ว่า มีการรวบรวมไพร่พล เตรียม การกู้ชาติ ของ พระนเรศวรและพระเอกาทศรถ ทางเมืองไทย จึงสั่งจับจองจำพระมารดา เลี้ยง (พระสุพรรณกัลยา) และพระธิดาองค์แรกของพระนางให้อดอาหาร ลงโทษทัณฑ์ ทุบตี โบย อย่างทารุณ ในขณะที่พระนางทรงครรภ์แปดเดือน จนพระธิดาสิ้นพระชนม์ จากนั้น ก็ทำทารุณกรรมต่อพระนางอีก จนอ่อนเปลี้ยสิ้นเรี่ยวแรง แล้วใช้ดาบฟัน ฆ่าพระนางพร้อมด้วยทารกในครรภ์ แม้ร่างกายของพระนาง สิ้นสูญแล้ว ก็ยังไม่เป็นที่สาแก่ใจ ของพระเจ้านันทบุเรง แม้ดวงพระวิญญาณของพระองค์ ก็ถูก กระทำ พิธีทางไสยศาสตร์ ตราสังรัดตรึง ไม่ให้วิญญาณกลับสู่เมืองไทย ให้วนเวียนอยู่ อย่างทุกข์ทรมาน นานนับร้อยปี ... ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ หลวงปู่โง่น โสรโย แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอ ตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ได้รับกิจนิมนต์จาก พระมหาปีตะโก ภิกขุ ให้ไปช่วยงานด้านประติมากรรม ซ่อมแซมรูปลายฝาผนัง ที่เมืองพะโค (หงสาวดี) ประเทศพม่า ในขณะนั้น ประเทศพม่า มีเหตุการณ์ ทางการเมืองภายใน เกี่ยวกับสมณศักดิ์พระภิกษุ หลวงปู่โง่น พลอยต้องอธิกรณ์โทษการเมืองไปด้วย กลับเมืองไทยไม่ได้ ระหว่างถูกกักบริเวณ ท่านใช้เวลาในการฝึกจิต กำหนดตัวแฝง และพลังแฝง ในกายได้ สามารถติดต่อกับโลกวิญญาณ และได้เข้าถึงกระแสพระวิญญาณที่สื่อสารต่อกัน กล่าวว่า ท่านเคยเป็นนายทหารช่าง สร้างบ้านเรือน ทั้งยังเคยถูกพม่ากวาดต้อนไป พร้อมกับพระนางในครั้งนั้น เคยเป็นข้ารับใช้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี พระสุพรรณกัลยา ได้ขอร้องให้หลวงปู่โง่น ช่วยแก้พันธนาการทางไสยศาสตร์ เพื่อดวงพระวิญญาณของพระองค์ จะได้กลับไปเมืองไทย และให้นำ ภาพลักษณ์ของพระองค์ อันเกิดจากกระแสพระวิญญาณ เผยแพร่ให้แก่ชาวไทย ผู้ลืมพระองค์ ท่าน ไปแล้ว พระองค์จะกลับมาทำคุณประโยชน์ ช่วยเหลือประเทศชาติ ทั้งยังปณิธาน จะกลับมาอุบัติเป็น เจ้าหญิงในปัจฉิมสมัยของวงศ์กษัตริย์ไทย จะสร้างบารมี ประกอบคุณความดี เพื่อให้อยู่ในหัวใจ ของคนไทยทั้งประเทศ ด้วยเหตุเพราะ คนไทย ลืมคุณกู้ชาติของพระองค์ ที่ยอมสละความสุขในชีวิต เพื่อให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ มีโอกาสกู้ชาติบ้านเมืองได้สำเร็จ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น หลวงปู่โง่น โสรโย และท่านพลโทถนอม วัชรพุทธ แม่ทัพกองทัพภาคที่ ๓ ได้ร่วมมือกันสร้างพระอนุสาวรีย์ ของพระสุพรรณกัลยา มีขนาดเท่าองค์จริง และได้อัญเชิญ มา ประดิษฐานไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ในบริเวณ "ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ใกล้กับพระบรม ราชานุสาวรีย์ พระอนุชาทั้งสองพระองค์ โดยได้นำส่วนของสรีระ เช่น กระดูก ฟัน และเครื่องประดับ ของมีค่าบางอย่าง ที่ขุดค้นได้จาก แหล่งฝังพระศพของพระนาง นำมาบรรจุ ในพระอุระของพระรูปด้วย เพื่อให้ชาวไทยทุกคน ได้มีโอกาสเคารพสักการะ วีรสตรีผู้เสียสละยิ่งใหญ่กว่าผู้ใด เพียงให้สยามไทย ได้คงอยู่ชั่วฟ้าดิน ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น