วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Christmas Day



Christmas is always observed on December 25th.
Christmas is a Christian holiday celebrating the birth of Jesus Christ. Decorating houses and yards with lights, putting up Christmas trees, giving gifts, and sending greeting cards have become traditions even for many non-Christian Americans.
In the third century, efforts were made to find out the date of the Nativity, but only in the year 336 was the date of the December 25 festival set in commemoration of Jesus' birth. Pope Julius formally selected December 25 as the day of Christmas in 349 A.D.
Roman Catholics, Lutherans, members of the Dutch Reformed and Anglican churches, and those of the German sects were most responsible for establishing Christmas traditions in America. Christmas customs spread with the westward expansion of the United States and by the late 1800s had become firmly entrenched in American society.
The Christmas Tree is a German tradition, started as early as 700 A.D. In the 1800s the tradition of a Christmas tree was widespread in Germany, then moved to England and then to America through Pennsylvanian German immigrants. In Victorian times, people had already started decorating trees with candies and cakes hung with ribbon. In 1880, Woolworths first sold manufactured Christmas tree ornaments, and they caught on very quickly. Martin Luther, in the 16th century, is credited as being the first person to put candles on a tree, and the first electrically lighted Christmas tree appeared in 1882. In 1923, Calvin Coolidge ceremoniously lit the first outdoor tree at the White House.
Santa Claus started with a real person, Saint Nicholas, a minor saint from the fourth century. Nicholas' reputation for generosity and kindness gave rise to legends of miracles he performed for the poor and unhappy. In the Middle Ages, devotion to Nicholas extended to all parts of Europe, but eventually faded in all the Protestant countries of Europe except Holland, where his legend persisted as Sinterklaas (a Dutch variant of the name Saint Nicholas). Dutch colonists took this tradition with them to New Amsterdam (now New York City) in the 17th century. Sinterklaas was adopted by the country's English-speaking majority under the name Santa Claus, and his legend of a kindly old man was united with old Nordic folktales of a magician who punished naughty children and rewarded good children with presents.

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พริกขี้หนูสด ลดการเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุของการตายเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย และหลายประเทศทั่วโลกโดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม เช่น การกินอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาการทอด ผัดที่ใช้น้ำมันมากๆ ฯลฯ แต่กินอาหารพวกผัก ผลไม้ ธัญพืช ที่มีเส้นใยน้อยเกินไป
ทั้งนี้รายงานการวิจัยพบว่าอาหารไทยเป็นอาหารสุขภาพ เพราะให้พลังงานและสารอาหารครบถ้วนและเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของสมุนไพรต่างๆ ซึ่งมีผลการศึกษาว่าสามารถช่วยลดการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ เช่น การลดไขมันในเลือด ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพริกซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารไทยที่ช่วยเพิ่มลดชาติร้อนแรง ส่วนประกอบที่สำคัญที่ทำให้เกิดความเผ็ดของพริกก็คือ “ แคปไซซิน ” ซึ่งนอกจากจะให้ความเผ็ดร้อนแล้วยังมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา ช่วยบรรเทาให้อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อ เพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร และที่น่าสนใจคือผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังพบว่าคนไทยที่กินพริกเป็นประจำมีอุบัติการณ์เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าคนในประเทศทางตะวันตก
ด้วยเหตุนี้นางสาวพัชราณี ไชยทา นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาโภชนศาสตร์ (ซึ่งเป็นหลักสูตรร่วมระหว่างคณะแพทศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล) ได้ทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง “ ผลของพริกขี้หนูต่อปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด” ภายใต้การดูแลของ ศ.นพ. สุรัตน์ โคมินทร์ หัวหน้าฝ่ายโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์
วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาหญิงไทยจำนวน 50 คน ที่มีคุณสมบัติดังนี้คือ ระดับไขมันในเลือดสูง แต่มีสุขภาพโดยทั่วไปดี อายุระหว่าง 45 – 64 ปี และหมดประจำเดือนแล้ว แต่ไม่มีอาการของโรคเรื้อรังใดๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไตโรคกระเพาะอาหาร ไม่ได้รับประทานยาเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ไม่ดื่มกาแฟมากกว่า 2 แก้วต่อวัน และไม่กินพริกมากกว่า 10 กรัมต่อวัน จากการศึกษาหญิงกลุ่มนี้พบว่าระยะการกินพริกขี้หนูมีผลดีต่อปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ การลดระดับน้ำตาลกลูโคส เพิ่มอัตราเผาผลาญของร่างกาย มีแนวโน้มชะลอแรจับกลุ่มของเกล็ดเลือด และเพิ่มการละลายลิ่มเลือดโดยมีผลภายใน 30 นาทีหลังจากาการกินพริกขี้หนูสด
จึงนับว่าคนไทยโชคดีแล้วที่อาหารส่วนใหญ่อุดมไปด้วยพริก...แต่ควรกินแต่พอประมาณโดยเฉพาะคนที่เป็นโรคกระเพาะลำไส้

