วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

John Washington


George Washington's Great Grandfather

Born around 1631 in England, John emigrated to the Virginia colonies in 1656. Tradition has it that John traveled to the colonies on a trading venture aboard the Seahorse of London. The idea was to trade European goods for tobacco. The ship, laden with tobacco, was sailing down the Potomac river when it struck an uncharted shoal. About that time, a storm came up and the ship was sunk, ruining the valuable cargo of tobacco.
The ship sank near The Cliffs, a plantation owned by Nathaniel Pope. Pope befriended the young Washington and, fortunately for John, had a marriageable daughter named Anne. John and Anne were married in 1658 and received a wedding gift of 700 acres on Mattox Creek from her father. John and Anne had five children together, two of whom died in childhood and whose names are unknown. After Anne's death in 1668/9, John married twice more before his death in 1677. According to some sources, John may have been married before he emigrated to Virginia (before he married Anne) and may have had two children by her, both of whom died in infancy and before his marriage to Anne. No record is known to exist of this first marriage or when his first wife (if it was not Anne) died.
During his lifetime, he was active in local politics and served for a time in the Virginia House of Burgesses. He actively acquired land and, by the time of his death, owned more than 8,500 acres.

วันสาธารณสุขแห่งชาติ


ทุกวันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2461 พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้รวมกองบัญชาการ กองสุขศึกษา กองสาธารณสุข กองยาเสพติดให้โทษ กองโอสถศาลารัฐบาล กองบุราภิบาล เข้าด้วยกัน แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กรมสาธารณสุข และต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น กระทรวงสาธารณสุข จนมาถึงปัจจุบัน อีกทั้งทางราชการยังได้กำหนด ให้วันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันสาธารณสุขด้วย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งกรมสาธารณสุขขึ้นในกระทรวงมหาดไทยแทนกรมประชาภิบาล เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2461 โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข องค์แรก นับเป็นวาระแรกที่มีการใช้คำว่า “สาธารณสุข” จึงถือว่า วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “วันสถาปนาการสาธารณสุข”
เดิมทีในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยยังคงมีกิจการ ทางด้านการแพทย์ แบ่งออกเป็นหลายฝ่าย เช่น กองบัญชาการ กองสุขศึกษา กองสาธารณสุข กองยาเสพติดให้โทษ กองโอสถศาลารัฐบาล กองบุราภิบาล ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกระทรวงมหาดไทยมีความประสงค์ที่จะปรับปรุง กิจการของกรมพยาบาล ให้กว้างขวาง โดยการขอพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนจากกรมประชาภิบาล มาเป็นกรมสาธารณสุข ซึ่งพระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้สามารถจัดตั้งได้ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 นอกจากนี้พระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย เป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2485 จึงได้มีการสถาปนากรมสาธารณสุขขึ้น เป็นกระทรวงสาธารณสุข โดยถือเอาวันที่ 10 มีนาคม เป็นวันสถาปนา “กระทรวงสาธารณสุข”
เครื่องหมายของกระทรวงสาธารณสุข
เมื่อได้จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นแล้วทางราชการได้กำหนดรูปคบเพลิงมีปีก และมีงูพันคบเพลิง เป็นเครื่องหมายของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีเครื่องหมายที่แสดงถึงอาชีพ อยู่ 2 ชนิด คือ
1. คธากับงูของเอสกูลาปิอุส (Esculapius) เทพเจ้า แห่งแพทย์สมัยกรีก
2. ไม้ศักดิ์สิทธิ์ หรือ Cadkuccus ของเทพเจ้าอะพอลโล (Appollo)
คธาของเอสกูลาปิอุส ซึ่งมีงูพันอยู่โดยรอบนั้น แพทยสมาคมอเมริกัน ได้นำมาใช้เป็นเครื่องหมายประจำสมาคมอยู่แล้ว ตำนานของเครื่องหมายนี้มีว่า ในสมัยประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล ในขณะที่เอสกูลาปิอุสกำลังทำการบำบัดโรค ให้แก่ผู้ป่วยรายหนึ่ง ซึ่งมีนามว่ากลอคุส (Glovcus) ภายในสถานที่ทำงาน ของเขานั้นมีงูตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามา และขึ้นพันคธาของหมอ โดยการณ์ปรากฎเช่นนี้ จึงเป็นที่เชื่อถือกันในครั้งนั้นว่า งูตัวนั้นได้บันดาลให้หมอเอสกูลาปิอุสมีความเฉลียวฉลาด สามารถในการบำบัดโรคยิ่งนัก เพราะในสมัยโบราณนับถือว่า งูเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบันดาลให้เกิด ความมั่งคั่งสมบูรณ์ของบ้านเมืองและทำให้โรคต่างๆ หายได้ งูในกาลก่อนจึงนับว่าเป็น เครื่องหมายแห่งสติปัญญา ความเฉลียวฉลาด อำนาจและสุขภาพอันดี ส่วนคธานั้นคือ เครื่องหมายแห่งการป้องกันภัยต่างๆ และเป็นประดุจเครื่องนำ และช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ศึกษา ในทางวิทยาศาสตร์
ไม้ศักดิ์สิทธิ์ (Caduccus) ไม้คฑาศักดิ์สิทธิ์ มีลักษณะเป็นคธาเกลี้ยง มีปีก และมีงูพันอยู่ 2 ตัว มีตำนานว่า เมื่อประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล วันหนึ่งในขณะที่ เทพเจ้าอะพอลโลกำลังท่องเที่ยว อยู่ในดาร์คาเดีย (Arcadia) ได้พบงู 2 ตัว กำลังกัดกันอยู่ โดยมิประสงค์จะให้ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์นี้ต่อสู้ และประหัตประหารกัน อะพอลโลจึงได้ใช้ไม้เท้าที่ถือนั้น แยกงูทั้งสอง ออกจากกันเสีย ไม้เท้านั้น จึงกลายมาเป็นเครื่องหมายแห่งความสงบ ตั้งแต่นั้นมา ภายหลังได้มีผู้เติมปีก 2 ปีก ติดกับหัวไม้เท้านั้น ซึ่งแสดงถึง ความว่องไว และปราดเปรียว
เครื่องหมายคฑามีปีกและงูพัน 2 ตัวนี้เริ่มนำมาใช้เป็นเครื่องหมาย ของผู้มีวิชาชีพแพทย์ โดยความหมายของคธา มีดังนี้
1) ตัวคฑาเปรียบด้วย ตัวอำนาจ
2) งูเปรียบด้วยความรอบรู้
3) ปีกสองปีกเปรียบด้วย ความขยันขันแข็ง คล่องแคล่ว ทะมัดทะแมง
4) ความหมายโดยรวม ของไม้คธานี้ คือ เครื่องหมายบอกคุณลักษณะแห่งสุขภาพดี ของร่างกาย

