วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

สยาม


สยามเมื่อกาลก่อน หรือประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ซึ่งมีประเทศอินเดียทางทิศตะวันตกและ จีนทางทิศตะวันออก ประเทศไทยมีพรมแดนด้านทิศตะวันออกจรดลาวและเขมร ทางใต้จรดอ่าวไทยและมาเลเชีย ฝั่งตะวันตกจรดทะเลอันดามันและพม่า มีพื้นที่ประมาณ 200,148 ตารางไมล์ หรือประมาณ 514,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 62,418,054 คน (จากข้อมูลสถิติประชากรปี 2548 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)

"สยาม" คือชื่อเดิมของประเทศไทย ซึ่งเคยใช้เรียกอย่างเป็นทางการ จวบกระทั่ง*วันที่ 17 เดือน กันยายน พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ในสมัยของรัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก"ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" ทั้งในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และในปีพ.ศ.2483 นี้ ด้วยเช่นกันที่รัฐบาลของหลวงพิบูลฯ ได้ประกาศยกเลิกการใช้วันที่ 31 มีนาคมเป็นวันสิ้นปี และวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับสากลนิยม จึงประกาศให้วันที่ 31 ธันวาคมเป็นวันสิ้นปี และวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (จากหนังสือ เจ้าชีวิต-สยามก่อนยุคประชาธิปไตย พระนิพนธ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์)

ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุขตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เมื่อกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศ แล้วเปลี่ยนเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย จากการปกครองแบบเดิม ที่มีอยู่นับแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาถึงกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง เป็นศูนย์อำนาจ เรียกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะแตกในปี พ.ศ. 2310 นั้นพม่าได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปี พ.ศ.2308 พระยาตากซึ่งเป็นเจ้าเมืองตากอยู่ถูกเรียกเข้ามาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2310 พระยากตากได้นำทหารราว 1,000 คน ตีฝ่าด่านพม่าหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาไปรวบรวมผู้คนไว้สู้พม่าที่เมืองจันทบูรณ์ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็ถูกพม่าตีแตกเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 พระยาตากได้รวบรวมผู้คนอยู่จนถึงเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้นก็ยกทัพกลับมาตีทัพพม่าที่ตั้งมั่นอยู่ที่ค่ายโพธิสามต้น อยุธยา และตีค่ายพม่าแตกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 พม่าถูกฆ่าตายเป็นอันมากที่รอดตายก็แตกพ่ายหนีกลับพม่าไป พระยาตากจึงได้กลายเป็นผู้นำคนสำคัญของประเทศในขณะนั้นและเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง พระเจ้าตากสินมหาราชทรงครองราชย์ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2310 ถึงปี พ.ศ. 2325

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพขึ้นเป็นเมืองหลวง เมื่อ พ.ศ. 2325 (ครองราชย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2325-8 กันยายน พ.ศ.2332) รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วได้สถาปนาสมเด็จพระอนุชา (พระนามเดิมบุญมา) เป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทพระมหาอุปราชซึ่งหมายความว่าจะเป็นผู้สืบราชสมบัติหากรัชกาลที่ 1 สวรรคต สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ และกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทได้ร่วมต่อสู้ศัตรูนอกประเทศเคียงบ่าเคียงไหล่กันมาโดยตลอด แต่ในระยะหลังเกิดความขัดแย้งกันหลายเรื่องจนถึงเกือบจะสู้รบกัน ความบาดหมางยังมีอยู่จนเมื่อกรมพระราชบวรฯสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคนิ่วเมื่อปี พ.ศ. 2345 (เมื่อรัชกาลที่ 1 ครองราชย์มาแล้ว 11 ปี) หลังจากกรมพระาชวังบวรสิ้นพระชนม์ปรากฏว่าพระโอรสสองพระองค์ของกรมพระราชวังบวรชื่อพระองค์เจ้าลำดวนและพระองค์เจ้าอินทปัตได้ถูกกล่าวหาว่าคบคิดกับพระยาเกษตราธิบดีจะทำการกบฎ จึงได้มีรับสั่งให้ประหารชีวิตผู้สมรู้ร่วมคิดทุกคนรวมทั้งพระองค์เจ้าทั้งสองพระองค์ เมื่อวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรสิ้นพระชนม์แล้ว รัชการที่ 1 ได้ทรงโปรดตั้งเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระเจ้าลูกยาเธอองค์ใหญ่ขึ้นเป็นมหาอุปราช (วังหน้า) เมื่อ พ.ศ. 2350

