วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ชาติไวกิ้ง นักเดินเรือโบราณ

พวกๆวกิ้งเป็นชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในแหลมสะแกนดิเนเวียทางตอนเหนือของยุโรปปัจจุบันชนเผ่านี้เป็นนักเดินเรือที่ชำนาญ กล้าที่จะนำเรือแล่นออกไปในมหาสมุทรอัตลันติค เพื่อหาหมู่เกาะเป็นดินแดนทำทาหากินให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากการรบกวนของชนเผ่าอื่น ไวกิ้งจึงเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่เดินเรือออกไปนอกทะเลลึก และลอยลำอยู่ท่ามกลางลูกคลื่นและแสงแดด มองไปรอบด้ายจะเห็นแต่ขอบฟ้าและพื้นน้ำเท่านั้น แต่ในการค้นหาแผ่นดินใหม่ พวกไวกิ้งใช้วิธีปล่อยนกดุเหว่าที่นำติดไปกับเรือด้วยให้ออกจากกรงขัง เมื่อนกดุเหว่าหลุดออกจากกรงขัง มันจะโผบินเป็นวงกลมสูงขึ้นไปในอากาศ ถ้ามันบินกลับย้อนทางเดิม ก็หมายความว่าเบื้องหน้าต่อไปนั้นจะไม่มีแผ่นดินอยู่เลย แต่ถ้ามันบินพุ่งไปในทะเลทางทิศใดทิศทางหนึ่ง พวกไวกิ้วก็ทราบได้ทันทีว่า ทิศทางนั้นต้องมีผืนแผ่นดินอยู่ไกลลับสายตาเบื้องหน้าโน้น ซึ่งพวกเขาจะนำเรือออกค้นความจนพบดินแดนนั้นได้ โดยเหตุนี้เอง พวกไวกิ้งจึงเดินเรือออกไปจนพบเกาะไอซ์แลนด์ในปี ค.ศ. 867 แบะในไม่ช้าพวกนอร์สเมน (Norsemen) ก็ไปตั้งถิ่นฐานกันที่นั่น ในหมู่ชนพวกนี้มีชายคนหนึ่งนามว่า เออริค เดอะเร็ด (Eric the Red) ได้ฆ่าชายอีกคนหนึ่งตาย ด้วยข้อหาว่าไปขโมยของ ๆ เขา เออริคเดอะเร็ดจึงถูกสอบสวนในกรณีฆาตกรรม และถูกตัดสินให้เนรเทศออกไปจากเกาะนั้นเสีย ดังนั้น ครอบครัวของเออริคเดอะเร็ด และมิตรสหายของเขาอีกจำนวนมากได้ลงเรือมุ่งหน้าออกทะเลลึกไปทางตะวันตก ด้วยหวังว่าคงจะพบเกาะใดเกาะหนึ่งพอที่จะอยู่ตั้งทำมาหากินได้บ้าง และในไม่ช้าเขาและพวกก็มาถึงเกาะ กรีนแลนด์ (Greenland) และได้ขึ้นยกตั้งรกรากทำมาหากินอยู่ทางตอนใต้สุดของเกาะนั้นต่อไป ขณะที่เออริคเดอะเร็ด ตั้งครอบครัวอยู่ทางตอนใต้ของเกาะกรีนแลนด์ล่วงต่อมาหลายปี บุตรชายของเขาชื่อว่า ลีฟ เออริคสัน (Leif Ericson) ก็โตเป็นหนุ่มเต็มตัว และมีความสนใจต่อการเดินเรือมาก เขาได้ยินคนพื้นเมืองของเกาะนั้นกล่าวถึงแผ่นดินใหญ่ซึ่งอยู่ไกลออกไปทางตะวันตกเสมอ จึงได้ออกแล่นเรือสำรวจดูก็พบแผ่นดินที่ว่านั้นจริง เขาตั้งชื่อแผ่นดินตอนนั้นว่า วินแลนด์ (Vinland) และตั้งทำมาหากินอยู่ที่นั่น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1000 ลีฟ เออริคสัน ได้พบผืนแผ่นดินของอเมริกาอันเป็นดินแดนโลกใหม่เข้าให้แล้วก่อนคนอื่น แต่การค้นพบของเขาในเวลานั้น ไม่ได้ล่วงรู้ไปถึงชาวยุโรปเลย ล่วงต่อมาหลายศตวรรษชาวยุโรปจึงได้พบดินแดนส่วนนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น