วันวชิราวุธ


ทุกวันที่ 25 พฤษจิกายน ของทุกปี
วันวชิราวุธ

การศึกษาในระบบโรงเรียนมีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2427 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร์ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ วัดมหรรณพาราม
ต่อมาในปี พ.ศ.2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้น ซึ่งมีผลให้เด็กที่มีอายุ 7 ปี บริบูรณ์ทุกคนต้องเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนจนอายุครบ 14 ปี บริบูรณ์ โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน โดยพระราชบัญญัติประถมศึกษานี้ มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2464
ด้วยเหตุดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดให้ วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี เป็น “วันประถมศึกษาแห่งชาติ” และได้จัดงานวันประถมศึกษาแห่งชาติ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2491-2509
การจัดงาน“วันประถมศึกษาแห่งชาติ” ได้เริ่มมีขึ้นใหม่ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุที่ได้มีการจัดงานในวันนี้ เนื่องจาก
  1. พระองค์ทรงเป็นผู้ให้การสนับสนุนการประถมศึกษาอย่างดียิ่งและทรงเป็นผู้พระราชทานพระราชบัญญัติประถมศึกษา ฉบับ พุทธศักราช 2464 เป็นฉบับแรก
  2. วันดังกล่าวเป็นวันที่มีงานเฉลิมพระเกียรติของพระองค์ 2 งาน คือ งานวันมหาวชิรานุสรณ์ และงานวันถวายราชดุดีลูกเสือ
       ดังนั้น วันประถมศึกษาแห่งชาติ จึงได้เปลี่ยนจากวันที่ 1 ตุลาคม มาเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน 2523 เป็นต้นมา
วันวชิราวุธ
วัตถุประสงค์ในการจัดงานวันประถมศึกษาแห่งชาติ
  1. เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงวางรากฐานการศึกษาของไทย
  2. เพื่อเผยแพร่งานการประถมศึกษาทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
  3. เพื่อแนะนำและเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและสนใจในด้านการบริหารและการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา
  4. เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะของนักเรียนระดับประถมศึกษา
  5. เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  6. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประถมศึกษา
  7. เพื่อปลูกฝังและกระตุ้นความร่วมมือ ร่วมใจให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญ และเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการประถมศึกษา
       ในวันงานได้มีการจัดกิจกรรมทางวิชาการด้านต่าง ๆ เช่นกิจกรรมเสริมความรู้ความสามารถของนักเรียน การจัดนิทรรศการทางวิชาการ การให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการประถมศึกษา ตลอดจนประวัติและวิวัฒนาการของการประถมศึกษา เป็นต้น

วันกองทัพเรือ


ทุกวันที่ 20 พฤศจิกายน  ของทุกปี





ในสมัยโบราณยังมิได้มีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเริ่มมีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก เมื่อครั้งเริ่มแรกตั้งกรมทหารเรือนั้น กิจการทหารเรือบางประเภทยังขาดบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญ จำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการตามตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ
อาทิ ผู้บังคับการเรือและผู้บัญชาการป้อมต่างๆ ต่อมาภายหลังเหตุการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า กิจการของทหารเรือเท่าที่อาศัยชาวต่างประเทศเข้ามาประจำตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ นั้น ไม่อาจที่จะหวังในด้านการรักษาอธิปไตยของชาติได้ดีเท่ากับคนไทยเอง พระองค์มีพระราชประสงค์ให้จัดการศึกษาแก่ทหารเรือไทย ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ในเรือแทนชาวต่างชาติที่จ้างไว้ต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชโอรส เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือยังประเทศอังกฤษ
ภายหลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือ และกลับมารับราชการในกรมทหารเรือ พระองค์ทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารเรือ จัดการฝึกสอนวิชาการทหารเรือขึ้น โดยเริ่มตั้งโรงเรียนขึ้นครั้งแรกที่บริเวณอู่หลวงใต้วัดระฆัง ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ สำหรับอบรมนายทหารชั้นประทวน หรือฝ่ายช่างกลและเดินเรือ ต่อมาในปี พ.ศ.2434 ได้ตั้งโรงเรียนนายสิบขึ้น และในปี พ.ศ.2440 ได้จัดตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารเรือขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ.2442 ได้จัดตั้งโรงเรียนนายเรือขึ้น สถานที่ตั้งโรงเรียนนายเรือครั้งแรก อยู่ที่วังนันทอุทยาน (สวนอนันต์) มีนายนาวาโท ไซเดอลิน (Seidelin) เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายเรือคนแรก
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๓ เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นที่ประทับได้ว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทาน พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๓ เป็นต้นมา กับได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียน ความว่า วันที่?20 พฤศจิกายน ร.ศ.125 เราจุฬาลงกรณ์ ปร. ได้มาเปิดโรงเรียนนี้ มีความปลื้มใจ ซึ่งได้เห็นการทหารเรือ มีรากหยั่งลงแล้ว จะเป็นที่มั่นสืบต่อไปในภายหน้า
ทางราชการทหารเรือ จึงได้ถือวันกองทัพเรือ วันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันกองทัพเรือตราบจนปัจจุบัน เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากรมทหารเรือให้เจริญก้าวหน้าทั้งองค์บุคคล และองค์วัตถุตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาในสมัยโบราณยังมิได้มีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเริ่มมีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก เมื่อครั้งเริ่มแรกตั้งกรมทหารเรือนั้น กิจการทหารเรือบางประเภทยังขาดบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญ จำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการตามตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ

วันบิดาแห่งฝนหลวง


ทุกวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี

วันบิดาแห่งฝนหลวง

ความเป็นมาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง
ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง
“…แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้
ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้…”

วันบิดาแห่งฝนหลวง


วันบิดาแห่งฝนหลวง (14 พฤศจิกายน)

โครงการ พระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี
ตาม เส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน
ตามที่ทรงเล่าไว้ จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้
การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันคนพิการ


เสาร์สัปดาห์ที่ 2 เดือนพฤศจิกายน

วันคนพิการ ตรงกับวันเสาร์สัปดาห์ที่ 2 พฤศจิกายน ของทุกปี  ซึ่งสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดจัดขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการได้พบปะ  สังสรรค์ แสดงความ สามารถในด้านต่างๆ และเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ เกี่ยวกับการบำบัด รักษา การป้องกันและฟื้นฟู สมรรถภาพ  รวมทั้งเพื่อให้คนทั่วไป ได้เห็น ถึงศักยภาพ ศักดิ์ศรีและคุณค่าของคนพิการของคนพิการ
ความหมายของคนพิการ
คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีความสามารถถูกจำกัดให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการมีส่วนร่วมทางสังคมได้โดยวิธีการทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้และมีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป (ความหมายตาม ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546 ไว้ดังนี้)
ประเภทของความความพิการ
1.1 พิการทางการมองเห็น
1.2 พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย
1.3 พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว
1.4 พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
1.5 พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้
1.6 พิการซ้ำซ้อน
ประเภทของความความพิการคนพิการแต่ละประเภทมีรายละเอียดความพิการในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 กำหนดลักษณะ ดังนี้
พิการทางการมองเห็น คือ คนที่มีสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดา แล้วมองเห็นน้อยกว่า 6/18 หรือ 20/70 จนมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีเลนส์สายตาแคบกว่า 30 องศา
พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย การได้ยิน เด็กอายุน้อยกว่า 7 ปี ลักษณะความพิการ คือ หูตึงปานกลาง หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดังเฉลี่ยเกิน 40 เดซิเบล จนไม่ได้ยิน ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 เด็กอายุเกิน 7 ปี ถึงผู้ใหญ่ ลักษณะความพิการ คือ ความผิดปกติ หูตึงมาก หูตึงรุนแรง หูหนวก ความดัง 55 เดซิเบลขึ้นไป ระดับความผิดปกติ 2 ถึง 5 การสื่อสาร
พิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหว ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องของร่างกายเห็นชัดเจน และคนที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ ระดับความผิดปกติ 3 ถึง 5
พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ลักษณะความพิการ คนที่มีความผิดปกติ ความบกพร่องทางจิตใจ หรือสมองในส่วนรับรู้ อารมณ์ ความคิด จนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่จำเป็นในการดูแลตนเอง หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น ระดับความผิดปกติ ระดับที่ 1 และระดับที่ 2
พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ ลักษณะพิการ คือ คนที่มีความผิดปกติ หรือความ บกพร่องทางสติปัญญาหรือสมอง จนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาปกติได้
พิการซ้ำซ้อน มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป

ขนมหวานที่อร่อยที่สุดในโลก




แครมบรูเล่ ( Creme Brulee) 

แม้ ชื่อจะฟังดูแล้วฝรั่งเศสสุดๆ แต่อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่าเป็นเช่นนั้น เนื่องจากวิทยาลัยทรินิตี้ในเคมบริดจ์ได้อ้างว่าพวกเขาคือต้นตำรับผู้คิดค้น ขนมสูตรเด็ดนี้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 1600 อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีจุดกำเนิดจากอังกฤษ แต่เชื่อแน่ว่าคงไม่มีสถานที่ใดเหมาะแก่การทานคัสตาร์ดเย็นๆ โรยด้วยน้ำตาลไหม้ ได้เท่ากับใต้หอไอเฟลที่ประดับด้วยไฟสว่างไสวในยามค่ำคืนในกรุงปารีส