รัชกาลที่ 1 ครองราชย์นานถึง 28 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2352 พระชนม์มายุ 72 พรรษา ก่อนสวรรคต ได้ทรงมอบราชสมบัติให้แก่มหาอุปราชคือ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ซึ่งทรงตั้งให้เป็นมหาอุปราชอยู่ก่อนแล้ว

รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ครองราชย์ พ.ศ. 2352-2367)รัชกาลที่ 2 ทรงตั้งพระราชอนุชาคือกรมหลวงเสนานุรักษ์ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลที่พระมหาอุปราชหรือวังหน้า กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2460 หลังจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสิ้นพระชนม์และรัชกาลที่ 2 ไม่ทรงแต่งตั้งผู้ใดเป็นมหาอุปราชจนสิ้นรัชกาลที่ 2 สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2367 หลังจากทรงประชวรอยู่ 8 วัน โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่ผู้ใด

รัชกาลที่3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2367-2394)พระโอรสองค์ใหญ่ของรัชกาลที่ 2 คือกรมหมื่นเษฎาบดินทร์ ประสูติจากเจ้าจอมมารดาเรียมขณะที่รัชกาลที่ 2 สวรรคต กรมหมื่นเษฎาบดินทร์ พระชนม์มายุ 37 พรรษา เนื่องจากพระราชมารดาของพระองค์เป็นคนสามัญจึงมิได้เป็นเจ้าฟ้า

รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระมเหสี เพียงพระองค์เดียว และมีพระโอรสจากพระมเหสี 2 พระองค์คือ เจ้าฟ้ามงกุฎและเจ้าฟ้าจุฑามณี เมื่อรัชกาลที่ 2 สิ้น พระชนม์นั้นเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งมีพระชนมายุ 20 พรรษา เพิ่งจะทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเศน์วิหารได้เพียง 7 วัน

เนื่องจาก ตอนที่รัชกาลที่ 3 สวรรคตนั้นไม่มีมหาอุปราชหรือวังหน้า เพราะมหาอุปราชสิ้นพระชนม์ไปก่อนแล้ว และรัชกาลที่ 3 ก็ไม่ได้ทรงมอบราชสมบัติแก่ผู้ใดกรมหมื่นเษฎาบดินทร์พระราชโอรสองค์ใหญ่มีพระชนมายุมากกว่าคือ 37 พรรษและมีประสบการณ์ในการบริหารบ้านเมืองมาเป็นเวลานาน ก็มีความเหมาะสมที่จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎฯ นั่นทรงเป็นโอรสองค์ใหญ่ ซึ่งเกิดแก่พระมเหสีก็มีความชอบธรรมที่จะได้เป็นพระมหากษัตริย์เหมือนกันขณะนั้นประเทศไทยยังมีพม่าเป็นศัตรูหลัก และกรมหมื่นเษฎาบดินทร์นั้นมีประสบการณ์ในการบริหารราชการมาก จึงได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยที่เจ้าฟ้ามงกุฎไม่ทรงลาผนวช ปัญหาความขัดแย้งจึงไม่มี รัชกาลที่ 3 หรือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งให้ กรมหมื่นศักดิ์พลเสพ พระโอรสองค์หนึ่งของรัชกาลที่หนึ่งเป็นพระมหาอุปราชทรงพระนามว่ากรมพระราชวังบวรศักดิ์พลเสพ กรมหมื่นศักดิ์พลเสพมีพระชนม์มายุแก่กว่ารัชกาลที่ 3 อยู่ 2 พรรษา รัชกาลที่ 3 ทรงตั้งกรมหมื่นศักดิ์พลเสพเป็นพระมหาอุปราชด้วยสาเหตุใหญ่ 2 ประการคือ ประการแรกรัชกาลที่ 3 ไม่ทรงมีพระอนุชาร่วมพระราชมารดาและประการที่สองกรมหมื่นศักดิ์พลเสพเคยออกรบร่วมกับรัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งยังเป็นกรมหมื่นเจษฎบดินทร์ คงจะพอพระทัยในความสามารถและอุปนิสัยใจคอ อย่างไรก็ดี กรมพระราชวังบวรศักดิ์พลเสพ เป็นพระมหาอุปราชอยู่เพียง 8 ปี ก็ทรงประชวรสิ้นพระชนม์และรัชกาลที่ 3 ซึ่งครองราชย์นานถึง 27 ปี ก็ไม่ทรงตั้งผู้ใดเป็นพระมหาอุปราชหรือวังหน้าอีกจนตลอดรัชกาล

