วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

10 โรคประหลาดที่สุดในโลก!!

โลกเรายังมีโรคแปลกๆ ที่ยังรักษาไม่หายอยู่เป็นจำนวนมาก แม้แต่แพทย์ยังไม่ทราบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำให้ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ซึ่ง 10 โรคต่อไปนี้เราอาจจะเคยได้ยิน หรือเห็นคนเป็นโรคมาบ้าง แต่บางโรคก็ไม่เคยได้ยินเลย และเพิ่งจะรู้ว่ามีโรคนี้อยู่บนโลกด้วยหรือ

1 .โรคค็อดทาร์ดหรือโรคศพเดิน (Walking Corpse Syndrome)




เป็น หนึ่งในโรคทางจิต ตั้งชื่อตามนายแพทย์จูลส์ ค็อดทาร์ด แพทย์ด้านสมองชาวฝรั่งเศส ที่พบว่าผู้ป่วยคนหนึ่งของเขาเป็นโรคนี้ นายแพทย์ค็อดทาร์ดกล่าวถึงผู้ป่วยที่เขารักษาว่า "เธอไม่เชื่อว่าเธอมีอวัยวะ จึงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องกินอาหาร" ผู้ป่วยมีความเชื่อว่าสูญเสียอวัยวะสำคัญ แม้กระทั่งสูญเสียวิญญาณ ผู้ที่เป็นมากๆ จะเชื่อว่าตนตายไปแล้ว ทั้งยังได้กลิ่นเหม็นเน่าจากเนื้อของตัวเอง รู้สึกว่าเหมือนหนอนกำลังกัดกินเนื้อ บางคนเชื่อว่าตัวเองไม่มีกระเพาะ จึงไม่กินอาหาร เป็นไปได้ว่าผู้ที่เป็นโรคเสพยาบ้า โคเคน มากเกินไป และอาจเกี่ยวข้องกับโรคจิตเภท โรคอารมณ์แปรปรวน


2.โรคแวมไพร์ซินโดรม



ได้ชื่อว่าแวมไพร์ต้องนึกถึงผีค้างคาวดูดเลือดที่ ออกอาละวาดในยามราตรี แต่กลัวแสงสว่างเป็นที่สุด ผู้ป่วยโรคนี้ก็เช่นกัน คือกลัวแสงสว่าง เพราะเมื่อถูกแสงแดดแล้วจะเจ็บปวดอย่างมหาศาล ผิวแห้งแตกเป็นขุย มีรอยไหม้


3. โรคจัมพิ่ง เฟรนช์แมน ออฟ เมน (Jumping Frenchman of Maine Disorder)



เป็น โรคที่นายแพทย์จอร์จ มิลเลอร์ เบียร์ด อธิบายไว้เป็นคนแรก เมื่อค.ศ.1878 คาดว่าผู้ป่วยที่เขาพบนั้นเป็นชายชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส ผู้ป่วยจะเกิดอาการเมื่อถูกกระตุ้น เช่น ถ้าตะโกนดังๆ ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ป่วยก็จะทำตามนั้น เช่น มีผู้ตะโกนว่า "ตบหน้าเมีย" ก็จะกระโดดเข้าไปตบหน้าภรรยาของตนเองทันที หรือถ้าได้ยินประโยคแปลกๆ ประโยคที่เป็นภาษาต่างประเทศ ก็จะพูดประโยคนั้นๆ ซ้ำไปซ้ำมาอย่างควบคุมตัวเองไม่ได้


4.โรคเส้นบลาชโค (Blaschko"s lines)



ผู้เป็นโรคจะลายริ้วๆ ไปทั้งตัวนับ เป็นโรคหายากอีกโรคหนึ่ง ไม่สามารถอธิบายได้ตามหลักกายวิภาค ผู้ที่กล่าวถึงโรคนี้เป็นครั้งแรกคือนายแพทย์อัลเฟรด บลาชโค แพทย์ด้านผิวหนังชาวเยอรมัน ที่กล่าวถึงอาการของผู้เป็นโรคเมื่อค.ศ.1901 บริเวณกระดูกสันหลังจะเป็นเส้นรูปตัว V บริเวณหน้าอก ท้อง และข้างลำตัวจะเป็นเส้นรูปตัว S 5.โรคพิคา หรือโรคที่กินวัตถุที่ไม่สามารถบริโภคได้ ผู้ ที่เป็นโรคจะมีความอยากกินวัตถุที่ไม่ใช่อาหารมาก เช่น ดิน กระดาษ กาว โคลน ไม่ทราบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่มีวิธีรักษา แต่เป็นไปได้ว่าร่างกายขาดแร่ธาตุบางอย่าง


6.โรคอลิซในแดนมหัศจรรย์ หรือ "ไมครอพเซีย"



เกิด จากความผิดปกติของสมอง ที่แปรสัญญาณไปยังสายตาผู้ป่วยให้มองทุกอย่างเล็กจากความเป็นจริง ทั้งที่สายตาของผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติใดๆ เช่น มองสุนัขที่เลี้ยงไว้ ก็จะเห็นว่ามีขนาดเท่าหนู รถยนต์คันใหญ่ ก็จะเห็นว่ามีขนาดเท่ากับรถเด็กเล่น
7.โรคบลูสกิน หรือ "โรคผิวสีน้ำเงิน"