นาไนโม บาร์ ( Nanaimo Bars) 

แคนาดา ขึ้นชื่อเรื่องขนมหวาน ? ได้ยินแล้วไม่ต่างกับการพูดว่ากรุงเทพขึ้นชื่อเรื่องทะเลยังไงยังงั้น แต่กระนั้น ขนมรสเลิศดังกล่าวก็มีที่มาจากเกาะแวนคูเวอร์ในเมืองนาไนโม รัฐบริติชโคลัมเบีย โดยได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นจากฝีมือแม่บ้านท้องถิ่นซึ่งได้ส่งเจ้าขนมทรง จัตุรัสชิ้นนี้ไปประกวดในนิตยสารและคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้ ปัจจุบัน เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนในแถบอเมริกาเหนือ




แอปเปิ้ล พาย ( Apple Pie ) 

 เช่น เคย แม้จะฟังดูเป็นอเมริกันจ๋า แต่จริงๆ แล้วมีต้นกำเนิดจากเมืองผู้ดี โดยได้รับการคิดค้นขึ้นเมื่อปี 1381 และปกติจะอบด้วยแป้งสองชั้น ในสมัยก่อน ตอนที่ชาวอังกฤษอพยพมาตั้งรกรากในอเมริกา พวกเขาได้นำเมล็ดแอปเปิลมาปลูกด้วย จึงทำให้มันมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมของชาวมะกัน แต่ไม่ว่าจะที่โรงแรมในลอนดอนหรือภัตตาคารในแอลเอ แอปเปิลพายก็เป็นที่ถูกอกถูกใจบรรดาลูกค้าเหมือนกัน





ข้าวเหนียวมะม่วง 

ขนม หวานแบบไทยๆ ที่นำมะม่วงสุกเหลืองอร่ามมาทานคู่กับข้าวเหนียวมูนราดด้วยน้ำกะทิ ฟังแล้วชวนน้ำลายสอเป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับความนิยมจากทั้งชาวสยามและชาวต่างชาติ ทั้งยังสามารถหาลิ้มลองได้ทั้งที่โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร และร้านอาหารตามท้องถนนทั่วไป





แบล็คฟอเรสท์เค้ก ( BlackForestCake ) 

ด้วย ความมีชื่อเสียงในเรื่องชนิทเซล เบียร์ และเค้กรสชาติอร่อยมากมาย จึงไม่น่าแปลกใจที่เยอรมนีจะกลายเป็นสถานที่ดื่ม-กินยอดนิยมของเรา โดยเจ้าช็อกโกแลตเค้กที่ทับซ้อนหลายชั้นด้วยครีม เชอร์รี่ และบรั่นดีผลไม้นี้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงต้นยุค 1900 ทางตอนใต้ของเยอรมนี (ภายหลังได้รับการปรุงแต่งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยฝีมือของช่างทำเค้กในกรุง เบอร์ลิน) และทุกวันนี้เป็นทื่ชื่นชอบของคนทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่า นี่ก็เป็นหนึ่งในของโปรดของเราเช่นกัน





ฮาโล ฮาโล ( Halo Halo) 

จาน เด็ดของชาวฟิลิปปินส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้ไข่บาลุท แต่รับประกันได้ว่าไม่น่าสะอิดสะเอียน ทั้งนี้ ฮาโล ฮาโล ไม่มีสูตรการทำที่แน่นอน แต่ดูๆ ไปก็ไม่ต่างอะไรกับน้ำแข็งใสของบ้านเรา โดยนำน้ำแข็งบดมาเติมด้วยเครื่องเคียง เช่น ถั่วเขียว ลูกตาล ขนุน มะพร้าวอ่อน ไอศกรีม วุ้นมะพร้าว สับปะรด และอื่นๆ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการราดนมข้นหวานและน้ำเชื่อม โดยสามารถหารับประทานได้ทุกที่ในกรุงมะนิลา





กุหลับ จามาน  ( Gulab Jamun) 