ระหว่างการดำรงตำแหน่งของรัชกาลที่ 3 ซึ่งขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ. 2367 นั้น ได้ทรงสั่งให้ประหารพระโอรสองค์หนึ่งของรัชกาลที่ 2 คือ กรมหลวงรักษรณเรศรเมื่อปี พ.ศ. 2391 กรมหลวงรักษรณเศรผู้นี้มีพระชนมายุแก่กว่ารัชกาลที่ 3 เพียง 3 พรรษา จึงถือได้ว่ารุ่นราวไล่เลี่ยกันเริ่มรับราชกาลตั้งแต่ รัชกาลที่ 2 เหมือนกับที่ รัชกาลที่ 3 ทรงลงพระอาญาให้ประหารนั้นเพราะมีความผิดหลายข้อคือ

1.ซ่องสุมกำลังคนทั้งเจ้านายและขุนนางไว้เป็นพรรคพวกมากจนผิดสังเกต
2.มักใหญ่ใฝ่สูงทำตัวเทียมกษัตริย์ เช่น ใส่แหวนเพชรแทนแหวนพลอยซึ่งถือว่าทำเทียมกษัตริย์ นับเป็นความผิด
3.ฝักใฝ่อยู่กับพวกนักแสดงและละครชายไม่ยอมบรรทมกับเจ้าหม่อมห้าม
4.ยักยอกเงินเบี้ยหวัดและเงินค่าบูชาพระบาทเป็นสมบัติส่วนตัวปีละจำนวนมากๆ

ก่อนที่จะประหารกรมหลวงรักษรณเรศรนั้น กรมหลวงรักษรณเรศรได้ทรงยอมรับว่าไม่ได้คิดจะเป็นกบฎต่อรัชกาลที่ 3 แต่ทรงคิดว่าถ้าสิ้นรัชกาลที่ 3 ก็จะไม่ยอมเป็นข้าของใคร และถ้าเป็นใหญ่ก็จะเอากรมขุนพิพิธภูเยนทร์เป็นวังหน้าหรืออุปราช กรมขุนพพิธภูเยนทร์ คือ พระองค์เจ้าชายพนมวันโอรสองค์หนึ่งของรัชกาลที่ 2เมื่อก่อนรัชกาลที่ 3 จะสิ้นพระชนม์ไม่นานกรมขุนพิพิธเยนทร์ได้ซ่องสุมผู้คนไว้เป็นจำนวนมากโดยอ้างว่าเกรงอันตรายเพราะกรมหลวงรักษรณเรศรได้เคยอ้างชื่อว่าจะให้เป็นวังหน้าถ้ากรมหลวงรักษรณเรศรได้เป็นกษัตริย์ ร้อนถึงพระยาศรีสุริยวงศ์ (ภายหลังคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) ต้องไปนำทหารจำนวนหนึ่งจากสมุทรปราการบรรทุกเรือใหญ่มายังกรุงเทพฯ ในเวลากลางคืนทอดสมอที่ท่าเตียนแล้วไปยังวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นแหล่งซ่องสุมผู้คน บังคับให้กรมขุนพิพิธภูเยนทร์ไล่คนที่ชุมนุมกลับไป ซึ่งกรมขุนพิพิธฯ ก็ต้องทรงปฏิบัติตาม