นำชา......กาแฟ ผลเสีย ผลดีต่อสุขภาพ

ในทางการแพทย์พบว่า เครื่องดื่มประเภทน้ำชากาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์เพราะสารคาเฟอีน ใน ชา กาแฟมีผลเสพติดอ่อนๆคือดื่มแล้วจะติด พอเวลาไม่ได้ดื่มจะหงุดหงิด มือสั่น ใจสั่น สารคาเฟอีนนี้มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ซึ่งนอกจากนี้ยังเป็นส่วนผสมของยาประเภท ลดไข้บรรเทาปวดอีกด้วย ผู้ที่ได้รับคาเฟอีนมากเท่าไร ผลร้ายที่มีต่อร่างกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น เมื่อคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกาย จะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ แล้วกระจายไปตามอวัยวะต่างๆ เช่นสมอง หัวใจ ตับ ปอด กล้ามเนื้อต่างๆ และระบบประสาทส่วนกลาง ร่างกายจะใช้เวลากว่า 48 ชั่วโมง ในการสลายคาเฟอีน ถ้าร่างกายได้รับ คาเฟอีนจำนวนสูงประมาณ 3,000 - 10,000 มิลลิกรัม จะทำให้ตายในระยะอันสั้นได้ ถ้าเราดื่มกาแฟประมาณ 1/2 - 2 1/2 ถ้วย (50 - 200 มิลลิกรัม) ลดความเมื่อยล้าได้ประมาณครึ่งวัน หรือดื่มกาแฟขนาด 3 - 7 ถ้วย (200 - 500 มิลลิกรัม) ทำให้มือสั่น กระวนกระวายโกรธง่าย และปวดศรีษะ มีผลต่อหัวใจและเส้นเลือดคลายตัวหรือบีบรัดมากขึ้นเป็นบางแห่ง กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ อาจเพิ่มลดอัตราการเต้นของหัวใจ อันตรายต่อผู้ป่วยที่ดื่มกาแฟมากๆ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นหย่อมๆ คาเฟอีนมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ไตรกลีเซอร์ไรด์สูงกรดไขมันอิสระสูง จึงไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีไขมัน ในเลือดสูง ฤทธิ์ของคาเฟอีนเพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตไม่ทำงาน ผู้ที่ดื่มกาแฟ น้ำชา หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสมอยู่ รวมถึงการใช้ยาที่มีคาแฟอีนผสมอยู่รวมถึงการใช้ยาคาเฟอีนจนติดเป็นนิสัย จึงมีระดับคงทนต่อฤทธิ์คาเฟอีนสูงขึ้น โดยที่คาเฟอีนจะมีฤทธิ์ต่อร่างกายน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการของประสาทตื่นตัว ปวดศีรษะ และปวดกระเพาะ ความทนทานนี้จะลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น การหยุดดื่มกาแฟจะมีผลทำให้ปวดศีรษะ กระวนกระวายโกรธง่าย และไม่สนใจ สิ่งแวดล้อม สำหรับสตรีมีครรภ์นั้นไม่ควรดื่ม ชา กาแฟ โดยเด็ดขาด ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าคนเราควรได้รับคาเฟอีนไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับประมาณ 2 ถ้วย ( คือ กาแฟ 1 ถ้วย ใส่ผงกาแฟสำเร็จรูป 2 ช้อนชา น้ำประมาณ 1 ถ้วย) เวลาที่เหมาะสมจะดื่มชากาแฟนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน บางคนดื่มตอนเช้าเพื่อให้ลำไส้กระปรี้กระเปร่า ถ่ายสะดวก แต่จะทำให้หิวเร็วกว่าปกติ เพราะกาแฟจะกระตุ้นการหลั่งของน้ำย่อยเพราะฉะนั้นไม่ควรดื่มกาแฟแทนอาหารเช้า และ หันมาดื่มนมแทนจะดีกว่า ถ้าคนที่นอนหลับยาก หรือมีภาระกิจต้องตื่นแต่เช้า ก็ไม่ควรดื่มกาแฟหลังอาหารเย็นวันนั้น จะเห็นว่ากาแฟนั้นมีทั้งผลดีผลร้ายกับร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ไม่ได้อยู่ในข่ายต้องห้าม ก็อาจดื่มเป็นประจำทุกวันได้ แต่ต้องกำจัด ปริมาณให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

