ทุกวันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2461 พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้รวมกองบัญชาการ กองสุขศึกษา กองสาธารณสุข กองยาเสพติดให้โทษ กองโอสถศาลารัฐบาล กองบุราภิบาล เข้าด้วยกัน แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กรมสาธารณสุข และต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น กระทรวงสาธารณสุข จนมาถึงปัจจุบัน อีกทั้งทางราชการยังได้กำหนด ให้วันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันสาธารณสุขด้วย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งกรมสาธารณสุขขึ้นในกระทรวงมหาดไทยแทนกรมประชาภิบาล เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2461 โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข องค์แรก นับเป็นวาระแรกที่มีการใช้คำว่า “สาธารณสุข” จึงถือว่า วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “วันสถาปนาการสาธารณสุข”
เดิมทีในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยยังคงมีกิจการ ทางด้านการแพทย์ แบ่งออกเป็นหลายฝ่าย เช่น กองบัญชาการ กองสุขศึกษา กองสาธารณสุข กองยาเสพติดให้โทษ กองโอสถศาลารัฐบาล กองบุราภิบาล ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกระทรวงมหาดไทยมีความประสงค์ที่จะปรับปรุง กิจการของกรมพยาบาล ให้กว้างขวาง โดยการขอพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนจากกรมประชาภิบาล มาเป็นกรมสาธารณสุข ซึ่งพระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้สามารถจัดตั้งได้ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 นอกจากนี้พระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย เป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2485 จึงได้มีการสถาปนากรมสาธารณสุขขึ้น เป็นกระทรวงสาธารณสุข โดยถือเอาวันที่ 10 มีนาคม เป็นวันสถาปนา “กระทรวงสาธารณสุข”
เครื่องหมายของกระทรวงสาธารณสุข
เมื่อได้จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นแล้วทางราชการได้กำหนดรูปคบเพลิงมีปีก และมีงูพันคบเพลิง เป็นเครื่องหมายของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีเครื่องหมายที่แสดงถึงอาชีพ อยู่ 2 ชนิด คือ
1. คธากับงูของเอสกูลาปิอุส (Esculapius) เทพเจ้า แห่งแพทย์สมัยกรีก
2. ไม้ศักดิ์สิทธิ์ หรือ Cadkuccus ของเทพเจ้าอะพอลโล (Appollo)
2. ไม้ศักดิ์สิทธิ์ หรือ Cadkuccus ของเทพเจ้าอะพอลโล (Appollo)
คธาของเอสกูลาปิอุส ซึ่งมีงูพันอยู่โดยรอบนั้น แพทยสมาคมอเมริกัน ได้นำมาใช้เป็นเครื่องหมายประจำสมาคมอยู่แล้ว ตำนานของเครื่องหมายนี้มีว่า ในสมัยประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล ในขณะที่เอสกูลาปิอุสกำลังทำการบำบัดโรค ให้แก่ผู้ป่วยรายหนึ่ง ซึ่งมีนามว่ากลอคุส (Glovcus) ภายในสถานที่ทำงาน ของเขานั้นมีงูตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามา และขึ้นพันคธาของหมอ โดยการณ์ปรากฎเช่นนี้ จึงเป็นที่เชื่อถือกันในครั้งนั้นว่า งูตัวนั้นได้บันดาลให้หมอเอสกูลาปิอุสมีความเฉลียวฉลาด สามารถในการบำบัดโรคยิ่งนัก เพราะในสมัยโบราณนับถือว่า งูเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบันดาลให้เกิด ความมั่งคั่งสมบูรณ์ของบ้านเมืองและทำให้โรคต่างๆ หายได้ งูในกาลก่อนจึงนับว่าเป็น เครื่องหมายแห่งสติปัญญา ความเฉลียวฉลาด อำนาจและสุขภาพอันดี ส่วนคธานั้นคือ เครื่องหมายแห่งการป้องกันภัยต่างๆ และเป็นประดุจเครื่องนำ และช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ศึกษา ในทางวิทยาศาสตร์
ไม้ศักดิ์สิทธิ์ (Caduccus) ไม้คฑาศักดิ์สิทธิ์ มีลักษณะเป็นคธาเกลี้ยง มีปีก และมีงูพันอยู่ 2 ตัว มีตำนานว่า เมื่อประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล วันหนึ่งในขณะที่ เทพเจ้าอะพอลโลกำลังท่องเที่ยว อยู่ในดาร์คาเดีย (Arcadia) ได้พบงู 2 ตัว กำลังกัดกันอยู่ โดยมิประสงค์จะให้ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์นี้ต่อสู้ และประหัตประหารกัน อะพอลโลจึงได้ใช้ไม้เท้าที่ถือนั้น แยกงูทั้งสอง ออกจากกันเสีย ไม้เท้านั้น จึงกลายมาเป็นเครื่องหมายแห่งความสงบ ตั้งแต่นั้นมา ภายหลังได้มีผู้เติมปีก 2 ปีก ติดกับหัวไม้เท้านั้น ซึ่งแสดงถึง ความว่องไว และปราดเปรียว
เครื่องหมายคฑามีปีกและงูพัน 2 ตัวนี้เริ่มนำมาใช้เป็นเครื่องหมาย ของผู้มีวิชาชีพแพทย์ โดยความหมายของคธา มีดังนี้
1) ตัวคฑาเปรียบด้วย ตัวอำนาจ
2) งูเปรียบด้วยความรอบรู้
3) ปีกสองปีกเปรียบด้วย ความขยันขันแข็ง คล่องแคล่ว ทะมัดทะแมง
4) ความหมายโดยรวม ของไม้คธานี้ คือ เครื่องหมายบอกคุณลักษณะแห่งสุขภาพดี ของร่างกาย
2) งูเปรียบด้วยความรอบรู้
3) ปีกสองปีกเปรียบด้วย ความขยันขันแข็ง คล่องแคล่ว ทะมัดทะแมง
4) ความหมายโดยรวม ของไม้คธานี้ คือ เครื่องหมายบอกคุณลักษณะแห่งสุขภาพดี ของร่างกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น