 ก้อน ขนมปังหวานที่คงไม่ถูกปากฝรั่งตาน้ำ ข้าว แต่คอนเฟิร์มว่าอยู่ในรายชื่อขนมอันดับต้นๆ ของชาวอินเดีย และเมื่อมีคนกว่าพันล้านคนชื่นชอบ ก็ยากจะปฏิเสธได้ว่ามันไม่อร่อย ปกติแล้วมักทำขึ้นโดยใช้ครีมสองชั้นและราด้วยน้ำเชื่อมเข้มข้น เป็นที่นิยมในอินเดีย ปากีสถาน เนปาล และประเทศในแถบเอเชียใต้





ไดฟุกุ ( Daifuku ) 

ขนม เจลลาตินทรงกลมจากแดนอาทิตย์อุทัยมักสอดไส้ไว้ด้วยถั่วแดงหวาน (และบางครั้งก็อาจเป็นแยมสตอเบอร์รี่) โรยด้วยแป้งบางๆ โดยสามารถหาซื้อมารับประทานได้ทั้งจากกรุงโตเกียว โอซาก้า เกียวโต นากาโนะ และทุกแห่งในญี่ปุ่น





บาคลาวา ( Baklava) 

ประวัติ ที่แท้จริงของบาคลาวายากที่จะระบุ ให้แน่ชัด เพราะว่ากันว่ามันมีต้นกำเนิดจาก จักรวรรดิอ็อตโตมัน ดินแดนเมโสโปเตเมีย และอาหรับ โดยขนมหวานชนิดนี้ทำขึ้นจากการนำแป้งฟิลโลมาสอดไส้ไว้ด้วยถั่ว น้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม หากต้องการลิ้มลองรสชาติแบบต้นตำรับก็ต้องไปรับประทานถึงถิ่นที่อ้างว่าเป็น จุดกำเนิด ทั้งกรุงอิสตันบูล กรุงเอเธนส์ และกรุงเบรุต แม้แต่ละที่อาจจะมีรสแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็ยังการันตีได้ถึงความเอร็ดอร่อย





ทีรามิสุ ( Tiramisu ) 
เค้ก ชื่อดังของอิตาลีทำขึ้นจากเล ดี้ฟิงเกอร์ราดเอสเปรสโซ่ สอดไส้ด้วยมาสคาร์โปนชีสและซาบากลิออเน ลือกันว่าทีรามิสุมีจุดกำเนิดมาจากการที่แม่บ้านของทหารในสงครามโลกครั้งที่ สองทำเค้กให้สามีรับประทาน โดยเชื่อว่าส่วนผสมของคาเฟอีนกับน้ำตาลจะช่วยให้พวกเขามีพลังและแคล้วคลาด จากอันตราย ช่างโรแมนติคเสียนี่กะไร เหมาะจะเป็นของหวานรับวันวาเลนไทน์โดยแท้



เจดีย์ที่สวยที่สุดในอาเซียน




พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น

ประวัติ
ตามตำนาน เจดีย์ชเวดากองนั้นสร้างเมื่อง 2,500 ปีที่แล้ว แต่นักโบราณคดีเชื่อกันว่าสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6-10 สร้างโดยชาวมอญ 

ตามตำนานนั้นเริ่มจากว่า มีสองพี่น้องพ่อค้า 2 คน ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ามา พระองค์จึงประทานพระเกศามา 8 เส้น

พระเจดีย์ได้ถูกทิ้งร้างจนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 เมื่อพระเจ้าพินยาอู ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระเจดีย์ใหม่สูง 18 เมตร พระเจดีย์ได้ถูกซ่อมแซมมาเรื่อยมา จนมามีความสูง 98 เมตรในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แผ่นดินไหวเล็กๆน้อยๆ เรื่อยมาทำให้พระเจดีย์นั้นได้รับความเสียหาย และเมื่อปี พ.ศ. 2311 (ในสมัยกรุงธนบุรี) ได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างหนัก ทำให้ยอดของพระเจดีย์หักถล่มลงมา

รูปแบบการก่อสร้าง
บนยอดสุดของพระเจดีย์ มีเพชรอยู่ 5,448 เม็ด โดยเฉพาะชื้นข้างบนสุดมีเพชรเม็ดใหญ่อยู่ 72 กะรัต และทับทิม 2,317 เม็ด