ผู้ เป็นโรคจะมีร่างกายเป็นสีน้ำเงิน ที่สหรัฐเมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ครอบครัวของนายมาร์ติน ฟูเกต เด็กกำพร้าชาวฝรั่งเศส และเข้ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณลำธารทร็อบเบิ้ลซัมครีก รัฐเคนตั๊กกี้ เมื่อค.ศ.1820 เป็นโรคนี้กันอย่างถ้วนหน้า เริ่มจากที่นายฟูเกตเองที่เป็นโรคอยู่แล้ว เมื่อเขาสมรสกับหญิงปกติ ลูก 4 ใน 7 คนเป็นโรคสีน้ำเงินเหมือนพ่อ ลูกหลานที่มาจากเชื้อสายนี้อีก 6 ชั่วคนยังเป็นโรคนี้ด้วย โดยหนูน้อยเบนจามิน สเตซี่ ที่มีเชื้อสายฟูเกต เป็นคนในตระกูลล่าสุดที่เป็นโรค โชคดีที่เด็กชายไม่เป็นมาก เพียงไม่นานหลังจากเกิดก็หาย ปัจจุบันเด็กชายอายุ 8 ขวบ


8.โรคเวอร์วูล์ฟซินโดรม ผู้ป่วยจะมีขนยาวรุงรังตามหน้าตา แขนขา



ทุก ส่วนของร่างกาย คาดว่าปัจจุบันมีผู้เป็นโรคประมาณ 50 คนจากทั่วโลก เช่น เด็กชายปรัชวิราช พาทิล ชาวอินเดีย ที่ต้องเจ็บปวดจากการล้อเลียนของเพื่อนๆ และสังคม ซึ่งครอบครัวพยายามหาทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือ ทั้งใช้เลเซอร์แบบแพทย์แผนปัจจุบัน ไปจนถึงการรักษาแบบทางเลือก อายุรเวช


9.โรคมือเท้าช้างหรือ "เอเลแฟนต์เทียซิส" เป็นโรคที่พบเห็นกันค่อนข้างบ่อย โดย เฉพาะในประเทศเขตร้อนที่มียุง เนื่องจากยุงเป็นพาหะของโรค โดยจะแพร่หนอนปรสิตวูชีเรเรียแบนครอฟตี หนอนปรสิตบรูเจียมาลายี หนอนปรสิตบี.ทิโมลี มายังคน ทำให้ไข่ของหนอนปรสิตเข้ามาในกระแสเลือดและแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย มันอาจใช้เวลาฟักตัวนานหลายปี ที่เว็บไซต์ของโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนระบุว่า โรคมือเท้าช้างเป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค อาการที่เห็นได้ชัดคือ ขา แขน หรืออวัยวะเพศบวมโตผิดปกติ เนื่องจากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง โรคเท้าช้างในประเทศไทยมี 2 ชนิด ชนิดแรกเกิดจากเชื้อบรูเจียมาลายี มักมีอาการแขนขาโต พบมากในบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส โดยมี "ยุงลายเสือ" เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้กัดกินเลือดของสัตว์และคน ชอบออกหากินเวลากลางคืน มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่งหรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่างๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง ชนิดที่สองเกิดจากเชื้อวูชีเรเรียแบนครอฟตี มักทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พบมากในบริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่น ที่อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก อำเภอละอุ่น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เป็นต้น ยุงพาหะนำโรคเท้าช้างชนิดนี้ได้แก่ "ยุงลายป่า" เพาะพันธุ์ตามป่าไผ่ ในโพรงไม้ และกระบอกไม้ไผ่ ปัจจุบันพบว่าเชื้อโรคเท้าช้างชนิดวูชีเรเรียแบนครอฟตี สายพันธุ์ที่นำเข้าโดยผู้อพยพจากชายแดนไทย-พม่า มียุงพาหะหลายชนิดรวมทั้งยุงรำคาญ ซึ่งเป็นยุงบ้านที่พบได้ทั่วไป คนที่มีอาการมักจะเกิดจากการที่ถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลาย ครั้ง อาการในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมและท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อ เยื่อภายใน รวมทั้งมีการปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆ หายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวรและผิวหนังหนาแข็งขึ้นจนมี ลักษณะขรุขระ



10.โรคโพรจีเรีย หรือ "โรคแก่ก่อนวัยอันควร"



เป็นโรคที่เกิดจากรหัสทางพันธุกรรมตัวหนึ่งบกพร่อง ทำให้ผู้ป่วยมีรูปร่างหน้าตาแก่กว่าอายุจริงมาก ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะอายุสั้น คือไม่เกิน 13 ปี มักเสียชีวิตจากสาเหตุหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย อาการของผู้เป็นโรคคือ หัวล้าน กระดูกบาง มีรูปร่างเตี้ยแคระ มักเจ็บปวดตามข้อ แต่เมื่อแรกเกิดแล้วจะดูเหมือนกับเด็กปกติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น