สุขภาพดีด้วยกาบริจาคโลหิต



นอกจากความภูมิใจที่ได้แบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่นโดยทางอ้อมแล้ว เชื่อไหมว่าการบริจาคเลือดยังช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย เลือดประกอบด้วยพลาสมา (น้ำเหลือง) และเม็ดเลือด คิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว คือ 5-6 ลิตรสำหรับผู้ชาย และ 4-5 ลิตรสำหรับผู้หญิงหรือประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ไขกระดูกเป็นอวัยวะตั้งต้นที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือด 3 ชนิด อันได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด เพื่อทำหน้าที่แตกต่างกันไปในร่างกาย เม็ดเลือดแต่ละชนิดจะมีอายุการทำงานที่ชัดเจนคือ เม็ดเลือดแดงมีอายุ 120 วัน เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดมีอายุ 5-10 วัน เมื่อถึงเวลาที่กำหนด เม็ดเลือดจะถูกทำลายและขับถ่ายออกมาในรูปของเหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ หลังจากนั้นไขกระดูกจึงสร้างเซลล์เม็ดเลือดชุดใหม่ขึ้นมาทดแทนได้โดยไม่มีวันหมด ปริมาณเลือดที่มีในร่างกายเป็นปริมาณที่ถูกสร้างขึ้นมาให้เกินกว่าความต้องการใช้ที่แท้จริง เพราะร่างกายต้องการใช้เพียง 15-16 แก้วน้ำเท่านั้น ส่วนเลือดอีก2-3 แก้วน้ำเป็นปริมาณสำรองเพื่อรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้นการบริจาคเลือดซึ่งนำเลือดออกมาประมาณ 350-450 มิลลิลิตร จึงเป็นการนำเลือดสำรองออกมาโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แก่ร่างกายเพราะไขกระดูกจะสร้างเลือดขึ้นมาทดแทนปริมาณที่ถูกถ่ายเทออกไป ทำให้เกิดประโยชน์โดยทางอ้อมคือ • ร่างกายได้เม็ดเลือดใหม่ ซึ่งแข็งแรงและทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่า ทำให้เม็ดเลือดแดงลำเลียงออกซิเจน ได้เต็มที่ เม็ดเลือดขาวทำลายสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น และเกล็ดเลือดซ่อมแซมรอยฉีกขาดในร่างกายได้อย่าง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น • กระตุ้นการทำงานของไขกระดูก เปรียบเหมือนการออกกำลังกายให้กับไขกระดูกได้ทำงานดีขึ้น • ได้ตรวจสุขภาพทางอ้อม เพราะเมื่อมีการได้รับเลือดแล้ว ทางสภากาชาดจะต้องตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ตรวจหาภาวะติดเชื้อต่างๆ เท่ากับผู้บริจาคได้รู้ภาวะสุขภาพของตนเองในขณะนั้นด้วย • ลดความเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การวิจัยในประเทศฟินแลนด์พบว่า การบริจาคโลหิตช่วยลดความเสี่ยง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในเพศชายได้ถึง 88 เปอร์เซ็นต์ เพราะโรคนี้มีความสัมพันธ์กับปริมาณธาตุเหล็ก ที่สะสมในร่างกาย หากมีสะสมมาก โอกาสเสี่ยงย่อมสูง เนื่องจากธาตุเหล็กส่งผลให้ไขมันทำปฏิกิริยาออกซิเจน จนหลอดเลือดตีบและกลายเป็นอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การบริจาคเลือดจึงช่วยให้ร่างกายลดภาวการณ์ สะสมธาตุเหล็ก ซึ่งเท่ากับลดความเสี่ยงโรคหัวใจลงด้วยนั่นเอง การบริจาคเลือดทุก 3 เดือน จึงเป็นอีกหนึ่งโอกาส ที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพดีขึ้นได้ด้วยตนเอง

" แคลเซียม " นั้นสำคัญยังไง ?



แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญในการสร้างและรักษาความแข็งแกร่งของกระดูกในคนเรา รวมไปถึงสร้างความแข็งแรงของฟันและกล้ามเนื้อให้มีสุขภาพดีด้วย คงมีหลายคนสงสัยว่าจะเริ่มรับประทานแคลเซียมให้มากในช่วงวัยใดจึงจะดี
จากข้อมูลพบว่าการรับแคลเซียมตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นนับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญมาก ในการสร้างกระดูกในช่วงถัดไปของชีวิต และยังป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อีกต่างหาก มวลกระดูกของคนเรานั้นจะเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 30 หรือ 35 ปี สำหรับอาหารที่มีแคลเซียมอยู่มากนั้นจะอยู่ในอาหารประเภทนม ชีส โยเกิร์ต และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนมจะเป็นตัวช่วยสร้างมวลกระดูกขึ้นมา นอกจากนี้ในอาหารจำพวกผักใบเขียว ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดอัลมอนด์ และผลไม้ ก็มีแคลเซียมอยู่ไม่น้อย เนื่องจากเซลล์ในกระดูกจะถูกทำลายอยู่เสมอและมีการสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ ดังนั้น ร่างกายจึงต้องการแคลเซียมเพื่อมาใช้ในกระบวนการนี้ ถ้าหากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ จะส่งผลให้กระดูกอ่อนแอได้ แล้วจะรับประทานแคลเซียมในปริมาณเท่าไรจึงจะเพียงพอ ต่อคำถามนี้ก็ต้องยกคำแนะนำจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ฮาร์วาร์ด ในสหรัฐฯ ที่บอกไว้ว่าควรรับแคลเซียมให้ได้ เฉลี่ยประมาณวันละ 550 มิลลิกรัม แต่ปริมาณที่ว่านั้นก็ยังขึ้นอยู่กับอายุที่ต่างกันไปด้วย ถ้าอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 19-50 ปีควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัม แต่ถ้าอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรจะให้ได้ปริมาณวันละ 1,200 มิลลิกรัม