พิธี
ผู้ที่เข้ามานมัสการหรือเยี่ยมชมจะต้องถอดรองเท้าทุกครั้งเมื่อมาถึงทางเข้า ให้เดินตามเข็มนาฬิกา ขึ้นอยู่กับดวงวันเกิดของผู้เข้าที่จะดูตาม 12 นักษัตร รอบๆพระเจดีย์ก็มีศาลเจ้าเล็กๆอยู่รายรอบ

5 ภูเขาที่ยาวที่สุดในอาเซียน


1. Hkakabo Razi, Myanmar (5,881m)


Hkakabo Razi  is Southeast Asia's highest mountain, located in the northern Myanmar state of Kachin. It lies in an outlying subrange of the Greater Himalayan mountain system. The mountain lies on the border tri-point among Myanmar, China, and India. The height of the mountain is 5,881 metres.

ยอดเขาข่ากาโบราซี  ตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของประเทศพม่าในรัฐกะฉิ่น เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งยอดข่ากาโบราซี มีความสูงถึง 5,881 เมตร บนยอดเขามีหิมะปกคลุมรวมทั้งมีธารน้ำแข็ง อีกด้วย ยอดเขาข่ากาโบราซีเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยทางด้านตะวันออกซึ่งเป็นรอยต่อพรมแดนระหว่าง 3 ประเทศคือพม่า จีนและอินเดีย

2. Puncak Jaya, Indonesia (4,884m)


Puncak Jaya  or Carstensz Pyramid is the highest mountain in Indonesia, the highest on the island of New Guini and the highest of Oceania. The height of Pancak Jaya is 4,884 metres above sea level.
ยอดเขาปุนจักจายา เดิมชื่อว่า ยอดเขาคาร์สเทนซ์ (Carstensz) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะนิวกินี ในเขตประเทศอินโดนีเซีย เป็นยอดเขา ที่สูงที่สุดในเขตโซนโอเชียเนียและสูงที่สุดบนเกาะนิวกินี มีความสูง 4,884 เมตร


3. Trikora, Indonesia (4,751m)



Puncak Trikora is a high mountain in the Papua province of Indonesia on New Guinea.

4. Mandala, Indonesia (4,701m)

Puncak Mandala  is a mountain located in Papua, Indonesia. It is the second highest free standing mountain of Oceania,  New Guinea and Indonesia.

5. Kinabalu, Malaysia (4,095m)


Mount Kinabalu is a prominent mountain on the island of Borneo in Southeast Asia. It is located in the East Malaysian state of Sabah and is protected as Kinabalu National Park, a World Heritage Site. Kinabalu stands 4,095 metres above the sea level.

ยอดเขาคินาบาลู ตั้งอยู่ใน อุทยานแห่งชาติคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดบนเกาะบอร์เนียว มีความสูงถึง 4,095 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันลอยกระทง (Loi Krathong Festival)




วันลอยกระทง (Loi Krathong Festival)ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
ประวัติการลอยกระทง ประวัติวันลอยกระทง
วันลอยกระทง การ ลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท อันที่จริงลอยกระทงเป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้จากประสบการณ์ว่า ถึงเดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม) น้ำจะขึ้นนองหลาก,พอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน) น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง,ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม) ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) น้ำจะลดลง


คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป วันลอยกระทง
มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ
นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ
อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ
กิจกรรมวันลอยกระทง
  1. นำกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี
  2. ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง เช่น การประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ การละเล่นพื้นเมือง? เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
  3. จัดนิทรรศการ หรือพิธีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย
  4. จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง
เหตุผลในการลอยกระทง
  1. เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้า ตามคติความเชื่อ
  2. เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
  3. เพื่อรู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต
การลอยกระทงในปัจจุบัน
การ ลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 1 2 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้ เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ
การลอยกระทงของชาวเหนือและอีสาน
การลอยกระทงของชาวเหนือ (ยี่เป็ง)
การลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เเร็วกว่าของเรา 2 เดือน) เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเล ลึกหรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า

ยี่เป็ง
การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ
จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่น ๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตา