วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิธีตรวจสอบยาหมดอายุ

“การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” ภาษิตฮิตติดหูที่คนสบายดีคงไม่เข้าใจ แต่สำหรับผู้ที่เจ็บป่วยแล้ว ยาเป็นหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งและเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต ยาสามารถช่วยรักษาโรคให้หายขาดได้ถ้ารู้จักใช้และยานี้เองก็มีผลเสียต่อสุขภาพถ้าใช้ในทางที่ผิด วันนี้สาระน่ารู้มีวิธีตรวจสอบยาหมดอายุมาฝากกันครับ โดยให้เครดิตกับโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

1. ดูจากวันหมดอายุที่พิมพ์ไว้ที่ฉลาก กล่องหรือแผงบรรจุยา ซึ่งมักจะระบุเป็นภาษาไทยว่า “วันหมดอายุ”หรือ “ยาสิ้นอายุ” หรือระบุเป็นภาษาอังกฤษว่า “Exp. Date” หรือ “Expired Date” หรือ “Exourt Date” หรือ”Use before” เป็นต้น ถ้ายานั้นอยู่นานเกินกว่าวันที่ระบุไว้ก็ไม่ควรนำมาใช้

2. ดูจากวันที่ผลิตมักจะระบุควบคู่กับวันหมดอายุ ยาบางชนิดที่ผลิตมานาน เกินกว่า 5 ปี ไม่ควรใช้ เพราะตัวยาบางอย่างอาจเสื่อมสภาพได้

3. ดูจากสภาพของยา ดังนี้
3.1 ยาเม็ด ให้ดูว่ามีสีต่างไปจากเดิมหรือไม่ ถ้าเป็นเม้ดยาที่เคลือบน้ำตาล เม็ดยาต้องไม่แตก ไม่เยิ้ม ถ้าเป็นชนิดแคปซูลต้องไม่บวมพอง และไม่มี
ตัวยาซึมออกมา
3.2 ยาน้ำ ถ้าเป็นชนิดน้ำใส ยาที่ดีต้องไม่มีตะกอน ไม่แยกชั้น สี กลิ่น รสของยาต้องไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นยาน้ำแขวนตะกอนต้องไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง หรือเละ เขย่าไม่ออก
3.3 ยาครีม เนื้อยาต้องเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แยกตัวเป็นน้ำใส และเนื้อครีมต้องไม่หยาบ
3.4 ยาหยอดตา ไม่ควรมีลักษณะขุ่นหรือตกตะกอน ยาหยอดตาบางชนิดต้องเก็บที่อุณหภูมิต่ำ เช่น ในตู้เย็น ช่องธรรมดา เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของยาก่อนกำหนด โดยทั่วไปเมื่อเปิดใช้แล้วไม่ควรเก็บนานเกิน 1 เดือน

4. หากฉลากยาไม่ปรากฎข้อมูลความชัดเจนใด ๆ ไม่แน่ใจว่าได้มาอย่างไร เมื่อไร ก็ไม่ควรใช้ยานั้น

5. การเก็บรักษายาที่ดี ควรจัดเก็บในภาชนะที่เหมาะสม เช่น กระปุกยา ซองยา ฯลฯ จัดไว้ให้เป็นที่เป็นทางเช่น ในตู้ยา ในกล่อง ในถุง ในลิ้นชัก หรือในตู้ เป็นต้น ซึ่งมีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงทั้งแสงความร้อน และความชื้น เพราะทั้งสามสิ่งนี้จะส่งผลต่อความคงตัวของยา จึงควรเก็บยาให้พ้นแสง อย่าให้ร้อนเกินไป และไม่ควรมีความชื้นสูง ซึ่งจะส่งผลทำลายคุณภาพของยาได้ ยาที่เก็บเป็นระยะเวลานานก็ไม่ควรนำมาใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น