รัชกาลที่ 3 ทรงครองราชย์ 27 ปี ประชวรสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394ขณะที่ทรงประชวร รัชกาลที่ 3ได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับผู้ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ต่อจากพระองค์ว่า ให้เชื้อพระวงศ์และขุนนางช่วยกันเลือกพระราชวงศ์พระองค์ใดที่ "มีวัยวุฒิปรีชารอบรู้ราชานุวัติ" ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และตรัสขอร้องไว้ให้เห็นแก่รัชกาลที่ 1ที่ 2และพระองค์ อย่าได้ฆ่าฟันกันเพราะแย่งชิงราชย์สมบัติและจงช่วยกันรักษาแผ่นดินต่อไป

รัชกาลที่ 4 พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2394 - 2411)ในช่วงรัชกาลที่ 3 ยังครองราชย์อยู่นั้น พม่าศัตรูคู่อาฆาตของไทยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ซึ่งนับเป็นสัญญาณเตือนภัยให้ผู้มีอำนาจในการปกครองของไทยทั้งเชื้อพระวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่รู้ว่าภัยนี้ยิ่งใหญ่และอาจจะมาถึงประเทศไทยได้ระหว่างที่เจ้าฟ้ามงกุฎทรงผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนภาษาอังกฤษจนแตกฉาน นอกจากพระองค์แล้ว ก็ยังมีคงอื่นๆ เรียนภาษาอังกฤษในยุคนั้นด้วยแต่ไม่มีใครเก่งภาษาอังกฤษเท่าพระองค์ ดังที่พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงเขียนว่า

"?ยังมีเจ้านายพระองค์อื่นๆ และขุนนางบางท่านก็โดยเสด็จเรียนภาษาอังกฤษบ้างเช่น สมเด็จพระอนุชาเจ้าฟ้าจุฑามณีแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ มีความรู้ดีเท่าพระองค์?"

รัชกาลที่ 3 มีพระราชโอรส 22 พระองค์และพระราชธิดา 29 พระองค์จากเจ้าจอมมารดา 35 ท่าน แต่รัชกาลที่ 3 ก็ไม่ทรงตรัสมอบราชสมบัติให้โอรสองค์ใดองค์หนึ่งของพระองค์เมื่อรัชกาลที่ 3 สวรรคตแล้ว ได้มีการประชุมของพระราชาคณะ พระราชวงค์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ทูลเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชมาแล้ว 27 พรรษาขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ 4 เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว รัชกาลที่ 4 ได้สถาปนาพระอนุชาคือเจ้าฟ้าจุฑามณีขึ้นเป็นพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระเกียรติเสมอพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 คือ สูงกว่ามหาอุปราช

เจ้าฟ้าจุฑามณีเป็นพระอนุชาร่วมพระราชมารดาของรัชกาลที่ 4 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อรัชกาลที่ 4 ยังทรงผนวชอยู่นั้นเจ้าฟ้าจุฑามณีได้รับราชการดำรงค์พระอิศริยยศเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเศรังสรรค์ ทรงเป็นผู้บังคับบัญชากรมทหารแม่นปืน เคยทรงไปราชการสงครามทางเรือเมื่อคราวรบกับญวณ ซึ่งมีความรู้เรื่องการต่อเรืออย่างมากชอบลงไปสำรวจเรือของชาวต่างชาติที่มีจอดอยู่ที่ท่ากรุงเทพฯ และเป็นผู้ที่ทรงปรับปรุงกองทัพเรือไทยให้มาเป็นแบบสมัยใหม่

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 อยู่จนถึงปี พ.ศ. 2409 ก็ประชวร (วัณโรค) สิ้นพระชนม์ส่วนรัชกาลที่ 4 นั้น ทรงครองราชย์อยู่จนถึงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ก็ประชวรสวรรคต (พระชนม์มายุ 64 พรรษ) ซึ่งเท่ากับว่าสิ้นพระชนม์หลัง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ 2 ปี ในช่วง 2 ปีนี้ รัชกาลที่ 4 มิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นมหาอุปราชแทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น