ข้อมูลเด่นของหอเอนเมืองปิซา • หอคอยสูงเกือบ 56 เมตร และส่วนยอดโน้มเอน 4.5 เมตร • ตามตำนาน กาลิเลโอทิ้งลูกปืนใหญ่หลายลูกในช่วงคิดค้นทฤษฎีว่าด้วยแรงโน้มถ่วง • ในวันอากาศร้อน ด้านหนึ่งของหอคอยจะร้อนกว่าปกติและเป็นเหตุให้ตัวหอเอียงเอนมากยิ่งขึ้น เริ่มต้นก่อสร้าง การก่อสร้างหอระฆังแห่งนี้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1173 อันเป็นช่วงที่เมืองปิซาเป็นหนึ่งในนครรัฐเรืองอำนาจสูงสุดของอิตาลี สามารถแผ่ขยายอาณาจักรการค้าได้กว้างไกลและมีเมืองขึ้นหลายแห่งทั่วย่านเมดิเตอร์เรเนียน พ่อค้าและคหบดีของเมืองจึงร่วมใจกันสร้าง สไตล์โรมัน อลังกาชื่อ ปิอัซซา เดย์ มีราโกลี แต่สถาปนิกพลาดที่ลงฐานรากอาคารเหนือชั้นดินปนทรายอ่อนยวบ ซึ่งอาจเป็นท้องน้ำเก่าที่ถูกกลบฝัง ตัวอาคารเริ่มเอนเอียงไปทางทิศเหนือ ตั้งแต่ก่อสร้างสองสามชั้นแรก สถาปนิกชุดแรกจึงต้องสร้างเสาและโค้งประตูทางด้านเหนือให้ใหญ่กว่าทางด้านใต้ โชคดีที่การก่อสร้างหยุดลงในปี 1178 ขณะขึ้นชั้นที่ 4 หากงานยังคงดำเนินต่อไป หอเอียงปิซาคงจะล้มลงมา แต่ทีมงานไม่อยากรื้อสร้างใหม่เพราะเท่ากับเป็นการยอมแพ้ หลังจากนั้นจึงเริ่มก่อสร้างอีกครั้งในปี 1272 เนื้อดินใต้ฐานรากของหอคอยอัดตัวแน่นขึ้น และโครงสร้างที่ตั้งอยู่ตอนนี้กลับเอียงไปทางทิศใต้ เนื่องจากเนื้อดินซุยกว่า คราวนี้สถาปนิกออกแบบให้เสา โค้งประตู และผนังหินด้านใต้สูงกว่าด้านเหนือ เมื่อคนงานสร้างชั้นที่เจ็ดเสร็จในปี 1278 การก่อสร้างต้องหยุดชะงักอีกครั้ง คนงานอีกรุ่นเริ่มต่อเติมหอระฆัง ยอดอาคารเมื่อประมาณปี 1360 โดยวางตำแหน่งให้เอนเอียงไปทางเหนือ พร้อมกับสร้างขั้นบันได ที่ดูแปลกพิลึกเติมเข้าไปอีก สองขั้น ทางด้านใต้เพื่อถ่วงดุล การเอนตัวของหอคอย ที่โน้มต่ำอย่างต่อเนื่อง หอเอนเมืองปิซามองในยามค่ำคืน หอคอยน้ำหนัก 14 500 ตันโน้มตัวเอนต่ำลงตลอดช่วง 500 ปี ต่อมา จาก 1.6 องศาเป็น ห้าองศา ขณะที่ส่วนฐานฝังจมดินลึก 3 เมตร และบดบังความสง่างามของแนวระเบียงบริเวณฐานไปอย่างน่าเสียดาย ในปี 1838 มีการขุดรอบทางเดินรอบฐานอาคารที่จมดิน ส่งผลให้ยอดอาคารเอนตัวลงทันทีครึ่งเมตร และเพิ่มระนาบความเอนเป็น 5.5 องศา เกือบ 100 ปีต่อมาวิศวกรเทคอนกรีต 80 ตันลงไปที่ฐานรากเพื่อเพิ่มความหนาแน่นมั่นคง แต่หอคอยยังคงเอนตัวไปทางทิศใต้ ชาวอิตาลีต่างมุ่งมั่นหาทางป้องกันหายนะที่จะเกิดขึ้นด้วยการแต่งตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญชุดหนึ่งขึ้นมาดูแลเรื่องนี้ในเดือนมีนาคม 1990 ก่อนนี้เคยมีคณะกรรมการที่ปรึกษามาแล้ว 16 ชุด แต่ไม่มีความคืบหน้าเนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขัดแย้งกันเอง คณะกรรมการชุดที่ 17 ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ 14 คนจากทั่วโลกและรายงานต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรง ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องกันแต่แรกว่าจะปรับระดับหอคอยเพียงแค่ไม่ให้โค่นเท่านั้น "เพราะทีมงานก่อสร้างชุดแรกสร้างอาคารให้สอดรับการเคลื่อนตัวของเนื้อดินชั้นล่างโดยตรง เราจึงอยากคงแนวคิดนี้ไว้" หนึ่งในคณะกรรมการอธิบาย พยายามไม่ให้ล้ม ราวสิบปีก่อน จอห์น เบอร์แลนด์ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องดินแห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์อิมพีเรียลในกรุงลอนดอน เสนอให้นำแท่งตะกั่วหนัก 660 ตันไปถ่วงหอคอยทางด้านทิศเหนือให้สมดุลชั่วคราว "ตอนแรกที่เราทดลองเติมแท่งตะกั่วในแบบจำลองคอมพิวเตอร์ ปรากฏว่าหอคอยล้มครืนลงมาเลย" เบอร์แลนด์บอก เขากับนักศึกษาใช้เวลาเก้าเดือนต่อมาปรับแต่งแบบจำลองคอมพิวเตอร์จนลงตัวในที่สุด คนงานใส่แท่งตะกั่วเข้าไปหนุนโครงสร้างในเดือนกรกฎาคม 1993 ปรากฏว่าอาการเอนเริ่มทรงตัวและสามารถดึงอาคารกลับไปทางด้านเหนือได้ระดับหนึ่ง แต่กลับถูกกล่าวหาว่าทำลายทัศนียภาพด้วยแท่งตะกั่ว เอียงลงอีก หอเอนเจ้าปัญหา จอห์น เบอร์แลนด์ ผู้เชี่ยวชาญ ชาวอังกฤษ เกรงว่าหอเอนจะพังลงมา คณะกรรมการมองหาวิธีถ่วงที่สะดุดตาน้อยลง และเห็นชอบในปี 1995 ให้ติดตั้งวงแหวนคอนกรีตรอบหอคอยพร้อมสายเคเบิลยึดโยงสิบเส้น โดยปลายสายอีกข้างฝังอยู่ในทรายอัดแข็งลึกลงไปในดิน 45 เมตร แต่โชคไม่ดีที่ระหว่างเจาะทางเดินคอนกรีต วิศวกรเผลอไปตัดท่อเหล็กกล้าซึ่งเชื่อมต่อกับหอคอย การกระทำดังกล่าวทำให้หอคอยเอนไปทางทิศใต้อย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ถึง .15 เซนติเมตร "ภายในคืนเดียว หอเอนเมืองปิซาเคลื่อนตัวเท่ากับยามปกติหนึ่งปีเต็ม" เบอร์แลนด์บอก คณะกรรมการรีบตัดสินใจอนุมัติให้เพิ่มแท่งตะกั่วถ่วงอีกราว 300 ตันเพื่อชะลอการเอนเอียง นั่นคือ แทนที่จะปลดน้ำหนักทั้งหมดทิ้งกลับใส่เพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งในสามและสั่งเลิกใช้วิธียึดโยงด้วยสายเคเบิลซึ่งให้ผลย้อนกลับร้ายแรง หลังสำรวจความเป็นไปได้อีกหลายวิธี สุดท้ายคณะกรรมการลงความเห็นว่าการเซาะสกัดเนื้อดินน่าจะเป็นวิธีดีที่สุด โดยค่อย ๆ เคลื่อนย้ายเนื้อดินบริเวณฐานด้านที่ยกตัวสูงกว่า เนื้อดินนับตันที่เซาะสกัดออกมาจะช่วยปรับให้ยอดหอคอยด้านใต้ที่เอนโน้มกลับไปด้านตรงข้าม งานเซาะสกัดเนื้อดินเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ 1999 "หอคอยสร้างความประหลาดใจให้พวกเราหลายเรื่อง และมีหลายครั้งที่ใกล้หายนะจนทุกคนเครียดหนัก" เบอร์แลนด์เล่า "เราเฝ้าติดตามดูการดำเนินงานทุกด้านอย่างใกล้ชิดนาทีต่อนาทีเพื่อให้แน่ใจว่าหอคอยขยับไปในทิศทางที่เราคาดหมาย" อุณหภูมิก็มีผลทำให้เอียง แต่ไม่เป็นเช่นนั้น ช่วงแรกมีเรื่องให้ตื่นเต้นเมื่อคณะกรรมการได้รับโทรสารด่วนแจ้งว่าหอคอยเกิดเอนไปทางใต้อีกครั้งอย่างกะทันหัน "ผมนึกในใจว่าทุกอย่างคงจบสิ้นแล้ว" เบอร์แลนด์เปิดใจ ระหว่างนั้น ผู้จัดการโครงการและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ต้องรายงานความเคลื่อนไหวของอาคารอย่างละเอียดตลอดเวลา รวมทั้งสภาพอากาศ "ปรากฏว่าช่วงนั้นมีลมแรงพัดมาจากเทือกเขาแอลป์" เบอร์แลนด์อธิบาย "ผมโล่งใจอย่างบอกไม่ถูก เพราะรู้ว่าเวลาที่อุณหภูมิลดต่ำฮวบฮาบจะมีผลต่อหอคอยอย่างมาก เมื่อลบสงบและอุณหภูมิปรับตัวสูงขึ้น อาคารก็เอนตัวไปทางทิศเหนืออีกครั้ง" หลังขุดเซาะครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน 2001 ยอดหอคอยด้านใต้ยังคนเอนออกนอกฐานกว่า 4.5 เมตร ซึ่งลดลงกว่าครึ่งเมตร จากตัวเลขในปี 1990 ปัจจุบัน แท่งตะกั่วบาดตาอันตรธานไปแล้ว วงแหวนเหล็กกล้าหนากันแกว่งถูกเก็บลับตาและไม่มีใครรู้ว่าจะได้ใช้อีกเมื่อใด ตอนนี้นักท่องเที่ยวมีโอกาสจะไต่บันไดขึ้นลงหอคอยแห่งนี้ได้อีกครั้งโดยไม่ต้องกลัวมันจะโงนเงน ผู้รู้อาจถกเถียงกันต่อไปไม่จบถึงสาเหตุที่หอเอนเมืองปิซายังคงตั้งตระหง่านอยู่ได้โดยไม่ล้ม แต่คนธรรมดาอย่างเรา ๆ รู้ดีกว่านั้น ถ้าสถาปัตยกรรมชิ้นเอกสามารถยืนหยัดท้าทายแรงโน้มถ่วงของโลกและทำลายกฎวิชาฟิสิกส์ได้ขนาดนี้ พวกเราก็ยังมีหวังจะได้พบเห็นสิ่งลึกลับมหัศจรรย์อื่น ๆ อีกมากมายซึ่งไม่อาจอธิบายได้ด้วยเหตุผล นี่คือสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวนับล้านคนในแต่ละปีให้ไปชมสิ่งมหัศจรรย์คู่เมืองปิซาแห่งนี้ |
วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555
หอเอนเมืองปิซา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น