ความเป็นมางานสาธรณสุขมูลฐานเกิดขึ้นหลังจากมีคำประกาศปฎิญญาสากลเมื่อ ปี2521 ว่าประชาชนมีสิทธิและหน้าที่ที่จะให้ความร่วมมือทั้งรายบุคคลและเป็นคณะ เพื่อห้บรรลุสภาวะสุขภาพดีถ้วนหน้าภายในปี2543 องค์การอนามัยโลกได้จัดสรร ทรัพยากร เพื่อสนับสนุนงานสาธรณสุขซึ่งดำเนินโดยชุมชนหรือที่เรียกว่าสาธรณสุขมูลฐาน สมัครสาธรณสุขประจำหมู่บ้านนั้นมาดัดแปรงมาจากความคิดนี้มีโครงการทดลองที่ จังหวัด พิษณุโลก ซึ่งนายแพทย์ สมบูรร์ วัชโรทัย ได้ทำไว้โดยคัดเลือกชาวบ้านบางคนมาทำการฝึกอบรม ให้ทำการรักษาพยาบาลอย่างง่ายๆ ในระยะแรกๆพบอุปสรรคทางสถาบันการศึกษากล่าวว่าเป็นการสร้างหมอเถื่อนจึงรวบ รวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่คล้ายๆ กันนำเสนอความคิดเรื่องอาสาสมัครเข้าสู่การวางแผนระดับชาติ โดยมีการประชุมปรึกษากันหลายครั้ง ในที่สุดก็ได้รับความเข้าใจทุกฝ่าย
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2522 คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้เปลี่ยนคำ ว่า การสาธารณสุขเบื้องต้น เป็นสาธารณสุขมูลฐาน ดังนั้นอาสาสมัคร(อสม)จึงถือว่า
วันที่ 20 มีนาคม 2522 เป็นวันอาสาสมัครสาธารณสุขด้วย
กิจกรรม
จัดให้มีการประกวดเพื่อคัดเลือก อสม ดีเด่น และจัดนิทรรศการเกี่ยวกับงานสาธารณสุขมูลฐาน
NT>สำนักงานสาธารณสุขมูลฐานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มโครงการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในปี พ.ศ.2520 ในระยะแรกเป็นไปในลักษณะโครงการทดลองใน 20 จังหวัด โดยดำเนินการทดลองในทุกอำเภอ อำเภอละ 1 ตำบลซึ่งตำบลที่เข้าไปดำเนินการต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- เคยดำเนินการอบรมผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข (ผสส.) หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)มาแล้ว
- สะดวกต่อการเข้าไปนิเทศงานและประเมินผล
- มีสถานีอนามัยและมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ
วัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่
- เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพกันเองด้วยวิธีที่ง่ายประหยัด และทั่วถึง
- เพื่อช่วยบรรเทาภาวะขาดแคลนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในชนบท
- เพื่อแก้ไขปัญหารักษาพยาบาลหรือดูแลรักษาสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน
ผู้ที่จะเข้ามาเป็นอาสาสมัครในการดูแลสุขภาพอนามัยของเพื่อนบ้านโดยมิหวังผล ตอบแทนใดๆ เรียกว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- มีความสมัครใจที่จะทำงานเพื่อส่วนรวมด้วยความเสียสละ และมีเวลาพอที่จะช่วยเหลือชุมชน
- มีความรู้อ่านออกเขียนได้
- เป็นผู้ที่ชาวบ้านไว้วางใจ
- มีที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพในหมู่บ้านนั้น ๆ
- มีอาชีพแน่นอนและมีรายได้เลี้ยงตนเอง
- ตั้งบ้านเรือนอยู่ในสถานที่ที่ประชาชนไปติดต่อได้ง่าย
- ไม่จำกัดเพศ และไม่จำกัดอายุ
- ไม่ควรเป็นข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น